สธ. เสนอกรมขนส่งทางบกเข้มออกใบขับขี่ ระวัง 3 โรค ลมชัก อัลไซเมอร์ และจิตเภท เหตุเสี่ยงอาการกำเริบระหว่างขับรถ หากเกิดเหตุกระตุ้น ทั้งอดนอน อดอาหาร ดื่มเหล้า อยู่ที่เสียงอึกทึก แสงจ้า ไฟกะพริบ มีไข้ ย้ำอย่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อันตราย ฝากญาติคนไข้ดูแลให้กินยาสม่ำเสมอ
วันนี้ (12 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรณี ผอ.ร.ร.วังน้ำขาวชินูปถัมภ์ เกิดโรคลมชักขณะขับรถจนชนนักเรียนเสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น นอกจากโรคลมชักแล้ว ยังมีอีกหลายโรคที่ไม่ควรขับรถ โดย สธ. ได้จัดทำข้อเสนอกรมการขนส่งทางบก ในการพิจารณาเข้มงวดในออกใบอนุญาตขับขี่รถแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว 3 โรค ได้แก่ ลมชัก อัลไซเมอร์ และจิตเภท เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออาการกำเริบจากการได้ รับสิ่งกระตุ้นเฉียบพลันระหว่างขับรถได้ โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ซึ่งมี หลายหน่วยงานเป็นคณะกรรมการ โดยมอบหมายให้ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ดำเนินการ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า หลักเกณฑ์ในการพิจารณาก่อนออกใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวนั้น จะต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์และมีใบรับรองว่าสามารถควบคุมโรคได้ดี โดยได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์และกินยาอย่างสม่ำเสมอจึงจะสามารถออกใบขับขี่ให้ได้ สำหรับผู้ปวยที่เปนโรคลมชักนั้น พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั่วไป ขณะนี้ทั่วประเทศมีขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสังกัด สธ. 62,934 ราย ในการดูแลควบคุมอาการขอแนะนำให้กินยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง อย่าหยุดยาเอง ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง อย่าเปลี่ยนแพทย์เปลี่ยนโรงพยาบาลโดยไม่จำเปน ขอให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดอาการชักได้ ได้แก่ การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานตรากตรำ อดอาหาร การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ การเข้าไปในที่มีเสียงอึกทึก มีแสงจ้า หรือแสงไฟกะพริบ วูบวาบ หากมีไข้สูง ต้องรีบกินยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลดลง มิเช่นนั้นอาจกระตุ้นให้ชัก ได้
“ขอให้ผู้ปวยหลีกเลี่ยงการกระทำหรืออยูในสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงอันตราย เช่น ว่ายน้ำ ปนขึ้นที่สูง อยู่ใกล้ไฟ การทำงานกับเครื่องจักร การขับรถ ขับเรือ พายเรือ เดินข้ามถนนตามลำพัง เปนต้น เนื่องจากหากเกิดอาการชักอาจได้รับอันตรายได้ ทั้งนี้ ควรเปดเผยให้เพื่อนที่ทำงานหรือโรงเรียนได้ทราบถึงโรคที่เปน รวมทั้งควรพกบัตรประจำตัวและบันทึกข้อความเกี่ยวกับโรคที่เปนและวิธการปฐมพยาบาลเพื่อว่าเมื่อเกิดอาการชัก ผู้ พบเห็นจะได้ไม่ตกใจ และหาทางช่วยเหลือให้ปลอดภัยได้ โดยทั่วไปโรคนี้จะเกิดอาการชักเพียง 2-3 นาที เท่านั้น จะไม่ชักจนหมดสติเสียชีวิต” ปลัด สธ. กล่าวและว่า ขอฝากเตือนญาติผู้ปวย ที่เปนโรคที่กล่าวมา ให้ระมัดระวัง ดูแลให้ผู้ปวย กินยาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งไม่ควรให้ผู้ปวยขับรถ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรณี ผอ.ร.ร.วังน้ำขาวชินูปถัมภ์ เกิดโรคลมชักขณะขับรถจนชนนักเรียนเสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น นอกจากโรคลมชักแล้ว ยังมีอีกหลายโรคที่ไม่ควรขับรถ โดย สธ. ได้จัดทำข้อเสนอกรมการขนส่งทางบก ในการพิจารณาเข้มงวดในออกใบอนุญาตขับขี่รถแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว 3 โรค ได้แก่ ลมชัก อัลไซเมอร์ และจิตเภท เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออาการกำเริบจากการได้ รับสิ่งกระตุ้นเฉียบพลันระหว่างขับรถได้ โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ซึ่งมี หลายหน่วยงานเป็นคณะกรรมการ โดยมอบหมายให้ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ดำเนินการ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า หลักเกณฑ์ในการพิจารณาก่อนออกใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวนั้น จะต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์และมีใบรับรองว่าสามารถควบคุมโรคได้ดี โดยได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์และกินยาอย่างสม่ำเสมอจึงจะสามารถออกใบขับขี่ให้ได้ สำหรับผู้ปวยที่เปนโรคลมชักนั้น พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั่วไป ขณะนี้ทั่วประเทศมีขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสังกัด สธ. 62,934 ราย ในการดูแลควบคุมอาการขอแนะนำให้กินยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง อย่าหยุดยาเอง ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง อย่าเปลี่ยนแพทย์เปลี่ยนโรงพยาบาลโดยไม่จำเปน ขอให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดอาการชักได้ ได้แก่ การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานตรากตรำ อดอาหาร การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ การเข้าไปในที่มีเสียงอึกทึก มีแสงจ้า หรือแสงไฟกะพริบ วูบวาบ หากมีไข้สูง ต้องรีบกินยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลดลง มิเช่นนั้นอาจกระตุ้นให้ชัก ได้
“ขอให้ผู้ปวยหลีกเลี่ยงการกระทำหรืออยูในสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงอันตราย เช่น ว่ายน้ำ ปนขึ้นที่สูง อยู่ใกล้ไฟ การทำงานกับเครื่องจักร การขับรถ ขับเรือ พายเรือ เดินข้ามถนนตามลำพัง เปนต้น เนื่องจากหากเกิดอาการชักอาจได้รับอันตรายได้ ทั้งนี้ ควรเปดเผยให้เพื่อนที่ทำงานหรือโรงเรียนได้ทราบถึงโรคที่เปน รวมทั้งควรพกบัตรประจำตัวและบันทึกข้อความเกี่ยวกับโรคที่เปนและวิธการปฐมพยาบาลเพื่อว่าเมื่อเกิดอาการชัก ผู้ พบเห็นจะได้ไม่ตกใจ และหาทางช่วยเหลือให้ปลอดภัยได้ โดยทั่วไปโรคนี้จะเกิดอาการชักเพียง 2-3 นาที เท่านั้น จะไม่ชักจนหมดสติเสียชีวิต” ปลัด สธ. กล่าวและว่า ขอฝากเตือนญาติผู้ปวย ที่เปนโรคที่กล่าวมา ให้ระมัดระวัง ดูแลให้ผู้ปวย กินยาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งไม่ควรให้ผู้ปวยขับรถ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่