คสช.เตรียมตั้ง คกก.ประสาน 3 กองทุน หวังแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ ขณะที่การปฏิรูประบบสุขภาพเล็งใช้แนวทางตามมติสมัชชาสุขภาพ 5 เรื่องมาประกอบ เล็งหารือรายละเอียดในเวทีปฏิรูปอีก 2 สัปดาห์ เผยดึงภาคประชาชนเข้าร่วมด้วย
วันนี้ (31 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) พล.ร.ต.นวพล ดำรงพงศ์ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ ในฐานะผู้แทน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางมารับฟังการประชุมร่วมระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในการเสนอความเห็นแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ
ทั้งนี้ ได้มีตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาชน ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จำนวน 5 คน เดินทางมาโดยไม่ได้เข้าร่วมประชุม แต่มารอฟังมติจากการประชุม และเดินทางกลับโดยไม่มีการยื่นหนังสือใดๆ
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ขณะนี้รู้สึกเบาใจว่าภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบสุขภาพ เนื่องจากมีการส่งสัญญาณว่า จะมีเวทีปฏิรูประบบสุขภาพของ คสช. ซึ่งจะเชิญภาคประชาชนในการเสนอความคิดเห็น จึงถือเป็นเรื่องดี
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า มีการพิจารณา 2 วาระ คือ 1.การหาแนวทางลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนสุขภาพ เนื่องจากฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช.มองว่ายังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ระหว่าง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ แต่ไม่ได้จะยุบเป็นกองทุนเดียว ต้องมีการทำงานแก้ปัญหา โดยให้แต่ละกองทุนพัฒนาสิทธิประโยชน์ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการประสาน 3 กองทุนขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการยกร่าง โดยเบื้องต้นให้แต่ละหน่วยงานมาหารือว่า กรรมการจะมีใคร หรือมีผู้ทรงคุณวุฒิจากที่ใดบ้าง และแนวทางการดำเนินการควรเป็นอย่างไร ซึ่งเห็นตรงกันว่าต้องคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ต้องรอเป็นคำสั่ง คสช.ออกมาก่อน จึงไม่ขอพูดในรายละเอียด
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า 2.การปฏิรูประบบสุขภาพไทย โดยที่ประชุมเสนอให้นำผลการประชุมสมัชชาสุขภาพ 5 เรื่องมาเป็นแนวทางประกอบการปฏิรูป โดยจะแปลงมาสู่การปฏิบัติ ซึ่งแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพจะเป็นเช่นไร จะหารืออีกคัร้งในเวทีการปฏิรูปของ คสช.ในอีก 2 สัปดาห์
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในวันที่ 4 ส.ค.หรือไม่ เนื่องจากภาคประชาชนเรียกร้องว่า ไม่มีการประชุมร่วม 2 เดือน นพ.ณรงค์ กล่าวว่า คสช.มีมติว่าอะไรเป็นนโยบายไม่ต้องเข้าประชุม ขอให้เป็นเรื่องปฏิบัติการ ส่วนวันที่ 4 ส.ค. ตนติดภารกิจรับเสด็จที่ จ.สระบุรี แต่ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นตัวแทนประธานประชุมบอร์ด สปสช.แต่อย่างใด
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การปฏิรูประบบสุขภาพ ควรใช้แนวทาง 5 ข้อจากมติสมัชชาสุขภาพเข้าร่วม ซึ่งมติเหล่านี้ผ่านความเห็นจากเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ประกอบด้วย 1.การปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการจัดการกับภัยคุกคามสุขภาพ 2. การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ 3.การปฏิรูประบบการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ 4. การปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบหลักประกันสุขภาพ และ 5.การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
