ผอ.สถาบันกัลยาณ์ ชี้ สารเสพติด เหล้า สันดานเดิม มีผลต่อการก่อเหตุรุนแรงทางเพศ ระบุยิ่งเรียนรู้ทางเพศไม่ถูกทาง ยับยั้งอารมณ์ไม่เป็นสุดอันตราย วอนอย่าโทษผู้หญิงแต่งตัวยั่ว ย้ำผู้ชายต้องควบคุมอารมณ์ตัวเอง เสนอคนก่อเหตุมีบทลงโทษแรง ไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวถึงกรณีพนักงานการรถไฟก่อเหตุฆ่าข่มขืน ด.ญ.วัย 13 ปี บนรถไฟ ซึ่งรับสารภาพมีการใช้ยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดการกระตุ้นประสาท และกดประสาท ทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นได้บ้างนั้น ว่า จากพฤติกรรมที่เกิดขึ้น มีลักษณะโหดเหี้ยม แสดงว่าสมองไม่สั่งการในส่วนจริยธรรม ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ เป็นไปได้ว่าปัจจัยกระตุ้นมาจากหลายส่วน ทั้งการใช้สารเสพติด พฤติกรรม และการรับรู้ชั่วดีที่ผิดปกติ ซึ่งรายดังกล่าวเคยมีประวัติข่มขืนมาแล้ว เมื่อไม่ได้รับโทษก็ทำให้ความยับยั้งชั่งใจไม่มี ทั้งนี้ ยาเสพติด เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดปัญหาความรุนแรง บวกกับการเรียนรู้ทางเพศที่ไม่ถูกทาง การมีบทลงโทษทางกฎหมายที่ไม่รุนแรง ทำให้คนเหล่านี้ก่อเหตุซ้ำ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สังคมจำเป็นต้องมีกระบวนการสั่งสอน การสร้างจริยธรรม การควบคุมอารมณ์ ตั้งแต่ระดับครอบครัว เพราะอารมณ์ทางเพศเป็นสัญชาตญาณเดิมของมนุษย์ แต่เมื่อสังคมพัฒนา มีประเพณี วัฒนธรรม กระบวนการทางสังคมในการสืบพันธุ์ ไม่ใช่ว่าต้องการแล้วต้องระบายออก ซึ่งบางส่วนหากเกิดปัญหาความรุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ได้รับการสั่งสอน อาจมีปมทางจิตใจที่ไม่สามารถยับยั้งความต้องการทางด้านเพศได้ โดยมนุษย์จะเริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์ตั้งแต่วัย 2 ปี จากนั้น 3 - 5 ปี จะเริ่มแสดงออกทางเพศสภาพ จนเข้าสู่วัยรุ่นจึงเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างทางด้านเพศ หากเด็กได้รับความรุนแรง หรือไม่มีการสั่งสอน ก็จะแสดงออกอย่างผิดทางได้
“ข้ออ้างเรื่องของสรีระต่างเพศ ว่าทำให้เกิดการกระตุ้นทางเพศนั้น ยอมรับว่าผู้ชายถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการมองเห็น รสสัมผัส มากกว่าผู้หญิง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นความผิดของผู้หญิง เพราะการแต่งกายเป็นอิสระของร่างกายและสิทธิมนุษยชน เรื่องสำคัญคือ ผู้ชายควรควบคุมจิตใจและร่างกายของตัวเองไม่ควรอ้างว่าคนอื่นกระตุ้น เพราะเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องควบคุมอารมณ์ จิตใจของตนเอง” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับการก่อเหตุรุนแรงทางเพศซ้ำๆ โดยเฉพาะผู้ที่ก่อเหตุกับเด็ก จำเป็นต้องมีโทษสูงและทำการวิเคราะห์เพื่อส่งบำบัด ไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ เพราะหลายกรณีที่เมื่อพ้นโทษก็ก่อเหตุอีก เกิดจากบางส่วนจะเข้าข่ายโรคทางจิตเวช กลุ่มพาราฟีเรีย หรือ กามวิตถาร แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ถือว่าคนกลุ่มนี้เจ็บป่วยทางจิต เพราะจะเข้าข่ายอาชญากร ต้องได้รับโทษทางอาญาก่อน แต่ในต่างประเทศจะมีการวิเคราะห์ต่อ เพื่อไม่ให้คนกลุ่มนี้ก่อเหตุซ้ำซาก และหาวิธีป้องกัน เช่น ฉีดยาเพื่อลดความต้องการทางเพศลง หรือ บำบัดเพื่อให้รู้สึกถึงความผิด เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยกลุ่มที่ก่อเหตุความรุนแรงทางเพศยังไม่ได้รับโทษสูง และอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งขณะนี้กรมสุขภาพจิต และ สถาบันกัลยาณ์ฯ กำลังคิดแนวทางเพื่อป้องกันปัญหา แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะบุคลากรที่จะดำเนินการน้อย แต่อาจต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกระบวนการยุติธรรมกับการบำบัดทางจิตต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวถึงกรณีพนักงานการรถไฟก่อเหตุฆ่าข่มขืน ด.