โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
กรณีเหตุกระทำการข่มขืนและฆ่าต่อเด็กและเยาวชน ที่เป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่องจากกรณีน้องเพลง ถึงน้องแก้ม โดยไม่มีทีท่าว่าผู้กระทำผิดซึ่งทราบถึงบทลงโทษทางกฎหมายอยู่แล้ว ยังไม่ได้สำเหนียก และรู้สึกเกรงกลัวต่ออาญากฎหมายแต่ประการใด เพราะยังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นซ้ำรอยเดิม เรียกว่าเฉลี่ยแทบเป็นรายเดือน
เหตุการณ์พบศพน้องเพลง วัย 11 ขวบ ที่ถูกฆาตกรฆ่าข่มขืนโหดและนำศพไปทิ้งไว้ในท่อระบายน้ำ ริมถนนสายพระงาม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ยังไม่ทันจางกลิ่นอายความสูญเสียจากกรณีน้องเพลง รายงานข่าววานนี้ (8 กรกฎาคม 2557) เป็นกรณีพบศพน้องแก้มที่จุดตัดทางเข้าวนอุทยานปราณบุรีไป 2 กิโลเมตร ขาล่องใต้ พบอยู่ในพงหญ้าห่างรางรถไฟประมาณ 2 เมตร โดยแหล่งข่าวระบุว่า เป็นฝีมือของพนักงานปูผ้าปูเตียงของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างได้รับสารภาพว่า ได้เป็นผู้ข่มขืนและฆ่าก่อนโยนร่างของน้องแก้มออกจากตู้รถไฟ จาก 2 เหตุการณ์นี้ กลายเป็นคดีกระทำการข่มขืนและฆ่าต่อเด็กและเยาวชนที่สะเทือนขวัญ ส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของพ่อแม่ และผู้รับรู้ข่าวดังกล่าว จนเป็นกระแสวิพากย์อย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ ว่า ปฏิรูปประเทศหลายด้านแล้ว อยากให้ปฏิรูปกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำการข่มขืน ให้มีโทษถึงประหารชีวิต
รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในเด็กและสตรี ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อสิ้นปี 2555 พบว่า ความรุนแรงในเด็กและสตรียังเป็นปัญหาสำคัญ จากจำนวนผู้มารับบริการศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบจำนวนเด็กและสตรี ถูกกระทำรุนแรงเพิ่มขึ้น จาก 11,242 ราย เฉลี่ย 32 รายต่อวัน ในปี 2548 เป็น 22,565 รายในปี 2554 เฉลี่ย 62 รายต่อวัน โดยสัดส่วนเด็กต่อสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงเป็น 51:49 การรายงานความรุนแรงในครอบครัวของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเพิ่มขึ้นจาก 51 รายในปี 2551 เป็น 727 รายในปี 2555 นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงเข้ารับบริการจากหน่วยงานต่างๆ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์เด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก บ้านพักฉุกเฉินขององค์กรเอกชนต่างๆ โดยพบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือ ความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงจากการค้ามนุษย์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงผู้ถูกกระทำรุนแรงที่มาจากการรายงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ยังมีผู้ถูกกระทำรุนแรงอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือหรือยังไม่มีผู้ใดรับรู้
โดยในรายงานดังกล่าว ระบุว่า เด็กถูกกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุด เป็นเด็กหญิงถูกทำร้ายประมาณ 8 เท่าของเด็กชาย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นอายุ 10-15 ปี เป็นการกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุดถึงร้อยละ 74.1 และทางกายร้อยละ 21.0 โดยผู้กระทำรุนแรงจากคนใกล้ชิด โดยเป็นแฟนร้อยละ 40.2 เพื่อนร้อยละ 25.1 คนไม่รู้จักร้อยละ 9.6 และพ่อแม่/ผู้ดูแลอุปการะร้อยละ 8.1 โดยสาเหตุที่เกิดส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ สื่อลามกต่างๆ ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออำนวย การใช้สารกระตุ้น เช่น สุรา และยาเสพติด และสัมพันธภาพในครอบครัว สอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ปี 2555 พบว่า นักศึกษาร้อยละ 3.44 เคยถูกลวนลามทางเพศ ในสถานศึกษาและปี 2551 มีการศึกษาคดีล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียนตามที่รายงานในหนังสือพิมพ์ พบ 16 กรณี เป็นการล่วงละเมิดเด็กทั้งสิ้น 24 คน แต่การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นมีความล่าช้ารวมถึงการปิดเรื่อง ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกกลัวและถูกโดยเดี่ยว (อ้างอิงจาก องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ, “การวิเคราะห์สถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ. 2554”, 2554)
