กรมสุขภาพจิตเผยวัยรุ่นฮิตเล่นพนันบอลผ่านเจ้ามือ ห่วงช่วงบอลโลกติดพนันบอลงอมแงม แนะสังเกต 5 สัญญาณเตือนเสี่ยงติดโรคพนัน สุดท้ายก่อภาวะเครียด ซึมเศร้า ถึงขั้นฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
วันนี้ (4 มิ.ย.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า พนันบอล เป็นพฤติกรรมการติดที่ง่ายและรวดเร็ว เพราะแอบแฝงไปกับกีฬา ทำให้ผู้เล่นไม่ถูกเพ่งเล็ง ประกอบกับบรรยากาศช่วงบอลโลกมีผลเร้าใจให้วางเดิมพัน ทั้งนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมและผลกระทบจากการเล่นพนันในไทย ปี 2556 โดยศูนย์การศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า กลุ่มนักศึกษานิยมเล่นพนันบอลผ่านเจ้ามือ รองลงมา เล่นกันเองกับเพื่อน และเล่นผ่านเว็บไซต์ โดยใช้สื่อออนไลน์ในการรับข้อมูลข่าวสารในการเล่นพนันบอลมากที่สุด
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า จากข้อมูลสถิติการให้บริการปรึกษาสายด่วนเลิกพนัน 1323 ของกรมสุขภาพจิต ช่วง ต.ค. 2556 - พ.ค. 2557 มีจำนวน 259 ครั้ง พบว่า ร้อยละ 30 เป็นปัญหาพนันบอล ผู้รับบริการอยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยทำงาน ผู้รับบริการร้อยละ 49.15 ระบุว่ามีผลกระทบต่อครอบครัว ร้อยละ 27.11 มีปัญหาหนี้สิน และร้อยละ 22.03 ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ โดยผู้มีปัญหาพนันบอลจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย และใช้สารเสพติดสูงกว่าคนทั่วไป 2-5 เท่า อย่างไรก็ตาม โรคติดพนันสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทำพฤติกรรมบำบัดและการรักษาด้วยยา โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ต้องการกำลังใจจากบุคคลรอบข้างเป็นอย่างมาก แต่ทางที่ดี ควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ดูบอลให้สนุก ไม่สร้างทุกข์ด้วยการพนัน จะดีที่สุด
“สำหรับเรื่องที่คอบอลต้องระวังในการติดตามชมบอลโลกครั้งที่ 20 จัดที่ประเทศบราซิล คือ การนอนดึก เพราะเวลาแตกต่างจากไทยถึง 11 ชั่วโมง ทำให้เวลารับชมมักเป็นช่วงเวลาประมาณ 01.00 - 03.00 น. อาจทำให้เกิดปัญหาอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หงุดหงิดบ่อย อารมณ์เสียง่าย นอนหลับยาก และเมื่อนอนน้อยจึงมีผลต่อสมาธิ มีโอกาสทำงานผิดพลาดง่าย ระบบภูมิคุ้มกันลดลง เจ็บป่วยง่าย ร่างกายอ่อนล้า และหากมีปัญหาสุขภาพจิตก็จะทำให้กำเริบ ทั้งโรคซึมเศร้าและโรคจิตเภท” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ด้าน พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า โรคติดพนัน เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถต่อต้านความอยากของตนเองได้ เกิดจากสมองส่วนอยาก ทำงานเหนือสมองส่วนคิด ทั้งนี้ สามารถสังเกต 5 พฤติกรรมเสี่ยงของการติดพนันบอล ได้แก่ 1. เชียร์ทุกคู่แม้ไม่รู้จัก 2. สุขภาพย่ำแย่ ตั้งตารอคอยจนไม่หลับไม่นอน 3. รวยผิดปกติ หรือเงินขาดมือ พนันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบทุ่มสุดตัว และไม่สามารถหยุดเล่นได้ แม้จะพยายามหยุดและเลิกก็ตาม ทั้งนี้ อาจทำเรื่องผิดกฎหมายเพื่อหาเงินมาเล่นต่อหรือนำไปใช้หนี้ 4. ฉุนเฉียวง่าย พูดปด ปกปิดเพื่อนหรือครอบครัวเกี่ยวกับการเล่นพนัน หรือขอยืมเงินผู้อื่นไปจ่ายหนี้ เกิดปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 5. ไม่สนใจการเรียนและการงาน หมกมุ่นอยู่กับการพนันตลอดเวลา เคร่งเครียด พกโพยบอล
พญ.มธุรดา กล่าวอีกว่า การป้องกันการติดพนันบอล ทำได้โดย 1. บริหารเวลาให้เหมาะสม ในการดูบอล ดูแลครอบครัว ทำงาน และพักผ่อน เช่น ติดตามเฉพาะคู่โปรดหรือนัดสำคัญๆ 2.อย่านิ่งนอนใจ ต้องยอมรับ เปิดใจเข้าหา หากพบว่าตนหรือคนใกล้ชิดเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงติดพนันบอล หาโอกาสเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือหยุดการเล่นให้ได้ 3.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกรมฯ ได้จัดอบรมผู้ให้บริการปรึกษาที่เชี่ยวชาญเทคนิคดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ในการให้บริการปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านเครือข่าย 17 โรงพยาบาลและสถาบันในสังกัดกรมสุขภาพจิต โดยปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 : ปรึกษาปัญหาพนัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ dmh1323@dmh.mail.go.th
