สธ.เตือนประชาชน หน้าฝนอากาศอับชื้อ หลีกเลี่ยงกินเนื้อหมู เลือดหมู สุกๆ ดิบๆ จำพวกลาบก้อย หลู้ ส้า มีความเสี่ยงสูงติดเชื้อโรคไข้หูดับ มีอันตรายขั้นเสียชีวิต หรือหูหนวกตลอดชีวิต ส่วนกลุ่มนักดื่ม หรือมีโรคประจำตัวหากติดเชื้ออาการป่วยจะรุนแรงขึ้น เผยตั้งแต่ต้นปี 2557 ถึงกลางเดือน พ.ค.พบไทยมีผู้ป่วย 74 ราย เสียชีวิต 8 ราย ชี้หมูที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ ย้ำซื้อเนื้อหมูในตลาด หรือห้างที่ผ่านมาตรฐานรับรอง ขณะที่ผู้เลี้ยงควรสวมรองเท้าบูตป้องกัน มีบาดแผลไม่ควรสัมผัสหมู พร้อมย้ำ สสจ.เร่งให้ความรู้เพื่อลดป่วยและเสียชีวิต
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนทำให้เกิดความอับชื้นในสถานเลี้ยงสัตว์ที่อาจจะเกิดปัญหาการสะสมของเชื้อแบคทีเรียจนทำให้สัตว์กลายเป็นโรค และอาจนำเชื้อมาสู่คนได้ โดยเฉพาะฟาร์มสุกรเป็นสัตว์ที่เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า สเตร็บโตค็อกคัสซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งทำให้เกิดโรคไข้หูดับสู่คน ทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้เพราะเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่มีความรุนแรง ทั้งนี้ โรคนี้พบได้ทั่วโลก ในไทยพบผู้ป่วยทุกปีในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 พฤษภาคม 2557 มีผู้ป่วย 74 ราย จาก 11 จังหวัด เสียชีวิต 8 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 70 มีอาชีพรับจ้างและทำการเกษตร
อย่างไรก็ตาม หมูที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการป่วยเพราะเชื้อจะอยู่ในทางเดินหายใจโดยเฉพาะต่อมทอนซิลหรือที่บริเวณคอหอยและในโพรงจมูกของหมู แต่หากหมูมีอาการป่วยร่วมด้วยก็จะพบเชื้อนี้อยู่ในกระแสเลือดของหมูด้วย ทั้งนี้ เชื้อสเตรปโตค็อกคัสซูอิส จะเข้าสู่ร่างกายคน ทางบาดแผลตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา และจากการรับประทานเข้าไป โดยจะพบในรายที่รับประทานเนื้อหมูที่ปรุงดิบ หรือ ปรุงดิบๆ สุกๆ เช่น ลาบหมู หลู้ ส้าดิบ หลังจากเชื้อเข้าสู่รางกาย จะไปทำลายอวัยวะภายใน และระบบประสาท ทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจ อักเสบ ที่สำคัญคือทำให้ประสาทหูทั้งสองข้างอักเสบ และเสื่อมอย่างรุนแรง หูหนวกตลอดชีวิต และยังพบอาการเลือดออกใต้ผิวหนัง โดยจะป่วยหลังติดเชื้อประมาณ 3-5 วัน อาการที่พบบ่อยดังนี้คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูดับ ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบ เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยมีอัตราเสียชีวิตได้ร้อยละ 5-20 และขณะนี้ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย เพื่อป้องกันการป่วยและเสียชีวิต
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้หูดับ คือผู้ที่สัมผัสกับสุกรที่ติดโรคโดยตรง เช่น ผู้เลี้ยงสุกร ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อสุกร เป็นต้น กลุ่มที่เสี่ยงมีอาการป่วยรุนแรงถ้าติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคอ่อนแออยู่แล้ว โรคนี้รักษาหายขาดได้ ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศมีศักยภาพในการรักษาเพราะฉะนั้น หากมีอาการป่วยดังที่กล่าวมาหลังรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมู เลือดหมูปรุงสุกๆ ดิบๆ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที
สำหรับการในการป้องกันการติดเชื้อไข้หูดับ มีดังนี้ กลุ่มผู้บริโภค 1. ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดสด หรือในห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์มาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อหมูที่จำหน่ายข้างทางหรือร้านของป่า 2. ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ หรือเนื้อยุบ 3. ให้ปรุงเนื้อหมูให้สุกด้วยความร้อน นานอย่างน้อย 10 นาที หรือต้มจนเนื้อไม่มีสีแดง ไม่รับประทานเนื้อและเลือดหมูดิบ หรือดิบๆสุกๆ และกลุ่มผู้เลี้ยงสุกร หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในเล้าหมู ฟาร์มหมู ควรสวมรองเท้าบูตยาง สวมถุงมือ สวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงานในเล้าหรือในฟาร์มหมู หลังปฏิบัติงานเสร็จให้อาบนำชำระร่างกายให้สะอาด ผู้ที่มีบาดแผลที่มือหรือที่เท้าควรหลีกเลียงการสัมผัสหมู หากจำเป็นต้องใส่ถุงมือยางป้องกัน ประการสำคัญห้ามนำหมูที่ป่วยตายมาชำแหละอย่างเด็ดขาด และดูแลความสะอาดฟาร์มเลี้ยงหรือเล้าให้สะอาด
