ผู้ป่วยร้องเรียนแพทย์เพียบ พบ 20 ปี พุ่ง 4.4 พันราย เกินครึ่งเป็นเรื่องรักษาไม่ได้มาตรฐาน ส่วนรักษาจนผู้ป่วยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายหลังแอ่น ผิดกรณีรักษาไม่คำนึงทรัพย์สินผู้ป่วย 247 ราย แต่เอาผิดแพทย์จริงพักใบอนุญาตแค่ 14 ราย แพทยสภาชี้มาจากการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่ผู้ป่วยไม่ทราบค่าใช้จ่าย รับบ้างแพทย์รักษาเกินจำเป็น
วันนี้ (16 มิ.ย.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ร้องเรียนเรื่องค่าใช้จ่ายสูงในการรับบริการสถานพยาบาลเอกชน ซึ่งอาจมาจากการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องใช้ แต่บ้างก็ใช้เกินความจำเป็น ปัญหาคือผู้ป่วยหลายคนไม่ทราบเรื่องค่าใช้จ่าย ประกอบกับไม่มีการหารือกับแพทย์ผู้รักษาถึงวิธีการรักษา ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อขั้นตอนการรักษาเสร็จสิ้นก็ต้องตกใจกับค่ารักษาที่สูง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม บางรายมีเงินก็สามารถจ่ายได้ แต่บางรายไม่มีก็ต้องรับสภาพการเป็นหนี้ และมีการฟ้องร้องต่อไป ยกตัวอย่าง โรคไส้ติ่ง สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้ด้วยการคลำท้อง และหัตถการทั่วไป รวมไปถึงการตรวจเอ็กซเรย์ อัลตราซาวนด์ หรือบางรายอาจต้องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) ซึ่งค่าใช้จ่ายก็จะสูงตาม
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ มีผู้ป่วยร้องเรียนต่อแพทยสภา ว่า มีแพทย์รักษาพยาบาลจนทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากจนเกินเหตุ ถือเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น และบางกรณีรักษาโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย โดยพบว่า 20 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2536-2556 มีผู้ร้องเรียนรวม 247 ราย โดยระหว่างปี 2552-2556 มีเพียง 7 ราย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแม้จะไม่มาก แต่ก็เป็นสิทธิผู้ของผู้ป่วยที่จะร้องขอความเป็นธรรม โดยกรณีเรียกค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็น ถือว่าเข้าข่ายผิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ข้อที่ 23 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย ซึ่งจะมีโทษตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ไม่อนุญาตไม่เกิน 2 ปี และยึดใบอนุญาต ส่วนประเด็นเรียกค่าเสียหายจะอยู่ในขั้นตอนการฟ้องร้องต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 เกี่ยวกับการร้องเรียนมายังแพทยสภาตั้งแต่ปี 2536-2556 พบว่า มี 7 กรณีที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามาสูงสุดรวม 4,435 ราย แบ่งเป็น 1. กรณีไม่รักษามาตรฐาน 2,425 ราย มีการพิจารณาแล้วพบว่า ยกข้อกล่าวหา 291 ราย ตักเตือน 158 ราย ภาคทัณฑ์ 56 ราย พักใช้ใบอนุญาต 35 ราย เพิกถอนใบอนุญาต 6 ราย 2. การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาล อาทิ ตรวจวินิจฉัยโดยไม่ใช่แพทย์ ฯลฯ ร้องเรียนมา 772 ราย พิจารณาแล้วยกข้อกล่าวหา 62 ราย ตักเตือน 207 ราย ภาคทัณฑ์ 9 ราย พักใช้ใบอนุญาต 7 ราย 3. โฆษณาการประกอบวิชาชีพของตน 342 ราย พิจารณาแล้ว ยกข้อกล่าวหา 132 ราย ตักเตือน 82 ราย ภาคทัณฑ์ 3 ราย พักใช้ใบอนุญาต 3 ราย
