ประชาธิปไตยคือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
มิใช่ประชาชนเป็นใหญ่
กระแส “ชู 3 นิ้ว” ต่อต้านกองทัพที่มาทำการควบคุมอำนาจการปกครองจากรัฐบาลในระบอบทักษิณดูไปแล้วก็ขาดซึ่งพลังอันเนื่องมาจากการขาดความชอบธรรมเป็นพื้นฐานในการเคลื่อนไหว กลายเป็นเพียงยุงรำคาญ
แต่วิธีการแก้ไขควบคุมกระแสต่อต้านดังกล่าวคล้ายดั่ง การขี่ช้างจับตั๊กแตน ทำได้ก็จริงอยู่แต่ก็ด้วยต้นทุนมหาศาล ม็อบต่อต้านฯ ในเชิงสัญลักษณ์ที่ใช้คนเพียงไม่เกินร้อยแต่กลับสามารถดึงดูดทั้งทหารที่มาควบคุมและสื่อฯ มาทำข่าวได้เป็นจำนวนมากกว่าหลายเท่านักสะท้อนให้เห็นบางอย่างที่ คสช.ควรพิจารณารับฟัง
ประเด็นแรกก็คือ กระแส “ชู 3 นิ้ว” ต่อต้านฯ นั้นเกิดขึ้นมาก็เพราะมีสื่อฯ ช่วยมาประโคมข่าว หากไม่เป็นข่าวหรือเป็นข่าวแต่ คสช.สามารถควบคุมให้ข่าวเป็นไปในทางที่ถูกต้องได้ กระแสต่อต้านก็ไปต่อไม่ได้เพราะโดยพื้นฐานขาดซึ่งความชอบธรรมอยู่แล้ว
การดำเนินการแก้ไขในเรื่องนี้ของ คสช.ที่ผ่านมาเป็นไปอย่างเหวี่ยงแหไม่ตรงจุดเนื่องจากมองให้เป็นปัญหาเรื่อง “สี” หรือความแตกแยกระหว่างคน 2 กลุ่มที่มีความเชื่อแตกต่างจนแม้แต่ คสช.ก็เชื่อว่ายากที่จะอยู่ร่วมกันได้ไปเสีย
ในความเป็นจริง หากถอดเสื้อไม่ว่าจะสีใดที่สวมใส่ออก ก็ยังมีสีผิวที่อาจแตกต่างกัน แม้สีผิวจะดำหรือขาวแต่ภายใต้ผิวหนังก็มีเลือดและเนื้อสีเดียวกันไม่มีอะไรแตกต่างกัน สิ่งที่ทำให้แตกต่างกันก็คือความเชื่อที่เกิดมาจากการรับรู้ข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันต่างหากที่ทำให้คนมีแนวคิดไม่เหมือนกัน
ไม่ใช่สิ่งที่มีมาแต่กำเนิดแต่เกิดมาจากคนทำนั่นเอง
“การเร่งรัดจ่ายเงินจำนำข้าวให้แก่ชาวนา โดย คสช.อาจมิได้หมายความว่า รัฐบาลเพื่อไทยปฏิบัติงานในเรื่องนี้อย่างล้มเหลวเท่านั้น . . . แต่ยังหมายความว่า ตัวนโยบายจำนำข้าวไม่ได้มีความผิดพลาดไปเสียทั้งหมด และเมื่อไม่ได้แย่ไปเสียทุกส่วน จึงมีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อจนสำเร็จเสร็จสิ้น” ปราปต์ บุนปาน คอลัมม์ สถานีคิดเลขที่ 12 มติชนรายวัน 2 มิ.ย. 57
นี่คือตัวอย่างของคนทำให้เกิดในความเชื่อ ทั้งๆ ที่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นแต่อย่างใด นอกจากความเชื่อโดยส่วนตัวแล้ว โครงการจำนำข้าวนี้มีข้อเท็จจริงที่เป็นข้อดีตรงที่ใด? ปราปต์ บุนปานช่วยบอกที
การบิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ที่เผยแพร่มาจากสื่อฯ ต่างหากที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนเกิดขึ้น การระงับปิดสื่อฯ อย่างไร้ซึ่งหลักเกณฑ์มิให้สื่อสารข้อเท็จจริงกับมวลชนได้นอกจากจะไม่ได้เป็นการช่วย คสช.แล้วยังไม่ใช่การแก้ไขที่ถูกต้อง แต่การปิดสื่อที่บิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่โกหกกับมวลชนต่างหากที่ช่วยได้ อย่าทำแบบกลับหัวกลับหางในลักษณะของ Adverse Selection
