สธ. เตรียมศึกษาความรู้สึก ปชช. หลังปิดสื่อเฉพาะบางสื่อ จ่อนำข้อมูลใช้ปฏิรูปสื่อระยะยาว เผยส่งทีมสุขภาพจิต 853 ทีม เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเหตุการเมือง เน้นรับฟังกันมากขึ้น
วันนี้ (20 มิ.ย.) ที่โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ต นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมการพัฒนาบุคคลเพื่อการช่วยเหลือด้านจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ภายใต้โครงการรวมใจปรองดองสมานฉันท์ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพจิตและสาธารณสุขในการปฏิบัติงาน โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทั่วประเทศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สถาบันและศูนย์สุขภาพจิตในสังกัดกรมสุขภาพจิตเข้าร่วมกว่า 300 คน ว่า ช่วงเวลา 9 เดือนของวิกฤตการเมือง ตั้งแต่ พ.ย. 2556 - พ.ค. 2557 เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงจนเกิดเหตุ 106 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 862 คน แบ่งเป็นผู้บาดเจ็บ 834 คน ยังนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล 5 คน และเสียชีวิต 28 คน ซึ่งจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดความเห็นที่แตกต่างกันนั้น ยังไม่มีใครวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากเหตุอะไร แต่สมมติฐานว่ามาจากคน 2 กลุ่มมีความคิดที่แตกต่างกัน โดยเกิดจากการชักนำ ชี้นำ และเหนี่ยวนำจากบุคคลที่ต้องการประโยชน์จากคนทั้ง 2 กลุ่ม จนเกิดเป็นฟาก A และ B ที่ไม่สามารถสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยปกติได้
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เมื่อมีสื่อทีวีเฉพาะเกิดขึ้น ยิ่งทำให้เกิดความเห็นต่างมากขึ้น แต่เมื่อมีการปิดสื่อบางช่องในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ก็น่าสนใจว่าประชาชนมีความรู้สึกอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่าการดูสื่อเฉพาะบางช่องก็สามารถชักนำเราได้ ขณะนี้จึงมอบให้ สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตไปทำการศึกษาว่า หลังจากปิดสื่อเฉพาะบางสื่อชั่วคราว ประชาชนมีความรู้สึกอย่างไร บรรยากาศเป็นอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้มีความรู้สึกที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังอยู่เต็มไปหมด ซึ่งผลการศึกษานี้จะนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปสื่อระยะยาวได้ โดยให้มีการรายงานความคืบหน้าทุกสัปดาห์
“ส่วนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองนั้น จะต้องพิจารณาเป็นส่วนๆ สธ. ได้ตั้งทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตในระดับอำเภอ (MCATT) จำนวน 853 ทีมทั่วประเทศกระจายช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ผู้พิการ ผู้สูญเสีย ญาติ และผู้ถูกคุมขัง 2. กลุ่มผู้อยู่ในสถานการณ์ เช่น ผู้ชุมนุม รวมถึงกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และ 3. กลุ่มประชาชนทั่วไป โดยจะให้การดูแล เยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยหลักการทำงานจะเน้นการรับฟังความคิดเห็น มีนักจิตวิทยาทำหน้าที่นี้ ซึ่งทำได้ดีกว่าฝ่ายปกครอง ถ้ารับฟังมากขึ้นก็จะก้าวไปสู่การให้อภัย ความไว้ใจ เชื่อใจยอมรับซึ่งกันและกัน จนก้าวไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความหวัง สร้างครอบครัว สร้างชุมชน สังคม ประเทศร่วมกัน" รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวด้วยว่า การทำงานลักษณะนี้ สธ. เคยดำเนินการมาแล้วในเหตุการณ์วิกฤตการเมืองปี 2553 พบว่า ขณะนั้นเกิดโรคเครียดหลังได้รับผลกระทบที่รุนแรง หรือ พีทีเอชดี (PTHD) ไม่หายขาดอยู่ เรียกว่าเป็นกลุ่มที่ยังมีความกลัวหลงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 10 จากผู้รับผลกระทบทั้งหมด 3,000 คน หรือประมาณ 300 คน ซึ่งมีอาการฝันร้ายแทบทุกวัน ใจสั่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว ซึ่งต้องติดตามรักษาจนทุกวันนี้ ขณะที่เหตุการณ์ล่าสุดมีผู้ได้รับผลกระทบ บาดเจ็บทั้งกายและจิตใจจำนวน 834 คน พบว่า มีประมาณ 100 คนที่มีความเสี่ยงรุนแรงหรือเข้าภาวะพีทีเอชดี ซึ่งขณะนี้ได้ส่งทีม MCATT ลงไปเยียวยาร่วมกับศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปในแต่ละพื้นที่แล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 มิ.