4. ดำรงตนโดยไม่เคารพกฎหมาย 293 ราย พิจารณาแล้วยกข้อกล่าวหา 38 ราย ตักเตือน 55 ราย ภาคทัณฑ์ 30 ราย พักใช้ใบอนุญาต 23 ราย 5. ไม่คำนึงความความปลอดภัยและทำให้ผู้ป่วยสิ้นเปลือง 247 ราย ยกข้อกล่าวหา 50 ราย ตักเตือน 42 ราย ภาคทัณฑ์ 12 ราย พักใช้ใบอนุญาต 14 ราย 6. เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์วิชาชีพ 201 ราย พิจารณาแล้วยกข้อกล่าวหา 27 ราย ตักเตือน 30 ราย ภาคทัณฑ์ 19 ราย พักใช้ใบอนุญาต 17 ราย เพิกถอนใบปอนุญาต 2 ราย และ 7. ออกใบรับรองเท็จ 155 ราย พิจารณายกข้อกล่าวหา 16 ราย ตักเตือน 6 ราย ภาคทัณฑ์ 10 ราย พักใช้ใบอนุญาต 10 ราย โดยใน 7 ข้อมีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 9 ราย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 มิ.ย.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ร้องเรียนเรื่องค่าใช้จ่ายสูงในการรับบริการสถานพยาบาลเอกชน ซึ่งอาจมาจากการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องใช้ แต่บ้างก็ใช้เกินความจำเป็น ปัญหาคือผู้ป่วยหลายคนไม่ทราบเรื่องค่าใช้จ่าย ประกอบกับไม่มีการหารือกับแพทย์ผู้รักษาถึงวิธีการรักษา ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อขั้นตอนการรักษาเสร็จสิ้นก็ต้องตกใจกับค่ารักษาที่สูง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม บางรายมีเงินก็สามารถจ่ายได้ แต่บางรายไม่มีก็ต้องรับสภาพการเป็นหนี้ และมีการฟ้องร้องต่อไป ยกตัวอย่าง โรคไส้ติ่ง สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้ด้วยการคลำท้อง และหัตถการทั่วไป รวมไปถึงการตรวจเอ็กซเรย์ อัลตราซาวนด์ หรือบางรายอาจต้องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) ซึ่งค่าใช้จ่ายก็จะสูงตาม
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ มีผู้ป่วยร้องเรียนต่อแพทยสภา ว่า มีแพทย์รักษาพยาบาลจนทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากจนเกินเหตุ ถือเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น และบางกรณีรักษาโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย โดยพบว่า 20 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2536-2556 มีผู้ร้องเรียนรวม 247 ราย โดยระหว่างปี 2552-2556 มีเพียง 7 ราย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแม้จะไม่มาก แต่ก็เป็นสิทธิผู้ของผู้ป่วยที่จะร้องขอความเป็นธรรม โดยกรณีเรียกค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็น ถือว่าเข้าข่ายผิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ข้อที่ 23 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย ซึ่งจะมีโทษตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ไม่อนุญาตไม่เกิน 2 ปี และยึดใบอนุญาต ส่วนประเด็นเรียกค่าเสียหายจะอยู่ในขั้นตอนการฟ้องร้องต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 เกี่ยวกับการร้องเรียนมายังแพทยสภาตั้งแต่ปี 2536-2556 พบว่า มี 7 กรณีที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามาสูงสุดรวม 4,435 ราย แบ่งเป็น 1. กรณีไม่รักษามาตรฐาน 2,425 ราย มีการพิจารณาแล้วพบว่า ยกข้อกล่าวหา 291 ราย ตักเตือน 158 ราย ภาคทัณฑ์ 56 ราย พักใช้ใบอนุญาต 35 ราย เพิกถอนใบอนุญาต 6 ราย 2. การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาล อาทิ ตรวจวินิจฉัยโดยไม่ใช่แพทย์ ฯลฯ ร้องเรียนมา 772 ราย พิจารณาแล้วยกข้อกล่าวหา 62 ราย ตักเตือน 207 ราย ภาคทัณฑ์ 9 ราย พักใช้ใบอนุญาต 7 ราย 3. โฆษณาการประกอบวิชาชีพของตน 342 ราย พิจารณาแล้ว ยกข้อกล่าวหา 132 ราย ตักเตือน 82 ราย ภาคทัณฑ์ 3 ราย พักใช้ใบอนุญาต 3 ราย
4. ดำรงตนโดยไม่เคารพกฎหมาย 293 ราย พิจารณาแล้วยกข้อกล่าวหา 38 ราย ตักเตือน 55 ราย ภาคทัณฑ์ 30 ราย พักใช้ใบอนุญาต 23 ราย 5. ไม่คำนึงความความปลอดภัยและทำให้ผู้ป่วยสิ้นเปลือง 247 ราย ยกข้อกล่าวหา 50 ราย ตักเตือน 42 ราย ภาคทัณฑ์ 12 ราย พักใช้ใบอนุญาต 14 ราย 6. เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์วิชาชีพ 201 ราย พิจารณาแล้วยกข้อกล่าวหา 27 ราย ตักเตือน 30 ราย ภาคทัณฑ์ 19 ราย พักใช้ใบอนุญาต 17 ราย เพิกถอนใบปอนุญาต 2 ราย และ 7. ออกใบรับรองเท็จ 155 ราย พิจารณายกข้อกล่าวหา 16 ราย ตักเตือน 6 ราย ภาคทัณฑ์ 10 ราย พักใช้ใบอนุญาต 10 ราย โดยใน 7 ข้อมีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 9 ราย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่