โรงงานยาสูบเมินโหมโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรต่อในโรงหนัง พบใช้งบโฆษณาปีละกว่า 400 ล้านบาท มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เตรียมทำหนังสือจี้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ระบุชัดผิดกฎหมาย
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ตามกฎหมายนั้นมีการห้ามผลิตภัณฑ์ยาสูบในการโฆษณาทุกรูปแบบ แต่ที่ผ่านมากลับพบว่า โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ได้ทำการโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรออกฉายในโรงภาพยนตร์หลายแห่ง ซึ่งมูลนิธิฯ เคยทำหนังสือไปถึง ก.คลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับโรงงานยาสูบ เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการยุติการโฆษณาดังกล่าวในโรงภาพยนตร์แต่อย่างใด ทั้งที่มีมติ ครม. ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 2555 ให้ยุติการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบแล้วก็ตาม
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า ทุกปี องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้สอบถามมายังหน่วยงานที่กำกับเรื่องการควบคุมการบริโภคยาสูบว่า จะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ต้องปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ ข้อ 5.3 กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก ซึ่งห้ามการโฆษณาในผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ รวมทั้งการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วย ซึ่งโรงงานยาสูบได้อาศัยช่องโหว่กฎหมายตีความโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพบว่าโรงงานยาสูบได้ใช้งบประมาณในการทำโฆษณาและทำกิจกรรมส่งเสริมสังคมปีละกว่า 400 ล้านบาท
“จากนี้จะมีการทำจดหมายเปิดผนึกอีกครั้งส่งถึงโรงงานยาสูบ ก.คลัง ให้แสดงความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว รวมถึงหามาตรการต่อไป เพื่อเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำลังปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. ... ซึ่งจะมีเนื้อหาครอบคลุมในประเด็นที่ยังคงมีช่องโหว่ในกฎหมาย เช่น การทำกิจกรรมเพื่อสังคม การโฆษณาและขายผ่านอินเทอร์เน็ต การเปรียบเทียบปรับ สถานที่ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ตามกฎหมายนั้นมีการห้ามผลิตภัณฑ์ยาสูบในการโฆษณาทุกรูปแบบ แต่ที่ผ่านมากลับพบว่า โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ได้ทำการโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรออกฉายในโรงภาพยนตร์หลายแห่ง ซึ่งมูลนิธิฯ เคยทำหนังสือไปถึง ก.คลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับโรงงานยาสูบ เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการยุติการโฆษณาดังกล่าวในโรงภาพยนตร์แต่อย่างใด ทั้งที่มีมติ ครม. ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 2555 ให้ยุติการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบแล้วก็ตาม
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า ทุกปี องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้สอบถามมายังหน่วยงานที่กำกับเรื่องการควบคุมการบริโภคยาสูบว่า จะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ต้องปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ ข้อ 5.3 กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก ซึ่งห้ามการโฆษณาในผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ รวมทั้งการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วย ซึ่งโรงงานยาสูบได้อาศัยช่องโหว่กฎหมายตีความโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพบว่าโรงงานยาสูบได้ใช้งบประมาณในการทำโฆษณาและทำกิจกรรมส่งเสริมสังคมปีละกว่า 400 ล้านบาท
“จากนี้จะมีการทำจดหมายเปิดผนึกอีกครั้งส่งถึงโรงงานยาสูบ ก.คลัง ให้แสดงความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว รวมถึงหามาตรการต่อไป เพื่อเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำลังปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. ... ซึ่งจะมีเนื้อหาครอบคลุมในประเด็นที่ยังคงมีช่องโหว่ในกฎหมาย เช่น การทำกิจกรรมเพื่อสังคม การโฆษณาและขายผ่านอินเทอร์เน็ต การเปรียบเทียบปรับ สถานที่ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น” ศ.นพ.ประกิต กล่าว