สธ. ตั้ง คกก. ดูระบบธรรมาภิบาล จริยธรรมการจัดซื้อยา-วัสดุต่างๆ สั่งรับฟังความเห็นเสนอผู้บริหารใน 3 เดือน พร้อมออก 3 ระเบียบแสดงความโปร่งใส พร้อมเซตระบบติดตามประเมินผล 5 ระบบ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการสร้างระบบธรรมาภิบาลในการจัดซื้อยา วัสดุต่างๆ ของโรงพยาบาลในสังกัด สธ. ว่า ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 582/2557 แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล และเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหายาและวัสดุต่างๆ 1 ชุด รวม 53 คน เมื่อวันที่ 6 พ.ค. โดยมี นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการ สธ. เป็นประธาน คณะกรรมการเป็นผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทุกระดับ มีหน้าที่พัฒนาข้อเสนอในการกำหนดระเบียบ กลไก ขั้นตอนการขับเคลื่อน การจัดทำแผน และแนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัด สธ. รวมทั้งการประกาศเกณฑ์จริยธรรมการขายและการจัดซื้อจัดหายา วัสดุทันตกรรม วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ วัสดุสำนักงาน และจัดกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้บริหาร และข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอผลต่อผู้บริหาร สธ. ให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน หลังจากนั้นจะออกเป็นระเบียบและประกาศใช้เป็นกรอบการปฏิบัติของสถานบริการทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกกรมวิชาการในปี 2558
นพ.วชิระ กล่าวว่า ระเบียบที่จะดำเนินการประกาศใช้มีทั้งหมด 3 ระเบียบ ได้แก่ 1. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อจัดหายา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาต่างๆ รวมถึงวัสดุสำนักงาน 2. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง และ 3. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรับ การสนับสนุน จากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย หรือเกี่ยวกับเงินสวัสดิการ ทั้งนี้ ต่อปี สถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ให้บริการแก่ผู้ป่วยและประชาชนปีละประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 ระเบียบนี้จะแสดงถึงความโปร่งใส ตรงไปตรงมา และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและระบบราชการ เป็นการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า ในการจัดระบบติดตามประเมินผล และการรายงานผลความคืบหน้าหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สธ. ได้วางไว้ 5 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบประมวลผล การกำกับ ในระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับกรม 2. มีการกำหนดเป้าหมายของสถานบริการ โดยเน้นความประหยัด ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย 3.การจัดทำแผนประจำปี การอนุมัติแผนประจำปี ให้นายแพทย์สาธารณสุขอนุมัติ และแจ้งผู้ตรวจราชการรับทราบ 4.การมอบอำนาจการปรับแผนประจำปี และ 5. การทำรายงาน ทุกไตรมาส และการสรุปผลประจำปี
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการสร้างระบบธรรมาภิบาลในการจัดซื้อยา วัสดุต่างๆ ของโรงพยาบาลในสังกัด สธ. ว่า ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 582/2557 แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล และเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหายาและวัสดุต่างๆ 1 ชุด รวม 53 คน เมื่อวันที่ 6 พ.ค. โดยมี นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการ สธ. เป็นประธาน คณะกรรมการเป็นผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทุกระดับ มีหน้าที่พัฒนาข้อเสนอในการกำหนดระเบียบ กลไก ขั้นตอนการขับเคลื่อน การจัดทำแผน และแนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัด สธ. รวมทั้งการประกาศเกณฑ์จริยธรรมการขายและการจัดซื้อจัดหายา วัสดุทันตกรรม วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ วัสดุสำนักงาน และจัดกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้บริหาร และข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอผลต่อผู้บริหาร สธ. ให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน หลังจากนั้นจะออกเป็นระเบียบและประกาศใช้เป็นกรอบการปฏิบัติของสถานบริการทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกกรมวิชาการในปี 2558
นพ.วชิระ กล่าวว่า ระเบียบที่จะดำเนินการประกาศใช้มีทั้งหมด 3 ระเบียบ ได้แก่ 1. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อจัดหายา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาต่างๆ รวมถึงวัสดุสำนักงาน 2. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง และ 3. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรับ การสนับสนุน จากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย หรือเกี่ยวกับเงินสวัสดิการ ทั้งนี้ ต่อปี สถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ให้บริการแก่ผู้ป่วยและประชาชนปีละประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 ระเบียบนี้จะแสดงถึงความโปร่งใส ตรงไปตรงมา และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและระบบราชการ เป็นการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า ในการจัดระบบติดตามประเมินผล และการรายงานผลความคืบหน้าหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สธ. ได้วางไว้ 5 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบประมวลผล การกำกับ ในระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับกรม 2. มีการกำหนดเป้าหมายของสถานบริการ โดยเน้นความประหยัด ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย 3.การจัดทำแผนประจำปี การอนุมัติแผนประจำปี ให้นายแพทย์สาธารณสุขอนุมัติ และแจ้งผู้ตรวจราชการรับทราบ 4.การมอบอำนาจการปรับแผนประจำปี และ 5. การทำรายงาน ทุกไตรมาส และการสรุปผลประจำปี