ส่วนรากเหง้าความรุนแรงนั้น สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำรุนแรงแบ่งได้เป็น 1) ปัจจัยภายในอันเกิดจากตัวบุคคล ซึ่งเกิดจากการได้รับการหล่อหลอมมาจากครอบครัว การเรียนรู้พฤติกรรมหรือถูกกระทำความรุนแรงในวัยเด็กทำให้ไม่สามารถจัดการความเครียดและปัญหาต่างๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรง 2) ปัจจัยภายนอกและโครงสร้างทางสังคม เช่น ความเครียดจากการไม่มีงานทำ รายได้ต่ำความยากจน อัตราการเกิดอาชญากรรมที่สูง การใช้สารเสพติด และสื่อลามก รวมถึงทุนทางสังคมที่ไม่เข้มแข็งพอที่จะแทรกแซงความรุนแรงที่เกิดขึ้น และ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม ความเชื่อและค่านิยมของสังคม ซึ่งผู้ที่ถูกสังคมกำหนดบทบาทให้ด้อยกว่า มีโอกาสที่จะถูกกระทำความรุนแรงอยู่เสมอ เช่น การกระทำรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ คนด้อยโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย หรือระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ทำให้เด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงมากกว่าผู้ชาย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการกระทำการรุนแรงต่อเด็กและสตรี พบว่า เด็กผู้หญิงเฉลี่ยอายุ 10-15 ปีตกเป็นเป้าหมายของผู้กระทำความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงทางเพศ ซึ่งมีสถิติสูงกว่าร้อยละ 70 นับว่าสูงมาก โดยสาเหตุของความรุนแรง 1 ใน 3 สาเหตุเกิดจากการใช้สารเสพติด สื่อลามก ซึ่งก่อให้เกิดอาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ข้อเสนอแนะในรายงานจากสถานการณ์ดังกล่าวของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ตั้งข้อสังเกตและให้ข้อเสนอแนะว่า ในการดำเนินงานและบังคับใช้กฎหมาย ยังมีปัญหาอุปสรรคทั้งในเรื่องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือในตัวเมือง เช่น ตำรวจที่ดูแลและทำคดีเกี่ยวกับเด็กและสตรี ตลอดจนเจตคติของเจ้าหน้าที่ทำให้ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคดีที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ขาดการออกกฎกระทรวง การตั้งพนักงานในการรับแจ้งเหตุและระงับปัญหา ทำให้การปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ ในส่วนบริการช่วยเหลือ ขาดระบบเครือข่ายหรือการส่งต่อที่เป็นรูปแบบส่งผลให้การดำเนินการแก้ปัญหาไม่ครบวงจรขึ้นอยู่กับลักษณะและความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน ขาดการบูรณาการและความชัดเจนระหว่างนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความไม่เพียงพอและขาดทักษะของเจ้าหน้าที่ในการคลี่คลายหรือฟื้นฟูเบื้องต้น รวมทั้งขาดการติดตามประเมินผลการให้ความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบันทึกข้อมูลที่จัดทำไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทำให้ขาดข้อมูลความรุนแรงเด็ก สตรี และครอบครัวในภาพรวม ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กและสตรี ที่เกิดเป็นคำถามว่า การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษในกฎหมาย เกี่ยวกับคดีกระทำการรุนแรงต่อเด็ก มีความเด็ดขาดและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด รวมทั้งจะทำอย่างไรให้กระบวนการยุติธรรมในกรณีดังกล่าว เป็นไปอย่างเข้าถึงง่าย รวดเร็วและถูกต้องเป็นธรรม
วันนี้ เราจึงตั้งคำถามต่อการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษในกฎหมาย เกี่ยวกับคดีกระทำการรุนแรงต่อเด็ก โดยเฉพาะความรุนแรงทางเพศ ว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะปฏิรูปและกระทำกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายให้วิวัฒน์ต่อความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมโลกและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือจะรอให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำไปมาโดยมิได้มีแผนรองรับความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดจากน้ำมือของอมนุษย์ที่กระทำต่อเด็กอย่างไร้จิตใจของความเป็นมนุษย์ เพราะวันนี้ เรามีข้อมูลและข้อจำกัดจากการดำเนินการทางกฎหมายในกรณีดังกล่าวมากมายและมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไข และดำเนินการต่อไป