ญ.วัย 13 ปี บนรถไฟ ซึ่งรับสารภาพมีการใช้ยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดการกระตุ้นประสาท และกดประสาท ทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นได้บ้างนั้น ว่า จากพฤติกรรมที่เกิดขึ้น มีลักษณะโหดเหี้ยม แสดงว่าสมองไม่สั่งการในส่วนจริยธรรม ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ เป็นไปได้ว่าปัจจัยกระตุ้นมาจากหลายส่วน ทั้งการใช้สารเสพติด พฤติกรรม และการรับรู้ชั่วดีที่ผิดปกติ ซึ่งรายดังกล่าวเคยมีประวัติข่มขืนมาแล้ว เมื่อไม่ได้รับโทษก็ทำให้ความยับยั้งชั่งใจไม่มี ทั้งนี้ ยาเสพติด เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดปัญหาความรุนแรง บวกกับการเรียนรู้ทางเพศที่ไม่ถูกทาง การมีบทลงโทษทางกฎหมายที่ไม่รุนแรง ทำให้คนเหล่านี้ก่อเหตุซ้ำ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สังคมจำเป็นต้องมีกระบวนการสั่งสอน การสร้างจริยธรรม การควบคุมอารมณ์ ตั้งแต่ระดับครอบครัว เพราะอารมณ์ทางเพศเป็นสัญชาตญาณเดิมของมนุษย์ แต่เมื่อสังคมพัฒนา มีประเพณี วัฒนธรรม กระบวนการทางสังคมในการสืบพันธุ์ ไม่ใช่ว่าต้องการแล้วต้องระบายออก ซึ่งบางส่วนหากเกิดปัญหาความรุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ได้รับการสั่งสอน อาจมีปมทางจิตใจที่ไม่สามารถยับยั้งความต้องการทางด้านเพศได้ โดยมนุษย์จะเริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์ตั้งแต่วัย 2 ปี จากนั้น 3 - 5 ปี จะเริ่มแสดงออกทางเพศสภาพ จนเข้าสู่วัยรุ่นจึงเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างทางด้านเพศ หากเด็กได้รับความรุนแรง หรือไม่มีการสั่งสอน ก็จะแสดงออกอย่างผิดทางได้
“ข้ออ้างเรื่องของสรีระต่างเพศ ว่าทำให้เกิดการกระตุ้นทางเพศนั้น ยอมรับว่าผู้ชายถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการมองเห็น รสสัมผัส มากกว่าผู้หญิง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นความผิดของผู้หญิง เพราะการแต่งกายเป็นอิสระของร่างกายและสิทธิมนุษยชน เรื่องสำคัญคือ ผู้ชายควรควบคุมจิตใจและร่างกายของตัวเองไม่ควรอ้างว่าคนอื่นกระตุ้น เพราะเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องควบคุมอารมณ์ จิตใจของตนเอง” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับการก่อเหตุรุนแรงทางเพศซ้ำๆ โดยเฉพาะผู้ที่ก่อเหตุกับเด็ก จำเป็นต้องมีโทษสูงและทำการวิเคราะห์เพื่อส่งบำบัด ไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ เพราะหลายกรณีที่เมื่อพ้นโทษก็ก่อเหตุอีก เกิดจากบางส่วนจะเข้าข่ายโรคทางจิตเวช กลุ่มพาราฟีเรีย หรือ กามวิตถาร แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ถือว่าคนกลุ่มนี้เจ็บป่วยทางจิต เพราะจะเข้าข่ายอาชญากร ต้องได้รับโทษทางอาญาก่อน แต่ในต่างประเทศจะมีการวิเคราะห์ต่อ เพื่อไม่ให้คนกลุ่มนี้ก่อเหตุซ้ำซาก และหาวิธีป้องกัน เช่น ฉีดยาเพื่อลดความต้องการทางเพศลง หรือ บำบัดเพื่อให้รู้สึกถึงความผิด เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยกลุ่มที่ก่อเหตุความรุนแรงทางเพศยังไม่ได้รับโทษสูง และอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งขณะนี้กรมสุขภาพจิต และ สถาบันกัลยาณ์ฯ กำลังคิดแนวทางเพื่อป้องกันปัญหา แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะบุคลากรที่จะดำเนินการน้อย แต่อาจต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกระบวนการยุติธรรมกับการบำบัดทางจิตต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่