“หมอประกิต” ชวนพระสงฆ์เลิกบุหรี่เข้าพรรษา จี้วัดห้ามบวชให้คนสูบบุหรี่ เสนอ มส. ออกกฎวัดปลอดบุหรี่ บรรจุบุหรี่เป็นการทำผิดศีลข้อ 5 เตือนชาวบ้านเลิกถวายบุหรี่ให้พระ
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ช่วงเข้าพรรษาเป็นโอกาสดีที่พระสงฆ์ที่ยังสูบบุหรี่จะได้เริ่มต้นตั้งมั่นที่จะลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ซึ่งจากการที่มูลนิธิเคยจัดระดมความคิด มีข้อสรุปเรื่องมาตรการที่ควรดำเนินการช่วยให้พระสงฆ์สูบบุหรี่น้อยลง 4 เรื่อง คือ 1. นโยบายของวัดในเรื่องการไม่สูบบุหรี่ต้องเข้มแข็ง โดยคนที่จะบวชต้องไม่สูบบุหรี่ หรือต้องเลิกบุหรี่ก่อน และวัดต้องไม่รับบวชคนที่สูบบุหรี่ และควรขยายอาณาเขตให้ทั้งวัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยเจ้าอาวาสต้องเป็นแบบอย่างที่ดี 2. เสนอให้มหาเถรสมาคมพิจารณากำหนดนโยบายในเรื่องต่างๆ เช่น ออกกฎเรื่องวัดปลอดบุหรี่ และให้อำนาจเจ้าอาวาสในการดำเนินการ รวมถึงพิจารณาว่าหมาก พลู บุหรี่ ยานัตถุ์เป็นสิ่งที่สมณะควรบริโภคหรือไม่ และควรจัดยาสูบไว้ในศีลข้อ 5 เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทำให้เสพติด
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า 3. บทบาทของพระสงฆ์โดยตรง พระควรเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมไทยด้วยการไม่สูบบุหรี่ พระไม่รับประเคนบุหรี่ที่ญาติโยมนำมาถวาย พระสงฆ์ร่วมกันเผยแพร่เรื่องห้ามถวายบุหรี่ ควรเตือนพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ให้เลิก ควรเน้นป้องกันไม่ให้สามเณรสูบบุหรี่ และกรณีที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ต้องไม่สูบให้คนเห็น และ 4. บทบาทของพุทธศาสนิกชน ญาติโยมช่วยกันเตือนพระที่สูบบุหรี่ให้เลิก ไม่ถวายบุหรี่แด่พระสงฆ์ สร้างจิตสำนึกของประชาชนว่าวัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ และปฏิบัติตามกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในวัด
“ต้องมีการรณรงค์อย่างจริงจังว่าการสูบบุหรี่ผิดศีลข้อ 5 เพราะเป็นสิ่งเสพติดผิดหลักคำสอนของพุทธศาสนา ที่สำคัญ ควรมีการพัฒนากระบวนการรักษาการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ เพราะพระสงฆ์คงจะไม่มารับบริการการรักษาที่โรงพยาบาลโดยตรงอาจจะอาย หากพระสงฆ์ยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ก็ไม่ควรสูบนอกกุฏิหรือให้บุคคลอื่นเห็น ส่วนในช่วงเข้าพรรษาควรปฏิเสธถ้าญาติโยมถวายบุหรี่ และแจ้งให้ประชาชนตระหนักว่าการถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์ถือเป็นการทำบาป” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ช่วงเข้าพรรษาเป็นโอกาสดีที่พระสงฆ์ที่ยังสูบบุหรี่จะได้เริ่มต้นตั้งมั่นที่จะลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ซึ่งจากการที่มูลนิธิเคยจัดระดมความคิด มีข้อสรุปเรื่องมาตรการที่ควรดำเนินการช่วยให้พระสงฆ์สูบบุหรี่น้อยลง 4 เรื่อง คือ 1. นโยบายของวัดในเรื่องการไม่สูบบุหรี่ต้องเข้มแข็ง โดยคนที่จะบวชต้องไม่สูบบุหรี่ หรือต้องเลิกบุหรี่ก่อน และวัดต้องไม่รับบวชคนที่สูบบุหรี่ และควรขยายอาณาเขตให้ทั้งวัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยเจ้าอาวาสต้องเป็นแบบอย่างที่ดี 2. เสนอให้มหาเถรสมาคมพิจารณากำหนดนโยบายในเรื่องต่างๆ เช่น ออกกฎเรื่องวัดปลอดบุหรี่ และให้อำนาจเจ้าอาวาสในการดำเนินการ รวมถึงพิจารณาว่าหมาก พลู บุหรี่ ยานัตถุ์เป็นสิ่งที่สมณะควรบริโภคหรือไม่ และควรจัดยาสูบไว้ในศีลข้อ 5 เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทำให้เสพติด
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า 3. บทบาทของพระสงฆ์โดยตรง พระควรเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมไทยด้วยการไม่สูบบุหรี่ พระไม่รับประเคนบุหรี่ที่ญาติโยมนำมาถวาย พระสงฆ์ร่วมกันเผยแพร่เรื่องห้ามถวายบุหรี่ ควรเตือนพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ให้เลิก ควรเน้นป้องกันไม่ให้สามเณรสูบบุหรี่ และกรณีที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ต้องไม่สูบให้คนเห็น และ 4. บทบาทของพุทธศาสนิกชน ญาติโยมช่วยกันเตือนพระที่สูบบุหรี่ให้เลิก ไม่ถวายบุหรี่แด่พระสงฆ์ สร้างจิตสำนึกของประชาชนว่าวัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ และปฏิบัติตามกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในวัด
“ต้องมีการรณรงค์อย่างจริงจังว่าการสูบบุหรี่ผิดศีลข้อ 5 เพราะเป็นสิ่งเสพติดผิดหลักคำสอนของพุทธศาสนา ที่สำคัญ ควรมีการพัฒนากระบวนการรักษาการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ เพราะพระสงฆ์คงจะไม่มารับบริการการรักษาที่โรงพยาบาลโดยตรงอาจจะอาย หากพระสงฆ์ยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ก็ไม่ควรสูบนอกกุฏิหรือให้บุคคลอื่นเห็น ส่วนในช่วงเข้าพรรษาควรปฏิเสธถ้าญาติโยมถวายบุหรี่ และแจ้งให้ประชาชนตระหนักว่าการถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์ถือเป็นการทำบาป” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่