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
กรณีเหตุกระทำการข่มขืนและฆ่าต่อเด็กและเยาวชน ที่เป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่องจากกรณีน้องเพลง ถึงน้องแก้ม โดยไม่มีทีท่าว่าผู้กระทำผิดซึ่งทราบถึงบทลงโทษทางกฎหมายอยู่แล้ว ยังไม่ได้สำเหนียก และรู้สึกเกรงกลัวต่ออาญากฎหมายแต่ประการใด เพราะยังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นซ้ำรอยเดิม เรียกว่าเฉลี่ยแทบเป็นรายเดือน
เหตุการณ์พบศพน้องเพลง วัย 11 ขวบ ที่ถูกฆาตกรฆ่าข่มขืนโหดและนำศพไปทิ้งไว้ในท่อระบายน้ำ ริมถนนสายพระงาม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ยังไม่ทันจางกลิ่นอายความสูญเสียจากกรณีน้องเพลง รายงานข่าววานนี้ (8 กรกฎาคม 2557) เป็นกรณีพบศพน้องแก้มที่จุดตัดทางเข้าวนอุทยานปราณบุรีไป 2 กิโลเมตร ขาล่องใต้ พบอยู่ในพงหญ้าห่างรางรถไฟประมาณ 2 เมตร โดยแหล่งข่าวระบุว่า เป็นฝีมือของพนักงานปูผ้าปูเตียงของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างได้รับสารภาพว่า ได้เป็นผู้ข่มขืนและฆ่าก่อนโยนร่างของน้องแก้มออกจากตู้รถไฟ จาก 2 เหตุการณ์นี้ กลายเป็นคดีกระทำการข่มขืนและฆ่าต่อเด็กและเยาวชนที่สะเทือนขวัญ ส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของพ่อแม่ และผู้รับรู้ข่าวดังกล่าว จนเป็นกระแสวิพากย์อย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์ ว่า ปฏิรูปประเทศหลายด้านแล้ว อยากให้ปฏิรูปกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำการข่มขืน ให้มีโทษถึงประหารชีวิต
รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในเด็กและสตรี ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อสิ้นปี 2555 พบว่า ความรุนแรงในเด็กและสตรียังเป็นปัญหาสำคัญ จากจำนวนผู้มารับบริการศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบจำนวนเด็กและสตรี ถูกกระทำรุนแรงเพิ่มขึ้น จาก 11,242 ราย เฉลี่ย 32 รายต่อวัน ในปี 2548 เป็น 22,565 รายในปี 2554 เฉลี่ย 62 รายต่อวัน โดยสัดส่วนเด็กต่อสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงเป็น 51:49 การรายงานความรุนแรงในครอบครัวของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเพิ่มขึ้นจาก 51 รายในปี 2551 เป็น 727 รายในปี 2555 นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงเข้ารับบริการจากหน่วยงานต่างๆ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์เด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก บ้านพักฉุกเฉินขององค์กรเอกชนต่างๆ โดยพบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือ ความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงจากการค้ามนุษย์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงผู้ถูกกระทำรุนแรงที่มาจากการรายงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ยังมีผู้ถูกกระทำรุนแรงอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือหรือยังไม่มีผู้ใดรับรู้
โดยในรายงานดังกล่าว ระบุว่า เด็กถูกกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุด เป็นเด็กหญิงถูกทำร้ายประมาณ 8 เท่าของเด็กชาย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นอายุ 10-15 ปี เป็นการกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุดถึงร้อยละ 74.1 และทางกายร้อยละ 21.0 โดยผู้กระทำรุนแรงจากคนใกล้ชิด โดยเป็นแฟนร้อยละ 40.2 เพื่อนร้อยละ 25.1 คนไม่รู้จักร้อยละ 9.6 และพ่อแม่/ผู้ดูแลอุปการะร้อยละ 8.1 โดยสาเหตุที่เกิดส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ สื่อลามกต่างๆ ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออำนวย การใช้สารกระตุ้น เช่น สุรา และยาเสพติด และสัมพันธภาพในครอบครัว สอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ปี 2555 พบว่า นักศึกษาร้อยละ 3.44 เคยถูกลวนลามทางเพศ ในสถานศึกษาและปี 2551 มีการศึกษาคดีล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียนตามที่รายงานในหนังสือพิมพ์ พบ 16 กรณี เป็นการล่วงละเมิดเด็กทั้งสิ้น 24 คน แต่การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นมีความล่าช้ารวมถึงการปิดเรื่อง ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกกลัวและถูกโดยเดี่ยว (อ้างอิงจาก องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ, “การวิเคราะห์สถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ. 2554”, 2554)
