ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น ที่ยกฟ้องกรณี น.พ.ชาลี กาญจนรักษ์ เจ้าของคลลินิกศัลยกรรมความงามชาลี จ.เชียงใหม่ ฟ้องแพทยสภา ขอให้ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนคำสั่งแพทยสภาที่พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของ น.พ.ชาลี เป็นเวลา 2 ปี จากกรณีผ่าตัดดูดไขมันบริเวณสะโพกและต้นขาสองข้าง จนทำให้ น.ส.ศิริภรณ์ มุ่ยมา หรือ น้องกุ้ง อายุ 17 ปี เสียชีวิต เหตุเกิดเมื่อปี 2545 โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า น.พ.ชาลี ผ่าตัดดูดไขมันให้กับ น.ส.ศิริภรณ์ โดยไม่ได้มาตรฐานที่ผู้ประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับน.พ.ชาลี จักต้องมี ที่ น.พ.ชาลี อ้างว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับ น.ส.ศิริภรณ์ แม้จะผ่าตัดในโรงพยาบาล และมีวิสัญญีแพทย์ น.ส.ศิริภรณ์ ก็ต้องเสียชีวิตเช่นเดียวกันนั้น เห็นว่าเมื่อมาตรฐานและความปลอดภัยของคนไข้ จะต้องจัดให้มีวิสัญญีแพทย์ หรือพยาบาลที่ผ่านการอบรมด้านวิสัญญี น.พ.ชาลี ก็ต้องจัดให้มีตามมาตรฐาน ส่วนเมื่อจัดให้มีวิสัญญีแพทย์ หรือพยาบาล ที่ผ่านการอบรมด้านวิสัญญีแล้ว จะช่วยชีวิตคนไข้ได้หรือไม่ ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง ข้อกล่าวอ้างของ น.พ.ชาลี จึงไม่อาจฟังได้
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ขณะที่ น.พ.ชาลี ผ่าตัดดูดไขมันให้ น.ส.ศิริภรณ์ นั้น น.ส.ศิริภรณ์ มีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์ และเป็นช่วงอายุที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างได้อีก แต่น.พ.ชาลี ก็ยังดูดไขมันให้โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ทั้งที่การผ่าตัดดูดไขมันดังกล่าว ไม่ใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำโดยไม่ได้ความเห็น หรือคำยินิยอมจากผู้ปกครอง อีกทั้ง น.พ.ชาลี ยังใช้ยาที่หมดอายุแล้ว
ส่วนที่น.พ.ชาลี อุทธรณ์ว่า ไม่ทราบว่ายาหมดอายุ หากทราบก็จะไม่ใช้นั้น แสดงว่า น.พ.ชาลีไม่ได้ระมัดระวังในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งบุคคลในฐานะเดียวกันกับน.พ.ชาลี จะต้องมี การกระทำดักงล่าวเห็นว่า น.พ.ชาลีไม่ได้คำนึงถึงความสิ้นเปลืองและปลอดภัยของคนไข้แต่อย่างใด
จึงเห็นว่า น.พ.ชาลี ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยผ่าตัดดูดไขมันให้ น.ส.ศิริภรณ์ โดยไม่รักษามาตรฐานในระดับที่ดีที่สุด และไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วยจริง การที่แพทยสภา มีคำสั่งที่ 1/2548 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2548 พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของ น.พ.ชาลี เป็นเวลา 2 ปี จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของน.พ.ชาลีฟังไม่ขึ้น และเมื่อฟังได้ว่า น.พ.ชาลี มีพฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาของแพทยสภาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของน.พ.ชาลีในประเด็นอื่นอีก พิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น
ทั้งนี้เมื่อต้นปี 56 ศาลฎีกามีคำพิพากษาสั่งจำคุก น.พ.ชาลี จากเหตุดังกล่าว เป็นเวลา 4 ปี 3 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และปลายปี 2556 ศาลแพ่ง ก็ได้พิพากษาสั่งให้ น.นพ.ชาลี ชดใช้เงินค่าเสียหายให้กับครอบครัวของ น.ส.ศิริภรณ์ เป็นเงิน 7,435,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี จากที่ทางครอบครัวฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งหมด 12,637,000 บาท
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ขณะที่ น.พ.ชาลี ผ่าตัดดูดไขมันให้ น.ส.ศิริภรณ์ นั้น น.ส.ศิริภรณ์ มีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์ และเป็นช่วงอายุที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างได้อีก แต่น.พ.ชาลี ก็ยังดูดไขมันให้โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ทั้งที่การผ่าตัดดูดไขมันดังกล่าว ไม่ใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำโดยไม่ได้ความเห็น หรือคำยินิยอมจากผู้ปกครอง อีกทั้ง น.พ.ชาลี ยังใช้ยาที่หมดอายุแล้ว
ส่วนที่น.พ.ชาลี อุทธรณ์ว่า ไม่ทราบว่ายาหมดอายุ หากทราบก็จะไม่ใช้นั้น แสดงว่า น.พ.ชาลีไม่ได้ระมัดระวังในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งบุคคลในฐานะเดียวกันกับน.พ.ชาลี จะต้องมี การกระทำดักงล่าวเห็นว่า น.พ.ชาลีไม่ได้คำนึงถึงความสิ้นเปลืองและปลอดภัยของคนไข้แต่อย่างใด
จึงเห็นว่า น.พ.ชาลี ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยผ่าตัดดูดไขมันให้ น.ส.ศิริภรณ์ โดยไม่รักษามาตรฐานในระดับที่ดีที่สุด และไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วยจริง การที่แพทยสภา มีคำสั่งที่ 1/2548 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2548 พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของ น.พ.ชาลี เป็นเวลา 2 ปี จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของน.พ.ชาลีฟังไม่ขึ้น และเมื่อฟังได้ว่า น.พ.ชาลี มีพฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาของแพทยสภาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของน.พ.ชาลีในประเด็นอื่นอีก พิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น
ทั้งนี้เมื่อต้นปี 56 ศาลฎีกามีคำพิพากษาสั่งจำคุก น.พ.ชาลี จากเหตุดังกล่าว เป็นเวลา 4 ปี 3 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และปลายปี 2556 ศาลแพ่ง ก็ได้พิพากษาสั่งให้ น.นพ.ชาลี ชดใช้เงินค่าเสียหายให้กับครอบครัวของ น.ส.ศิริภรณ์ เป็นเงิน 7,435,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี จากที่ทางครอบครัวฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งหมด 12,637,000 บาท