ย.) ที่โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ต นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมการพัฒนาบุคคลเพื่อการช่วยเหลือด้านจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ภายใต้โครงการรวมใจปรองดองสมานฉันท์ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพจิตและสาธารณสุขในการปฏิบัติงาน โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทั่วประเทศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สถาบันและศูนย์สุขภาพจิตในสังกัดกรมสุขภาพจิตเข้าร่วมกว่า 300 คน ว่า ช่วงเวลา 9 เดือนของวิกฤตการเมือง ตั้งแต่ พ.ย. 2556 - พ.ค. 2557 เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงจนเกิดเหตุ 106 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 862 คน แบ่งเป็นผู้บาดเจ็บ 834 คน ยังนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล 5 คน และเสียชีวิต 28 คน ซึ่งจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดความเห็นที่แตกต่างกันนั้น ยังไม่มีใครวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากเหตุอะไร แต่สมมติฐานว่ามาจากคน 2 กลุ่มมีความคิดที่แตกต่างกัน โดยเกิดจากการชักนำ ชี้นำ และเหนี่ยวนำจากบุคคลที่ต้องการประโยชน์จากคนทั้ง 2 กลุ่ม จนเกิดเป็นฟาก A และ B ที่ไม่สามารถสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยปกติได้
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เมื่อมีสื่อทีวีเฉพาะเกิดขึ้น ยิ่งทำให้เกิดความเห็นต่างมากขึ้น แต่เมื่อมีการปิดสื่อบางช่องในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ก็น่าสนใจว่าประชาชนมีความรู้สึกอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่าการดูสื่อเฉพาะบางช่องก็สามารถชักนำเราได้ ขณะนี้จึงมอบให้ สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตไปทำการศึกษาว่า หลังจากปิดสื่อเฉพาะบางสื่อชั่วคราว ประชาชนมีความรู้สึกอย่างไร บรรยากาศเป็นอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้มีความรู้สึกที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังอยู่เต็มไปหมด ซึ่งผลการศึกษานี้จะนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปสื่อระยะยาวได้ โดยให้มีการรายงานความคืบหน้าทุกสัปดาห์
“ส่วนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองนั้น จะต้องพิจารณาเป็นส่วนๆ สธ. ได้ตั้งทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตในระดับอำเภอ (MCATT) จำนวน 853 ทีมทั่วประเทศกระจายช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ผู้พิการ ผู้สูญเสีย ญาติ และผู้ถูกคุมขัง 2. กลุ่มผู้อยู่ในสถานการณ์ เช่น ผู้ชุมนุม รวมถึงกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และ 3. กลุ่มประชาชนทั่วไป โดยจะให้การดูแล เยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยหลักการทำงานจะเน้นการรับฟังความคิดเห็น มีนักจิตวิทยาทำหน้าที่นี้ ซึ่งทำได้ดีกว่าฝ่ายปกครอง ถ้ารับฟังมากขึ้นก็จะก้าวไปสู่การให้อภัย ความไว้ใจ เชื่อใจยอมรับซึ่งกันและกัน จนก้าวไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความหวัง สร้างครอบครัว สร้างชุมชน สังคม ประเทศร่วมกัน" รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวด้วยว่า การทำงานลักษณะนี้ สธ. เคยดำเนินการมาแล้วในเหตุการณ์วิกฤตการเมืองปี 2553 พบว่า ขณะนั้นเกิดโรคเครียดหลังได้รับผลกระทบที่รุนแรง หรือ พีทีเอชดี (PTHD) ไม่หายขาดอยู่ เรียกว่าเป็นกลุ่มที่ยังมีความกลัวหลงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 10 จากผู้รับผลกระทบทั้งหมด 3,000 คน หรือประมาณ 300 คน ซึ่งมีอาการฝันร้ายแทบทุกวัน ใจสั่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว ซึ่งต้องติดตามรักษาจนทุกวันนี้ ขณะที่เหตุการณ์ล่าสุดมีผู้ได้รับผลกระทบ บาดเจ็บทั้งกายและจิตใจจำนวน 834 คน พบว่า มีประมาณ 100 คนที่มีความเสี่ยงรุนแรงหรือเข้าภาวะพีทีเอชดี ซึ่งขณะนี้ได้ส่งทีม MCATT ลงไปเยียวยาร่วมกับศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปในแต่ละพื้นที่แล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่