สมาร์ทคลาสรูมยังไม่คืบ! ศธ. ยังอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดโดยสอบถามผู้รู้เฉพาะด้านทั้งมหา’ลัย เนคเทค สวทช. มาจัดทำแนวทางเสนอ คสช. คาดเสนอ 3 รูปแบบ
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ ห้องสมาร์ทคลาสรูม แทนการแจกแท็บเล็ตให้แก่นักเรียน ว่า ขณะนี้ ศธ. อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลในการจัดทำรายละเอียด รูปแบบ งบประมาณ และแนวทางที่จะใช้ดำเนินโครงการ เพราะคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เน้นย้ำว่าการทำสมาร์ทคลาสรูมควรมีรูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะกับบริบทของแต่ละโรงเรียน ซึ่งขณะนี้บางโรงเรียนมีสมาร์ทคลาสรูมอยู่แล้ว บางโรงเรียนยังไม่มี และบางโรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ดังนั้น จึงคิดว่าโรงเรียนกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศจะจัดเป็นสมาร์ทคลาสรูมเหมือนกันทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ เพราะความต้องการต่างกัน เราจึงต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะนำไอซีทีมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นได้หารือกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สอบถามความคิดเห็นจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยต่างๆ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เพื่อให้การรวบรวมข้อมูลและวางแนวทางดำเนินการให้สมบูรณ์ เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด
“คาดว่ารูปแบบที่จะนำเสนอ คสช. น่าจะมี 3 รูปแบบ ได้แก่ สมาร์ทคลาสรูม ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และห้องเรียน อี-เลิร์นนิง โดยจะสามารถเสนอ คสช. เพื่อพิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า ขณะเดียวกัน ได้ขอตั้งงบประมาณปี 2558 เพื่อใช้โครงการที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แทนโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียนแล้ว” นางสุทธศรี กล่าว
ด้าน นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ. กำลังรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ซึ่งจะเน้นประโยชน์ที่เกิดกับตัวนักเรียนเป็นสำคัญ เมื่อได้ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยก็จะจัดส่งให้หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. ส่วนข้อสรุปว่าจะดำเนินการเช่นไรนั้นทาง คสช. จะเป็นผู้แถลงเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ ห้องสมาร์ทคลาสรูม แทนการแจกแท็บเล็ตให้แก่นักเรียน ว่า ขณะนี้ ศธ. อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลในการจัดทำรายละเอียด รูปแบบ งบประมาณ และแนวทางที่จะใช้ดำเนินโครงการ เพราะคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เน้นย้ำว่าการทำสมาร์ทคลาสรูมควรมีรูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะกับบริบทของแต่ละโรงเรียน ซึ่งขณะนี้บางโรงเรียนมีสมาร์ทคลาสรูมอยู่แล้ว บางโรงเรียนยังไม่มี และบางโรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ดังนั้น จึงคิดว่าโรงเรียนกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศจะจัดเป็นสมาร์ทคลาสรูมเหมือนกันทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ เพราะความต้องการต่างกัน เราจึงต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะนำไอซีทีมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นได้หารือกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สอบถามความคิดเห็นจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยต่างๆ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เพื่อให้การรวบรวมข้อมูลและวางแนวทางดำเนินการให้สมบูรณ์ เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด
“คาดว่ารูปแบบที่จะนำเสนอ คสช. น่าจะมี 3 รูปแบบ ได้แก่ สมาร์ทคลาสรูม ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และห้องเรียน อี-เลิร์นนิง โดยจะสามารถเสนอ คสช. เพื่อพิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า ขณะเดียวกัน ได้ขอตั้งงบประมาณปี 2558 เพื่อใช้โครงการที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แทนโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียนแล้ว” นางสุทธศรี กล่าว
ด้าน นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ. กำลังรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ซึ่งจะเน้นประโยชน์ที่เกิดกับตัวนักเรียนเป็นสำคัญ เมื่อได้ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยก็จะจัดส่งให้หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. ส่วนข้อสรุปว่าจะดำเนินการเช่นไรนั้นทาง คสช. จะเป็นผู้แถลงเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่