กรรมการสุขภาพแห่งชาติยกเรื่องร่วมจ่าย เป็นหนึ่งในเรื่องย่อยที่ต้องปฏิรูประบบสุขภาพ ชี้ต้องปฏิรูปแบบองค์รวมตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 วอน สธ. นำไปพิจารณา ก่อนยาหอมแนวทางปฏิรูปเดินถูกทางแล้ว แต่ขอให้ลดบทบาทศูนย์รวมอำนาจ เป็นการอภิบาลแบบเครือข่าย เช่น สปสช.
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ จริงๆ ก็มีการกำหนดให้ร่วมจ่ายอยู่แล้ว แต่เป็นไปในลักษณะของความสมัครใจ ซึ่งความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าวว่าควรมีการร่วมจ่ายหรือไม่นั้น จนกลายเป็นข้อถกเถียงอยู่ในขณะนี้ เชื่อว่าเกิดจากความแตกต่างของข้อมูลในมือของแต่ละฝ่าย แต่ความคิดของแต่ละฝ่ายต่างก็เหมือนกันคืออยากเห็นระบบสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการเงินการคลังนี้ ถือเป็นเพียงเรื่องย่อยเรื่องหนึ่งเท่านั้น การปฏิรูประบบสุขภาพจะต้องมองในภาพกว้างและเป็นองค์รวมมากกว่าเรื่องนี้
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ซึ่งตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 เรื่อง การ “การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย” อันเป็นการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น ระบุชัดว่าหลักการ ทิศทาง และแนวทางในการปฏิรูประบบสุขภาพมีทั้งหมด 5 ประเด็น คือ 1. การปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการจัดการกับภัยคุกคามสุขภาพ 2. การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ 3. การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ 4. การปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบหลักประกันด้านสุขภาพ และ 5. การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
“การปฏิรูประบบสุขภาพจะเดินหน้าเพียงหน่วยงานเดียวอย่าง สธ. ไม่ได้ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการหรือการอภิบาลโดยรัฐ แต่ต้องให้คนไทยทุกภาคส่วนมีโอกาสได้ร่วมคิด ร่วมนำ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบด้วย เป็นการอภิบาลแบบเครือข่าย เพราะระบบสุขภาพเกี่ยวข้องกับชีวิตตนเองตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งเรื่องการแพทย์ การสาธารณสุข และการสร้างสุขภาวะ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการปฏิรูประบบสุขภาพและพัฒนามาตามลำดับ ตัวอย่างเรื่องอภิบาลโดยเครือข่ายที่เห็นได้ชัดคือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ดังนั้น สธ. ต้องลดบทบาทการจัดการเองทุกเรื่องแบบรวมศูนย์อำนาจในอดีตลง แต่หันมาเอื้ออำนวยระบบสุขภาพแห่งชาติ เชื่อมประสานทุกภาคส่วนเข้าด้วยกันมากกว่า เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ปัญหาสุขภาพนั้นยุ่งยากสลับซับซ้อนเกินกว่ากระทรวงจะบริหารจัดการเองโดยลำพังได้แล้ว” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปฏิรูปของ สธ. ที่พยายามดำเนินการอยู่ขณะนี้ มีสิ่งใดที่ต้องปรับหรือไม่ นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า การเดินหน้าปฏิรูปของ สธ. เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างเรื่องเขตบริการสุขภาพก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่วิธีการในการทำจะต้องเป็นไปในลักษณะการอภิบาลโดยเครือข่ายจริงๆ ไม่ใช่ยังอยู่ในอำนาจของ สธ. อยู่ ซึ่งหลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องนี้ และยังเป็นการข้ามอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย โดยคณะกรรมการบริหารจัดการในเขตจะต้องมาจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้มีส่าวนได้ส่วนเสีย ท้องถิ่น นักวิชาการ ส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการในเขต
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า อยากให้ สธ. พิจารณานำข้อเสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 ไปหาทางขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยอีกประมาณ 2 สัปดาห์ สช. จะจัดเวทีประชุมปรึกษาหารือในเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพขึ้น ซึ่งจะเชิญตัวแทนทั้งฝั่ง สธ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หน่วยงานที่ทำงานด้านสุขภาพทั้งหมดมาปรึกษาหารือกัน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และหาแนวทางในการขับเคลื่อนมติการปฏิรูประบบสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ลดความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับบรรยากาศปรองดองในขณะนี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ จริงๆ ก็มีการกำหนดให้ร่วมจ่ายอยู่แล้ว แต่เป็นไปในลักษณะของความสมัครใจ ซึ่งความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าวว่าควรมีการร่วมจ่ายหรือไม่นั้น จนกลายเป็นข้อถกเถียงอยู่ในขณะนี้ เชื่อว่าเกิดจากความแตกต่างของข้อมูลในมือของแต่ละฝ่าย แต่ความคิดของแต่ละฝ่ายต่างก็เหมือนกันคืออยากเห็นระบบสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการเงินการคลังนี้ ถือเป็นเพียงเรื่องย่อยเรื่องหนึ่งเท่านั้น การปฏิรูประบบสุขภาพจะต้องมองในภาพกว้างและเป็นองค์รวมมากกว่าเรื่องนี้
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ซึ่งตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 เรื่อง การ “การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย” อันเป็นการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น ระบุชัดว่าหลักการ ทิศทาง และแนวทางในการปฏิรูประบบสุขภาพมีทั้งหมด 5 ประเด็น คือ 1. การปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการจัดการกับภัยคุกคามสุขภาพ 2. การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ 3. การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ 4. การปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบหลักประกันด้านสุขภาพ และ 5. การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
“การปฏิรูประบบสุขภาพจะเดินหน้าเพียงหน่วยงานเดียวอย่าง สธ. ไม่ได้ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการหรือการอภิบาลโดยรัฐ แต่ต้องให้คนไทยทุกภาคส่วนมีโอกาสได้ร่วมคิด ร่วมนำ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบด้วย เป็นการอภิบาลแบบเครือข่าย เพราะระบบสุขภาพเกี่ยวข้องกับชีวิตตนเองตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งเรื่องการแพทย์ การสาธารณสุข และการสร้างสุขภาวะ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการปฏิรูประบบสุขภาพและพัฒนามาตามลำดับ ตัวอย่างเรื่องอภิบาลโดยเครือข่ายที่เห็นได้ชัดคือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ดังนั้น สธ. ต้องลดบทบาทการจัดการเองทุกเรื่องแบบรวมศูนย์อำนาจในอดีตลง แต่หันมาเอื้ออำนวยระบบสุขภาพแห่งชาติ เชื่อมประสานทุกภาคส่วนเข้าด้วยกันมากกว่า เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ปัญหาสุขภาพนั้นยุ่งยากสลับซับซ้อนเกินกว่ากระทรวงจะบริหารจัดการเองโดยลำพังได้แล้ว” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปฏิรูปของ สธ. ที่พยายามดำเนินการอยู่ขณะนี้ มีสิ่งใดที่ต้องปรับหรือไม่ นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า การเดินหน้าปฏิรูปของ สธ. เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างเรื่องเขตบริการสุขภาพก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่วิธีการในการทำจะต้องเป็นไปในลักษณะการอภิบาลโดยเครือข่ายจริงๆ ไม่ใช่ยังอยู่ในอำนาจของ สธ. อยู่ ซึ่งหลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องนี้ และยังเป็นการข้ามอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย โดยคณะกรรมการบริหารจัดการในเขตจะต้องมาจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้มีส่าวนได้ส่วนเสีย ท้องถิ่น นักวิชาการ ส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการในเขต
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า อยากให้ สธ. พิจารณานำข้อเสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 ไปหาทางขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยอีกประมาณ 2 สัปดาห์ สช. จะจัดเวทีประชุมปรึกษาหารือในเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพขึ้น ซึ่งจะเชิญตัวแทนทั้งฝั่ง สธ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หน่วยงานที่ทำงานด้านสุขภาพทั้งหมดมาปรึกษาหารือกัน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และหาแนวทางในการขับเคลื่อนมติการปฏิรูประบบสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ลดความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับบรรยากาศปรองดองในขณะนี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่