คสช.จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องแยกแยะให้ถูกต้องระหว่างสื่อที่ไม่โกหกไม่บิดเบือน เช่น CNN BBC NHK ASTV T-News หรือ Blue Sky ที่ถูกปิดกั้นอยู่ในขณะนี้กับสื่อฯ ที่บิดเบือนโกหกอย่างโจ่งแจ้งหลายกรรมหลายวาระมาโดยตลอด เช่น มติโจร ข่าวสลด เอเซียอาบแดด โว้ยทีวี หรือ ช่องน้อยสี ว่าอันใดสมควรปิดกั้นเหมือนเช่นเว็บประชาไทยหรือไม่เพื่อมิให้สื่อสารกับมวลชนด้วยความเท็จหรือบิดเบือนเพื่อประโยชน์แอบแฝง
อย่าลืมว่าความแตกแยกทางความคิดความเชื่อมาจากคนกระทำ มิได้ติดตัวมีมาแต่กำเนิด
ประเด็นที่สองที่ติดตามมาจากประเด็นแรกก็คือ การปรองดองไม่สามารถสร้างขึ้นได้จากการออกกฎหมายเพราะการปรองดองไม่ได้หมายถึงการสลาย “สี” เสื้อแต่เพียงลำพัง ใต้เสื้อก็ยังมี “สี” ผิว มีความเชื่อที่อาจแตกต่างกัน แต่ต้องทำให้คนที่ใส่เสื้อ “สี” ต่างกันอยู่ร่วมกันได้ต่างหาก
มีตัวอย่างอยู่มากมายในโลกนี้เกี่ยวการปรองดอง กรณีสัญญาสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลที่สหรัฐฯ เป็นเจ้ากี้เจ้าการจัด ผู้ที่มาเจรจาลงนามได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไป แต่สันติภาพและการปรองดองก็ไม่เกิด ต่างกับการปรองดองในประเทศแอฟริกาใต้ที่สำเร็จได้ อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปรองดอง?
ความจริงและความรับผิดชอบ จึงเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จในการปรองดองเพราะไม่เลือก “สี” ไม่เลือกข้างและทำให้คู่ขัดแย้งอยู่ร่วมกันได้
หากไม่ตีแผ่เผยแพร่ความจริง ความเชื่อหรือแนวคิดที่ต่างก็ยังคงมีอยู่ ความจริงก็คือความจริง มันมีอยู่ชุดเดียวและเป็นเหมือนแผ่นเสียงตกร่องเพราะมันพูดได้อย่างเดียวซ้ำๆ กัน
ความขัดแย้งที่ปรากฏมานานนับ 10 ปีเกิดจากคนในระบอบทักษิณทำให้มันเกิดจากแนวคิด ไพร่-อำมาตย์ หรือ เสื้อเหลือง-เสื้อแดง ซึ่งทั้งหมดมิได้มีอยู่โดยธรรมชาติในสังคมหรือในหัวคนไทยแต่อย่างใด หากแต่ถูกสร้างให้เป็นวาทกรรมเพื่อแบ่งแยกทางความคิดขึ้นมาทั้งสิ้นเพื่อหวังอาศัยสร้างเป็นฐานมวลชนเพื่อประโยชน์กับตน
ความขัดแย้งดังกล่าวจึงเป็น ความขัดแย้งระหว่างคนชั่วส่วนน้อยบางคนกับคนดีที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทย มิใช่การขัดแย้งระหว่างชนชั้น อันเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเหมือนในหลายๆ ประเทศแต่อย่างใดไม่
หาก คสช.ยังเข้าใจเป็นอื่น ไม่มีการสร้างระบบความรับผิดชอบกับความจริงที่หลายคนได้กระทำไว้ การปรองดองที่หวังจะสำเร็จไปได้อย่างไร
ระบบความรับผิดชอบไม่สามารถทำขึ้นมาได้ด้วยกฎหมาย ไม่สงสัยบ้างหรือว่าทำไมรัฐบาลบ้านเมืองอื่นเขาลาออกง่ายหรือว่าศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นๆ ในประเทศไทยต้องทำงานหนักกว่าเพราะอะไร มิใช่นักการเมืองในระบอบทักษิณไม่มีระบบความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนได้กระทำไปใช่หรือไม่ ต้องมีคำตัดสินของศาลจึงจะยอมหรือบางครั้งแม้มีก็ยังไม่ยอมรับเสียอีก จริยธรรมและคุณธรรมจึงมีความสำคัญ
การปรองดองจึงต้องกระทำบนการเผยแพร่ความจริงและแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำที่ได้ทำไป ไม่มีทางลัด ไม่มีการตัดกรรม บุญ(กรรมดี)อยู่ส่วนบุญ บาป(กรรมชั่ว)อยู่ส่วนบาป เอามาหักลบกลบหนี้เหมือนทำบัญชีไม่ได้ จะมีอีกกี่ศูนย์ปรองดองก็จะเป็นสูญไปในที่สุด