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (4 มิ.ย.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า พนันบอล เป็นพฤติกรรมการติดที่ง่ายและรวดเร็ว เพราะแอบแฝงไปกับกีฬา ทำให้ผู้เล่นไม่ถูกเพ่งเล็ง ประกอบกับบรรยากาศช่วงบอลโลกมีผลเร้าใจให้วางเดิมพัน ทั้งนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมและผลกระทบจากการเล่นพนันในไทย ปี 2556 โดยศูนย์การศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า กลุ่มนักศึกษานิยมเล่นพนันบอลผ่านเจ้ามือ รองลงมา เล่นกันเองกับเพื่อน และเล่นผ่านเว็บไซต์ โดยใช้สื่อออนไลน์ในการรับข้อมูลข่าวสารในการเล่นพนันบอลมากที่สุด
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า จากข้อมูลสถิติการให้บริการปรึกษาสายด่วนเลิกพนัน 1323 ของกรมสุขภาพจิต ช่วง ต.ค. 2556 - พ.ค. 2557 มีจำนวน 259 ครั้ง พบว่า ร้อยละ 30 เป็นปัญหาพนันบอล ผู้รับบริการอยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยทำงาน ผู้รับบริการร้อยละ 49.15 ระบุว่ามีผลกระทบต่อครอบครัว ร้อยละ 27.11 มีปัญหาหนี้สิน และร้อยละ 22.03 ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ โดยผู้มีปัญหาพนันบอลจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย และใช้สารเสพติดสูงกว่าคนทั่วไป 2-5 เท่า อย่างไรก็ตาม โรคติดพนันสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทำพฤติกรรมบำบัดและการรักษาด้วยยา โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ต้องการกำลังใจจากบุคคลรอบข้างเป็นอย่างมาก แต่ทางที่ดี ควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ดูบอลให้สนุก ไม่สร้างทุกข์ด้วยการพนัน จะดีที่สุด
“สำหรับเรื่องที่คอบอลต้องระวังในการติดตามชมบอลโลกครั้งที่ 20 จัดที่ประเทศบราซิล คือ การนอนดึก เพราะเวลาแตกต่างจากไทยถึง 11 ชั่วโมง ทำให้เวลารับชมมักเป็นช่วงเวลาประมาณ 01.00 - 03.00 น. อาจทำให้เกิดปัญหาอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หงุดหงิดบ่อย อารมณ์เสียง่าย นอนหลับยาก และเมื่อนอนน้อยจึงมีผลต่อสมาธิ มีโอกาสทำงานผิดพลาดง่าย ระบบภูมิคุ้มกันลดลง เจ็บป่วยง่าย ร่างกายอ่อนล้า และหากมีปัญหาสุขภาพจิตก็จะทำให้กำเริบ ทั้งโรคซึมเศร้าและโรคจิตเภท” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ด้าน พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า โรคติดพนัน เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถต่อต้านความอยากของตนเองได้ เกิดจากสมองส่วนอยาก ทำงานเหนือสมองส่วนคิด ทั้งนี้ สามารถสังเกต 5 พฤติกรรมเสี่ยงของการติดพนันบอล ได้แก่ 1. เชียร์ทุกคู่แม้ไม่รู้จัก 2. สุขภาพย่ำแย่ ตั้งตารอคอยจนไม่หลับไม่นอน 3. รวยผิดปกติ หรือเงินขาดมือ พนันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบทุ่มสุดตัว และไม่สามารถหยุดเล่นได้ แม้จะพยายามหยุดและเลิกก็ตาม ทั้งนี้ อาจทำเรื่องผิดกฎหมายเพื่อหาเงินมาเล่นต่อหรือนำไปใช้หนี้ 4. ฉุนเฉียวง่าย พูดปด ปกปิดเพื่อนหรือครอบครัวเกี่ยวกับการเล่นพนัน หรือขอยืมเงินผู้อื่นไปจ่ายหนี้ เกิดปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 5. ไม่สนใจการเรียนและการงาน หมกมุ่นอยู่กับการพนันตลอดเวลา เคร่งเครียด พกโพยบอล
พญ.มธุรดา กล่าวอีกว่า การป้องกันการติดพนันบอล ทำได้โดย 1. บริหารเวลาให้เหมาะสม ในการดูบอล ดูแลครอบครัว ทำงาน และพักผ่อน เช่น ติดตามเฉพาะคู่โปรดหรือนัดสำคัญๆ 2.อย่านิ่งนอนใจ ต้องยอมรับ เปิดใจเข้าหา หากพบว่าตนหรือคนใกล้ชิดเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงติดพนันบอล หาโอกาสเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือหยุดการเล่นให้ได้ 3.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกรมฯ ได้จัดอบรมผู้ให้บริการปรึกษาที่เชี่ยวชาญเทคนิคดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ในการให้บริการปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านเครือข่าย 17 โรงพยาบาลและสถาบันในสังกัดกรมสุขภาพจิต โดยปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 : ปรึกษาปัญหาพนัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ dmh1323@dmh.mail.go.th
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่