3 กองทุนจับมือเสนอ คสช. ออกกฎหมายรองรับนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน รักษาฟรี ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น หลังพบทำไม่ได้จริง เจอโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในการประชุมคณะกรรมการประสานความร่วมมือระหว่าง 3 กองทุน คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง เรื่องข้อเสนอด้านการจัดการระบบบริการสาธารณสุข ว่า จากการดำเนินงานบูรณาการ 3 กองทุนที่ผ่านมาพบว่ายังคงมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องสิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุน มีประชาชนถูกเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาล และปัญหาการหาหน่วยบริการภายหลังพ้นภาวะวิกฤต โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์และกลั่นกรอง โดยเตรียมที่จะเสนอการบริหารจัดการเชิงนโยบาย ด้วยการออกเป็นกฎหมายระเบียบปฏิบัติ ซึ่งทั้ง 3 กองทุนจะหารือร่วมกันและเสนอต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายในวันที่ 15 ก.ค.
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า การออกระเบียบดังกล่าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในทางปฏิบัติ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่เพื่อดูแลเรื่องนี้ เพราะเป็นแนวทางที่เน้นปกป้องดูแลให้ประชาชนได้ประโยชน์ ซึ่งการออกกฎหมายอาจออกภายใต้ พ.ร.บ.สถานพยาบาล หรือ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งฝ่ายกฎหมายจะหารือกันในรายละเอียดอย่างชัดเจนต่อไป ทั้งเรื่องระดับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน กลไกและเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินของ สปสช. ในฐานะที่เป็นเคลียริงเฮาส์
“การแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้โรงพยาบาลที่ให้บริการเกิดภาระ เพียงแต่การเจ็บป่วยฉุกเฉินต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้รับการรักษาพยาบาล เนื่องจากที่ผ่านมาข้อปฏิบัติอาจยังมีปัญหาและเกิดความไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน พบว่ามีความพอใจในนโยบายดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่ต้องปรับและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการ 3 กองทุนอีก เช่น การย้ายสิทธิระหว่าง 3 กองทุน ดังนั้น ต้องทำให้ทุกกองทุนได้รับสิทธิในการรักษาเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการ ทั้งโรคไต เอดส์ ฮีโมฟีเลีย การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและเหมาะสม รวมทั้งการเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการทำงาน
อนึ่ง ในเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการประสานความร่วมมือ 3 กองทุน เรื่อง ระบบบริการฉุกเฉินร่วม 3 กองทุน ระบุว่าในเรื่องนี้มีความท้าทายในการดำเนินงาน ได้แก่ 1. มีคนไข้ไม่ฉุกเฉินวิกฤตเข้ารับบริการ 55% มีการร้องเรียน 700 - 800 รายต่อปี 2. มีการเรียกเก็บเงินจากคนไข้ 95% 3. ไม่สามารถหาเตียงเข้าโรงพยาบาลในระบบได้ 18% 4. โรงพยาบาลไม่พึงพอใจต่อการเรียกเก็บที่ได้รับ และ 5. กองทุนอื่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือรัฐวิสาหกิจ ยังไม่จ่ายเงินคืน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในการประชุมคณะกรรมการประสานความร่วมมือระหว่าง 3 กองทุน คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง เรื่องข้อเสนอด้านการจัดการระบบบริการสาธารณสุข ว่า จากการดำเนินงานบูรณาการ 3 กองทุนที่ผ่านมาพบว่ายังคงมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องสิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุน มีประชาชนถูกเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาล และปัญหาการหาหน่วยบริการภายหลังพ้นภาวะวิกฤต โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์และกลั่นกรอง โดยเตรียมที่จะเสนอการบริหารจัดการเชิงนโยบาย ด้วยการออกเป็นกฎหมายระเบียบปฏิบัติ ซึ่งทั้ง 3 กองทุนจะหารือร่วมกันและเสนอต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายในวันที่ 15 ก.ค.
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า การออกระเบียบดังกล่าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในทางปฏิบัติ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่เพื่อดูแลเรื่องนี้ เพราะเป็นแนวทางที่เน้นปกป้องดูแลให้ประชาชนได้ประโยชน์ ซึ่งการออกกฎหมายอาจออกภายใต้ พ.ร.บ.สถานพยาบาล หรือ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งฝ่ายกฎหมายจะหารือกันในรายละเอียดอย่างชัดเจนต่อไป ทั้งเรื่องระดับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน กลไกและเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินของ สปสช. ในฐานะที่เป็นเคลียริงเฮาส์
“การแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้โรงพยาบาลที่ให้บริการเกิดภาระ เพียงแต่การเจ็บป่วยฉุกเฉินต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้รับการรักษาพยาบาล เนื่องจากที่ผ่านมาข้อปฏิบัติอาจยังมีปัญหาและเกิดความไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน พบว่ามีความพอใจในนโยบายดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่ต้องปรับและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการ 3 กองทุนอีก เช่น การย้ายสิทธิระหว่าง 3 กองทุน ดังนั้น ต้องทำให้ทุกกองทุนได้รับสิทธิในการรักษาเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการ ทั้งโรคไต เอดส์ ฮีโมฟีเลีย การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและเหมาะสม รวมทั้งการเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการทำงาน
อนึ่ง ในเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการประสานความร่วมมือ 3 กองทุน เรื่อง ระบบบริการฉุกเฉินร่วม 3 กองทุน ระบุว่าในเรื่องนี้มีความท้าทายในการดำเนินงาน ได้แก่ 1. มีคนไข้ไม่ฉุกเฉินวิกฤตเข้ารับบริการ 55% มีการร้องเรียน 700 - 800 รายต่อปี 2. มีการเรียกเก็บเงินจากคนไข้ 95% 3. ไม่สามารถหาเตียงเข้าโรงพยาบาลในระบบได้ 18% 4. โรงพยาบาลไม่พึงพอใจต่อการเรียกเก็บที่ได้รับ และ 5. กองทุนอื่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือรัฐวิสาหกิจ ยังไม่จ่ายเงินคืน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่