ส่วนรากเหง้าความรุนแรงนั้น สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำรุนแรงแบ่งได้เป็น 1) ปัจจัยภายในอันเกิดจากตัวบุคคล ซึ่งเกิดจากการได้รับการหล่อหลอมมาจากครอบครัว การเรียนรู้พฤติกรรมหรือถูกกระทำความรุนแรงในวัยเด็กทำให้ไม่สามารถจัดการความเครียดและปัญหาต่างๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรง 2) ปัจจัยภายนอกและโครงสร้างทางสังคม เช่น ความเครียดจากการไม่มีงานทำ รายได้ต่ำความยากจน อัตราการเกิดอาชญากรรมที่สูง การใช้สารเสพติด และสื่อลามก รวมถึงทุนทางสังคมที่ไม่เข้มแข็งพอที่จะแทรกแซงความรุนแรงที่เกิดขึ้น และ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม ความเชื่อและค่านิยมของสังคม ซึ่งผู้ที่ถูกสังคมกำหนดบทบาทให้ด้อยกว่า มีโอกาสที่จะถูกกระทำความรุนแรงอยู่เสมอ เช่น การกระทำรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ คนด้อยโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย หรือระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ทำให้เด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงมากกว่าผู้ชาย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการกระทำการรุนแรงต่อเด็กและสตรี พบว่า เด็กผู้หญิงเฉลี่ยอายุ 10-15 ปีตกเป็นเป้าหมายของผู้กระทำความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงทางเพศ ซึ่งมีสถิติสูงกว่าร้อยละ 70 นับว่าสูงมาก โดยสาเหตุของความรุนแรง 1 ใน 3 สาเหตุเกิดจากการใช้สารเสพติด สื่อลามก ซึ่งก่อให้เกิดอาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ข้อเสนอแนะในรายงานจากสถานการณ์ดังกล่าวของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ตั้งข้อสังเกตและให้ข้อเสนอแนะว่า ในการดำเนินงานและบังคับใช้กฎหมาย ยังมีปัญหาอุปสรรคทั้งในเรื่องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือในตัวเมือง เช่น ตำรวจที่ดูแลและทำคดีเกี่ยวกับเด็กและสตรี ตลอดจนเจตคติของเจ้าหน้าที่ทำให้ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคดีที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ขาดการออกกฎกระทรวง การตั้งพนักงานในการรับแจ้งเหตุและระงับปัญหา ทำให้การปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ ในส่วนบริการช่วยเหลือ ขาดระบบเครือข่ายหรือการส่งต่อที่เป็นรูปแบบส่งผลให้การดำเนินการแก้ปัญหาไม่ครบวงจรขึ้นอยู่กับลักษณะและความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน ขาดการบูรณาการและความชัดเจนระหว่างนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความไม่เพียงพอและขาดทักษะของเจ้าหน้าที่ในการคลี่คลายหรือฟื้นฟูเบื้องต้น รวมทั้งขาดการติดตามประเมินผลการให้ความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบันทึกข้อมูลที่จัดทำไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทำให้ขาดข้อมูลความรุนแรงเด็ก สตรี และครอบครัวในภาพรวม ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กและสตรี ที่เกิดเป็นคำถามว่า การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษในกฎหมาย เกี่ยวกับคดีกระทำการรุนแรงต่อเด็ก มีความเด็ดขาดและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด รวมทั้งจะทำอย่างไรให้กระบวนการยุติธรรมในกรณีดังกล่าว เป็นไปอย่างเข้าถึงง่าย รวดเร็วและถูกต้องเป็นธรรม
วันนี้ เราจึงตั้งคำถามต่อการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษในกฎหมาย เกี่ยวกับคดีกระทำการรุนแรงต่อเด็ก โดยเฉพาะความรุนแรงทางเพศ ว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะปฏิรูปและกระทำกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายให้วิวัฒน์ต่อความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมโลกและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือจะรอให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำไปมาโดยมิได้มีแผนรองรับความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดจากน้ำมือของอมนุษย์ที่กระทำต่อเด็กอย่างไร้จิตใจของความเป็นมนุษย์ เพราะวันนี้ เรามีข้อมูลและข้อจำกัดจากการดำเนินการทางกฎหมายในกรณีดังกล่าวมากมายและมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไข และดำเนินการต่อไป