มิใช่ประชาชนเป็นใหญ่
กระแส “ชู 3 นิ้ว” ต่อต้านกองทัพที่มาทำการควบคุมอำนาจการปกครองจากรัฐบาลในระบอบทักษิณดูไปแล้วก็ขาดซึ่งพลังอันเนื่องมาจากการขาดความชอบธรรมเป็นพื้นฐานในการเคลื่อนไหว กลายเป็นเพียงยุงรำคาญ
แต่วิธีการแก้ไขควบคุมกระแสต่อต้านดังกล่าวคล้ายดั่ง การขี่ช้างจับตั๊กแตน ทำได้ก็จริงอยู่แต่ก็ด้วยต้นทุนมหาศาล ม็อบต่อต้านฯ ในเชิงสัญลักษณ์ที่ใช้คนเพียงไม่เกินร้อยแต่กลับสามารถดึงดูดทั้งทหารที่มาควบคุมและสื่อฯ มาทำข่าวได้เป็นจำนวนมากกว่าหลายเท่านักสะท้อนให้เห็นบางอย่างที่ คสช.ควรพิจารณารับฟัง
ประเด็นแรกก็คือ กระแส “ชู 3 นิ้ว” ต่อต้านฯ นั้นเกิดขึ้นมาก็เพราะมีสื่อฯ ช่วยมาประโคมข่าว หากไม่เป็นข่าวหรือเป็นข่าวแต่ คสช.สามารถควบคุมให้ข่าวเป็นไปในทางที่ถูกต้องได้ กระแสต่อต้านก็ไปต่อไม่ได้เพราะโดยพื้นฐานขาดซึ่งความชอบธรรมอยู่แล้ว
การดำเนินการแก้ไขในเรื่องนี้ของ คสช.ที่ผ่านมาเป็นไปอย่างเหวี่ยงแหไม่ตรงจุดเนื่องจากมองให้เป็นปัญหาเรื่อง “สี” หรือความแตกแยกระหว่างคน 2 กลุ่มที่มีความเชื่อแตกต่างจนแม้แต่ คสช.ก็เชื่อว่ายากที่จะอยู่ร่วมกันได้ไปเสีย
ในความเป็นจริง หากถอดเสื้อไม่ว่าจะสีใดที่สวมใส่ออก ก็ยังมีสีผิวที่อาจแตกต่างกัน แม้สีผิวจะดำหรือขาวแต่ภายใต้ผิวหนังก็มีเลือดและเนื้อสีเดียวกันไม่มีอะไรแตกต่างกัน สิ่งที่ทำให้แตกต่างกันก็คือความเชื่อที่เกิดมาจากการรับรู้ข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันต่างหากที่ทำให้คนมีแนวคิดไม่เหมือนกัน
ไม่ใช่สิ่งที่มีมาแต่กำเนิดแต่เกิดมาจากคนทำนั่นเอง
“การเร่งรัดจ่ายเงินจำนำข้าวให้แก่ชาวนา โดย คสช.อาจมิได้หมายความว่า รัฐบาลเพื่อไทยปฏิบัติงานในเรื่องนี้อย่างล้มเหลวเท่านั้น . . . แต่ยังหมายความว่า ตัวนโยบายจำนำข้าวไม่ได้มีความผิดพลาดไปเสียทั้งหมด และเมื่อไม่ได้แย่ไปเสียทุกส่วน จึงมีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อจนสำเร็จเสร็จสิ้น” ปราปต์ บุนปาน คอลัมม์ สถานีคิดเลขที่ 12 มติชนรายวัน 2 มิ.ย. 57
นี่คือตัวอย่างของคนทำให้เกิดในความเชื่อ ทั้งๆ ที่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นแต่อย่างใด นอกจากความเชื่อโดยส่วนตัวแล้ว โครงการจำนำข้าวนี้มีข้อเท็จจริงที่เป็นข้อดีตรงที่ใด? ปราปต์ บุนปานช่วยบอกที
การบิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ที่เผยแพร่มาจากสื่อฯ ต่างหากที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนเกิดขึ้น การระงับปิดสื่อฯ อย่างไร้ซึ่งหลักเกณฑ์มิให้สื่อสารข้อเท็จจริงกับมวลชนได้นอกจากจะไม่ได้เป็นการช่วย คสช.แล้วยังไม่ใช่การแก้ไขที่ถูกต้อง แต่การปิดสื่อที่บิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่โกหกกับมวลชนต่างหากที่ช่วยได้ อย่าทำแบบกลับหัวกลับหางในลักษณะของ Adverse Selection
คสช.จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องแยกแยะให้ถูกต้องระหว่างสื่อที่ไม่โกหกไม่บิดเบือน เช่น CNN BBC NHK ASTV T-News หรือ Blue Sky ที่ถูกปิดกั้นอยู่ในขณะนี้กับสื่อฯ ที่บิดเบือนโกหกอย่างโจ่งแจ้งหลายกรรมหลายวาระมาโดยตลอด เช่น มติโจร ข่าวสลด เอเซียอาบแดด โว้ยทีวี หรือ ช่องน้อยสี ว่าอันใดสมควรปิดกั้นเหมือนเช่นเว็บประชาไทยหรือไม่เพื่อมิให้สื่อสารกับมวลชนด้วยความเท็จหรือบิดเบือนเพื่อประโยชน์แอบแฝง