หากประชาชนมีข้อสงสัยโทรศัพท์สอบถามได้ที่ สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร. 0-2590-3187 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนทำให้เกิดความอับชื้นในสถานเลี้ยงสัตว์ที่อาจจะเกิดปัญหาการสะสมของเชื้อแบคทีเรียจนทำให้สัตว์กลายเป็นโรค และอาจนำเชื้อมาสู่คนได้ โดยเฉพาะฟาร์มสุกรเป็นสัตว์ที่เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า สเตร็บโตค็อกคัสซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งทำให้เกิดโรคไข้หูดับสู่คน ทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้เพราะเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่มีความรุนแรง ทั้งนี้ โรคนี้พบได้ทั่วโลก ในไทยพบผู้ป่วยทุกปีในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 พฤษภาคม 2557 มีผู้ป่วย 74 ราย จาก 11 จังหวัด เสียชีวิต 8 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 70 มีอาชีพรับจ้างและทำการเกษตร
อย่างไรก็ตาม หมูที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการป่วยเพราะเชื้อจะอยู่ในทางเดินหายใจโดยเฉพาะต่อมทอนซิลหรือที่บริเวณคอหอยและในโพรงจมูกของหมู แต่หากหมูมีอาการป่วยร่วมด้วยก็จะพบเชื้อนี้อยู่ในกระแสเลือดของหมูด้วย ทั้งนี้ เชื้อสเตรปโตค็อกคัสซูอิส จะเข้าสู่ร่างกายคน ทางบาดแผลตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา และจากการรับประทานเข้าไป โดยจะพบในรายที่รับประทานเนื้อหมูที่ปรุงดิบ หรือ ปรุงดิบๆ สุกๆ เช่น ลาบหมู หลู้ ส้าดิบ หลังจากเชื้อเข้าสู่รางกาย จะไปทำลายอวัยวะภายใน และระบบประสาท ทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจ อักเสบ ที่สำคัญคือทำให้ประสาทหูทั้งสองข้างอักเสบ และเสื่อมอย่างรุนแรง หูหนวกตลอดชีวิต และยังพบอาการเลือดออกใต้ผิวหนัง โดยจะป่วยหลังติดเชื้อประมาณ 3-5 วัน อาการที่พบบ่อยดังนี้คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูดับ ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบ เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยมีอัตราเสียชีวิตได้ร้อยละ 5-20 และขณะนี้ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย เพื่อป้องกันการป่วยและเสียชีวิต
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้หูดับ คือผู้ที่สัมผัสกับสุกรที่ติดโรคโดยตรง เช่น ผู้เลี้ยงสุกร ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อสุกร เป็นต้น กลุ่มที่เสี่ยงมีอาการป่วยรุนแรงถ้าติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคอ่อนแออยู่แล้ว โรคนี้รักษาหายขาดได้ ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศมีศักยภาพในการรักษาเพราะฉะนั้น หากมีอาการป่วยดังที่กล่าวมาหลังรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมู เลือดหมูปรุงสุกๆ ดิบๆ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที
สำหรับการในการป้องกันการติดเชื้อไข้หูดับ มีดังนี้ กลุ่มผู้บริโภค 1. ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดสด หรือในห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์มาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อหมูที่จำหน่ายข้างทางหรือร้านของป่า 2. ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ หรือเนื้อยุบ 3. ให้ปรุงเนื้อหมูให้สุกด้วยความร้อน นานอย่างน้อย 10 นาที หรือต้มจนเนื้อไม่มีสีแดง ไม่รับประทานเนื้อและเลือดหมูดิบ หรือดิบๆสุกๆ และกลุ่มผู้เลี้ยงสุกร หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในเล้าหมู ฟาร์มหมู ควรสวมรองเท้าบูตยาง สวมถุงมือ สวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงานในเล้าหรือในฟาร์มหมู หลังปฏิบัติงานเสร็จให้อาบนำชำระร่างกายให้สะอาด ผู้ที่มีบาดแผลที่มือหรือที่เท้าควรหลีกเลียงการสัมผัสหมู หากจำเป็นต้องใส่ถุงมือยางป้องกัน ประการสำคัญห้ามนำหมูที่ป่วยตายมาชำแหละอย่างเด็ดขาด และดูแลความสะอาดฟาร์มเลี้ยงหรือเล้าให้สะอาด
หากประชาชนมีข้อสงสัยโทรศัพท์สอบถามได้ที่ สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร. 0-2590-3187 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่