“อย่างเรื่องปฏิรูประบบการเงินการคลัง ก็จะเน้นเรื่องแผนในการทำให้ระบบการเงินการคลังยั่งยืน แต่ไม่ได้พูดว่าจะต้องร่วมจ่ายหรือไม่อย่างไร คงต้องไปคุยในรายละเอียด รวมถึงจะมีการหารือเพื่อแก้ปัญหาความซับซ้อนด้วย อย่างเรื่อง พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ. 2535 แต่เมื่อเกิดเหตุกลับไม่ได้ใช้ แต่มาใช้บัตรทองกันหมด เป็นต้น” นพ.อำพล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (31 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) พล.ร.ต.นวพล ดำรงพงศ์ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ ในฐานะผู้แทน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางมารับฟังการประชุมร่วมระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในการเสนอความเห็นแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ
ทั้งนี้ ได้มีตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาชน ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จำนวน 5 คน เดินทางมาโดยไม่ได้เข้าร่วมประชุม แต่มารอฟังมติจากการประชุม และเดินทางกลับโดยไม่มีการยื่นหนังสือใดๆ
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ขณะนี้รู้สึกเบาใจว่าภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบสุขภาพ เนื่องจากมีการส่งสัญญาณว่า จะมีเวทีปฏิรูประบบสุขภาพของ คสช. ซึ่งจะเชิญภาคประชาชนในการเสนอความคิดเห็น จึงถือเป็นเรื่องดี
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า มีการพิจารณา 2 วาระ คือ 1.การหาแนวทางลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนสุขภาพ เนื่องจากฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช.มองว่ายังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ระหว่าง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ แต่ไม่ได้จะยุบเป็นกองทุนเดียว ต้องมีการทำงานแก้ปัญหา โดยให้แต่ละกองทุนพัฒนาสิทธิประโยชน์ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการประสาน 3 กองทุนขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการยกร่าง โดยเบื้องต้นให้แต่ละหน่วยงานมาหารือว่า กรรมการจะมีใคร หรือมีผู้ทรงคุณวุฒิจากที่ใดบ้าง และแนวทางการดำเนินการควรเป็นอย่างไร ซึ่งเห็นตรงกันว่าต้องคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ต้องรอเป็นคำสั่ง คสช.ออกมาก่อน จึงไม่ขอพูดในรายละเอียด
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า 2.การปฏิรูประบบสุขภาพไทย โดยที่ประชุมเสนอให้นำผลการประชุมสมัชชาสุขภาพ 5 เรื่องมาเป็นแนวทางประกอบการปฏิรูป โดยจะแปลงมาสู่การปฏิบัติ ซึ่งแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพจะเป็นเช่นไร จะหารืออีกคัร้งในเวทีการปฏิรูปของ คสช.ในอีก 2 สัปดาห์
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในวันที่ 4 ส.ค.หรือไม่ เนื่องจากภาคประชาชนเรียกร้องว่า ไม่มีการประชุมร่วม 2 เดือน นพ.ณรงค์ กล่าวว่า คสช.มีมติว่าอะไรเป็นนโยบายไม่ต้องเข้าประชุม ขอให้เป็นเรื่องปฏิบัติการ ส่วนวันที่ 4 ส.ค. ตนติดภารกิจรับเสด็จที่ จ.สระบุรี แต่ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นตัวแทนประธานประชุมบอร์ด สปสช.แต่อย่างใด
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การปฏิรูประบบสุขภาพ ควรใช้แนวทาง 5 ข้อจากมติสมัชชาสุขภาพเข้าร่วม ซึ่งมติเหล่านี้ผ่านความเห็นจากเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ประกอบด้วย 1.การปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการจัดการกับภัยคุกคามสุขภาพ 2. การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ 3.การปฏิรูประบบการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ 4. การปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบหลักประกันสุขภาพ และ 5.การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
“อย่างเรื่องปฏิรูประบบการเงินการคลัง ก็จะเน้นเรื่องแผนในการทำให้ระบบการเงินการคลังยั่งยืน แต่ไม่ได้พูดว่าจะต้องร่วมจ่ายหรือไม่อย่างไร คงต้องไปคุยในรายละเอียด รวมถึงจะมีการหารือเพื่อแก้ปัญหาความซับซ้อนด้วย อย่างเรื่อง พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ. 2535 แต่เมื่อเกิดเหตุกลับไม่ได้ใช้ แต่มาใช้บัตรทองกันหมด เป็นต้น” นพ.อำพล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่