อย่าลืมว่าความแตกแยกทางความคิดความเชื่อมาจากคนกระทำ มิได้ติดตัวมีมาแต่กำเนิด
ประเด็นที่สองที่ติดตามมาจากประเด็นแรกก็คือ การปรองดองไม่สามารถสร้างขึ้นได้จากการออกกฎหมายเพราะการปรองดองไม่ได้หมายถึงการสลาย “สี” เสื้อแต่เพียงลำพัง ใต้เสื้อก็ยังมี “สี” ผิว มีความเชื่อที่อาจแตกต่างกัน แต่ต้องทำให้คนที่ใส่เสื้อ “สี” ต่างกันอยู่ร่วมกันได้ต่างหาก
มีตัวอย่างอยู่มากมายในโลกนี้เกี่ยวการปรองดอง กรณีสัญญาสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลที่สหรัฐฯ เป็นเจ้ากี้เจ้าการจัด ผู้ที่มาเจรจาลงนามได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไป แต่สันติภาพและการปรองดองก็ไม่เกิด ต่างกับการปรองดองในประเทศแอฟริกาใต้ที่สำเร็จได้ อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปรองดอง?
ความจริงและความรับผิดชอบ จึงเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จในการปรองดองเพราะไม่เลือก “สี” ไม่เลือกข้างและทำให้คู่ขัดแย้งอยู่ร่วมกันได้
หากไม่ตีแผ่เผยแพร่ความจริง ความเชื่อหรือแนวคิดที่ต่างก็ยังคงมีอยู่ ความจริงก็คือความจริง มันมีอยู่ชุดเดียวและเป็นเหมือนแผ่นเสียงตกร่องเพราะมันพูดได้อย่างเดียวซ้ำๆ กัน
ความขัดแย้งที่ปรากฏมานานนับ 10 ปีเกิดจากคนในระบอบทักษิณทำให้มันเกิดจากแนวคิด ไพร่-อำมาตย์ หรือ เสื้อเหลือง-เสื้อแดง ซึ่งทั้งหมดมิได้มีอยู่โดยธรรมชาติในสังคมหรือในหัวคนไทยแต่อย่างใด หากแต่ถูกสร้างให้เป็นวาทกรรมเพื่อแบ่งแยกทางความคิดขึ้นมาทั้งสิ้นเพื่อหวังอาศัยสร้างเป็นฐานมวลชนเพื่อประโยชน์กับตน
ความขัดแย้งดังกล่าวจึงเป็น ความขัดแย้งระหว่างคนชั่วส่วนน้อยบางคนกับคนดีที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทย มิใช่การขัดแย้งระหว่างชนชั้น อันเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเหมือนในหลายๆ ประเทศแต่อย่างใดไม่
หาก คสช.ยังเข้าใจเป็นอื่น ไม่มีการสร้างระบบความรับผิดชอบกับความจริงที่หลายคนได้กระทำไว้ การปรองดองที่หวังจะสำเร็จไปได้อย่างไร
ระบบความรับผิดชอบไม่สามารถทำขึ้นมาได้ด้วยกฎหมาย ไม่สงสัยบ้างหรือว่าทำไมรัฐบาลบ้านเมืองอื่นเขาลาออกง่ายหรือว่าศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นๆ ในประเทศไทยต้องทำงานหนักกว่าเพราะอะไร มิใช่นักการเมืองในระบอบทักษิณไม่มีระบบความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนได้กระทำไปใช่หรือไม่ ต้องมีคำตัดสินของศาลจึงจะยอมหรือบางครั้งแม้มีก็ยังไม่ยอมรับเสียอีก จริยธรรมและคุณธรรมจึงมีความสำคัญ
การปรองดองจึงต้องกระทำบนการเผยแพร่ความจริงและแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำที่ได้ทำไป ไม่มีทางลัด ไม่มีการตัดกรรม บุญ(กรรมดี)อยู่ส่วนบุญ บาป(กรรมชั่ว)อยู่ส่วนบาป เอามาหักลบกลบหนี้เหมือนทำบัญชีไม่ได้ จะมีอีกกี่ศูนย์ปรองดองก็จะเป็นสูญไปในที่สุด