วานนี้ พล.อ.ท. มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ ในฐานะ ที่ปรึกษาหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 30 ก.ค. ที่บ้านรับรองกองทัพอากาศ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ในฐานะรองหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ได้เชิญส่วนราชการ อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศอ.บต. และ กอ.รมน. ภาค 4 และ ภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และ สมาคมยางพาราไทย เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร และการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.
ในการหารือดังกล่าว ผู้แทน กอ.รมน. ภาค 4 ได้บรรยายสรุป ถึงสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับ แม้จะมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่เมื่อดูจากสถิติในรอบหลายปี พบว่ามีจำนวนลดลง จากนั้นได้มีการหารือถึงการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ ได้แก่ ลองกอง และมังคุด ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกมามาก ต้องการความช่วยเหลือในการระบายผลผลิต โดยส่วนราชการ และภาคเอกชน ได้แสดงความคิดเห็นและร่วมหาทางออกที่จะนำผลไม้ดังกล่าวไปจำหน่ายในจังหวัดต่างๆ ซึ่งเชื่อว่า จะสามารถแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้ ในเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางส่งเสริมการลงทุน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างเสนอแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในหลายเรื่อง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ อาทิ การหาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมด้านเงินลงทุน ตลอดจนการดูแลรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนและผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุน
ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน ได้มอบหมายให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รับเป็นหน่วยในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และจัดทำผลการประชุมนำเรียนให้ หัวหน้าคสช. ทราบต่อไป
พล.อ.อ ประจิน ยังได้ กล่าวขอบคุณส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ พร้อมทั้งกล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องดำเนินการทุกด้านไปพร้อมๆ กัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ จิตวิทยา สังคม และความมั่นคง การร่วมมือกันในวันนี้เปรียบเสมือนการช่วยกันสร้างชีวิตใหม่ ให้กับพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของเรา
**ปล่อยกู้เงินกองทุนประกันสังคม 2 พันล.
วานนี้ (31 ก.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้บอร์ดสปส. มีมติเห็นชอบอนุมัติเงินกองทุนประกันสังคมภายใต้กรอบวงเงินการลงทุนทางสังคมตามแผนการลงทุนประจำปี 2557 จำนวน 2,000 ล้านบาท ตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ที่เสนอผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการจ้างงานเขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวงเงินดำเนินโครงการ 2,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารให้แก่สถานประกอบการ รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี และผู้ประกันตนรายละไม่เกิน 150,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี โดยทั้งสองกลุ่มคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนคุณสมบัติของสถานประกอบการ และผู้ประกันตนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะขอกู้สินเชื่อในโครงการสนับสนุนการจ้างงานฯนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนกับ สปส.ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ส่วนจะปล่อยกู้สินเชื่อในโครงการได้เมื่อใดนั้น ขณะนี้ยังกำหนดไม่ได้ เพราะสปส. กำลังออกประกาศรับสมัครธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการฯโดยต้องเป็นธนาคารที่มีความมั่นคงสูงและมีกำไรสะสม รวมทั้งได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีแล้ว หากเป็นธนาคารที่มีปัญหาขาดทุนไม่อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการเพื่อป้องกันปัญหาหนี้สูญ
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อสปส. คัดเลือกธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการได้แล้ว ก็จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง สปส. กับธนาคาร ซึ่งการดำเนินการโครงการนี้ สปส. จะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 1 ต่อปี คงที่ 5 ปี เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนให้ธนาคารคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวน ทั้งนี้ สถานประกอบการและผู้ประกันตนยื่นคำขอกู้สินเชื่อได้หลังจากวันที่มีการลงนามเอ็มโอยูจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.58 และหากสถานประกอบการ หรือผู้ประกันตนพ้นสภาพจากระบบประกันสังคม จะถือว่า ไม่อยู่ในเงื่อนไขของโครงการ ให้สำนักงานถอนเงินต้นคงเหลือคืน
"โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งสปส. อนุมัติวงเงินกองทุน 1,000 ล้านบาท ปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารโดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 คงที่ 5 ปีให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 5 จังหวัดภาคใต้เพื่อไม่ให้มีการเลิกจ้างแรงงานในภาคใต้ ทางกรอ.เห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคใต้ จึงเสนอคสช.ให้มีการดำเนินโครงการนี้ต่อ" ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
------------
ในการหารือดังกล่าว ผู้แทน กอ.รมน. ภาค 4 ได้บรรยายสรุป ถึงสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับ แม้จะมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่เมื่อดูจากสถิติในรอบหลายปี พบว่ามีจำนวนลดลง จากนั้นได้มีการหารือถึงการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ ได้แก่ ลองกอง และมังคุด ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกมามาก ต้องการความช่วยเหลือในการระบายผลผลิต โดยส่วนราชการ และภาคเอกชน ได้แสดงความคิดเห็นและร่วมหาทางออกที่จะนำผลไม้ดังกล่าวไปจำหน่ายในจังหวัดต่างๆ ซึ่งเชื่อว่า จะสามารถแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้ ในเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางส่งเสริมการลงทุน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างเสนอแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในหลายเรื่อง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ อาทิ การหาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมด้านเงินลงทุน ตลอดจนการดูแลรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนและผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุน
ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน ได้มอบหมายให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รับเป็นหน่วยในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และจัดทำผลการประชุมนำเรียนให้ หัวหน้าคสช. ทราบต่อไป
พล.อ.อ ประจิน ยังได้ กล่าวขอบคุณส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ พร้อมทั้งกล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องดำเนินการทุกด้านไปพร้อมๆ กัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ จิตวิทยา สังคม และความมั่นคง การร่วมมือกันในวันนี้เปรียบเสมือนการช่วยกันสร้างชีวิตใหม่ ให้กับพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของเรา
**ปล่อยกู้เงินกองทุนประกันสังคม 2 พันล.
วานนี้ (31 ก.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้บอร์ดสปส. มีมติเห็นชอบอนุมัติเงินกองทุนประกันสังคมภายใต้กรอบวงเงินการลงทุนทางสังคมตามแผนการลงทุนประจำปี 2557 จำนวน 2,000 ล้านบาท ตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ที่เสนอผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการจ้างงานเขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวงเงินดำเนินโครงการ 2,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารให้แก่สถานประกอบการ รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี และผู้ประกันตนรายละไม่เกิน 150,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี โดยทั้งสองกลุ่มคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนคุณสมบัติของสถานประกอบการ และผู้ประกันตนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะขอกู้สินเชื่อในโครงการสนับสนุนการจ้างงานฯนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนกับ สปส.ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ส่วนจะปล่อยกู้สินเชื่อในโครงการได้เมื่อใดนั้น ขณะนี้ยังกำหนดไม่ได้ เพราะสปส. กำลังออกประกาศรับสมัครธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการฯโดยต้องเป็นธนาคารที่มีความมั่นคงสูงและมีกำไรสะสม รวมทั้งได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีแล้ว หากเป็นธนาคารที่มีปัญหาขาดทุนไม่อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการเพื่อป้องกันปัญหาหนี้สูญ
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อสปส. คัดเลือกธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการได้แล้ว ก็จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง สปส. กับธนาคาร ซึ่งการดำเนินการโครงการนี้ สปส. จะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 1 ต่อปี คงที่ 5 ปี เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนให้ธนาคารคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวน ทั้งนี้ สถานประกอบการและผู้ประกันตนยื่นคำขอกู้สินเชื่อได้หลังจากวันที่มีการลงนามเอ็มโอยูจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.58 และหากสถานประกอบการ หรือผู้ประกันตนพ้นสภาพจากระบบประกันสังคม จะถือว่า ไม่อยู่ในเงื่อนไขของโครงการ ให้สำนักงานถอนเงินต้นคงเหลือคืน
"โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งสปส. อนุมัติวงเงินกองทุน 1,000 ล้านบาท ปล่อยกู้สินเชื่อผ่านธนาคารโดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 คงที่ 5 ปีให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 5 จังหวัดภาคใต้เพื่อไม่ให้มีการเลิกจ้างแรงงานในภาคใต้ ทางกรอ.เห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคใต้ จึงเสนอคสช.ให้มีการดำเนินโครงการนี้ต่อ" ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
------------