นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดทำเกณฑ์จริยธรรมในการจัดซื้อ จัดหา และการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ของ สธ. เพื่อให้เกิดธรรมมาภิบาล เป็นบรรทัดฐานแก่บุคลากรภายใน สธ. ยึดเป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน โดยมีกระบวนการจัดซื้อจัดหาที่โปร่งใส มีการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่ตรวจสอบได้ อย่างรัดกุม ไร้การทุจริต เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบในเรื่องระบบคุณธรรม ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 56 เป็นต้นมา และได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทุกวิชาชีพ
ทั้งนี้ ได้ลงนามและมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. 57 เป็นต้นไป และได้เสนอให้ รมว.สาธารณสุข ออกเป็นระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เกณฑ์จริยธรรมประกอบด้วย 7 หมวด ได้แก่ 1. บททั่วไป เป็นการนิยาม เช่น ยา ผู้แทนยา ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจ หน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจเป็นการเฉพาะ 2. ผู้สั่งใช้ ต้องไม่รับผลประโยชน์จากบริษัทยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเป็นการส่วนตัว แต่สามารถรับในนามสถานพยาบาล หรือหน่วยงานได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน และสามารถรับในโอกาสพิเศษ หรือตามวาระประเพณีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท ผู้สั่งใช้จะต้องคำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ไม่มุ่งหวังเพื่อส่งเสริมการขาย หรือแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเอง และการสั่งใช้ยาต้องใช้ชื่อสามัญทางยา 3. ผู้บริหาร จะต้องคัดเลือกบริษัทผู้ผลิต และจัดจำหน่าย รวมทั้งการตรวจสอบยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ที่โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพสูงป้องกันการมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน คำนึงถึงประสิทธิผล ความคุ้มค่า และความปลอดภัยของผู้ป่วย
4.เภสัชกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหา การจ่ายและส่งมอบยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา จะต้องไม่โฆษณาอวดอ้าง หรือส่งเสริมการขาย จะต้องเสนอข้อมูลที่มีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจแก่คณะกรรมการที่รับผิดชอบการคัดเลือกของสถานพยาบาล 5.บริษัทยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายของประเทศไทยที่คณะกรรการพัฒนาระบบยาแห่งชาติประกาศ รวมทั้งเคารพและปฏิบัติตามข้อกำหนดของสถานพยาบาลหรือหน่วยงานอย่างเคร่งครัด
6.สถานพยาบาลหรือหน่วยงาน จะต้องกำหนดแนวปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ เป็นลายลักษณ์อักษรให้เหมาะกับบุคลากรแต่ละประเภท จัดทำระบบการรับการสนับสนุนและกำหนดเกณฑ์คัดเลือกบุคคลที่จะไปสัมมนา อบรม ดูงานทั้งในแต่ละต่างประเทศ โดยรับได้เฉพาะค่าเดินทาง ค่าลงทะเบียน ค่าวิทยากร ค่าอาหาร ค่าที่พักเท่านั้น และ 7.สถานศึกษา ต้องควบคุมดูแลอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในแง่จริยธรรม มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งให้ความรู้และเจตนคติเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาอย่างสมเหตุสมผล เชื่อถือได้ ปราศจากการชี้นำทางธุรกิจ เป็นการสร้างปลูกฝังแนวคิดเรื่องของคุณธรรมแก่นักศึกษารุ่นใหม่ เป็นบุคลากรที่คุณสมบัติทั้งเก่ง ดี มีคุณธรรม เป็นต้น
"เกณฑ์จริยธรรมฯ นี้จะใช้สำหรับการจัดซื้อยาที่ใช้ในภาคบริการทั้งหมดและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา 4 รายการหลักที่ใช้มาก ได้แก่ วัสดุการแพทย์ วัสดุทันตกรรม วัสดุเอ็กซ์เรย์ และวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือวัสดุชันสูตร ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขจะมีการติดตามควบคุม กำกับติดตามการบริหารจัดการจัดซื้อจัดหา การส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา รวมทั้งวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานแต่ละจังหวัด เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบได้อย่างรัดกุม" ปลัด สธ. กล่าว
ทั้งนี้ ได้ลงนามและมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. 57 เป็นต้นไป และได้เสนอให้ รมว.สาธารณสุข ออกเป็นระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เกณฑ์จริยธรรมประกอบด้วย 7 หมวด ได้แก่ 1. บททั่วไป เป็นการนิยาม เช่น ยา ผู้แทนยา ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจ หน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจเป็นการเฉพาะ 2. ผู้สั่งใช้ ต้องไม่รับผลประโยชน์จากบริษัทยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเป็นการส่วนตัว แต่สามารถรับในนามสถานพยาบาล หรือหน่วยงานได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน และสามารถรับในโอกาสพิเศษ หรือตามวาระประเพณีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท ผู้สั่งใช้จะต้องคำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ไม่มุ่งหวังเพื่อส่งเสริมการขาย หรือแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเอง และการสั่งใช้ยาต้องใช้ชื่อสามัญทางยา 3. ผู้บริหาร จะต้องคัดเลือกบริษัทผู้ผลิต และจัดจำหน่าย รวมทั้งการตรวจสอบยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ที่โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพสูงป้องกันการมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน คำนึงถึงประสิทธิผล ความคุ้มค่า และความปลอดภัยของผู้ป่วย
4.เภสัชกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหา การจ่ายและส่งมอบยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา จะต้องไม่โฆษณาอวดอ้าง หรือส่งเสริมการขาย จะต้องเสนอข้อมูลที่มีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจแก่คณะกรรมการที่รับผิดชอบการคัดเลือกของสถานพยาบาล 5.บริษัทยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายของประเทศไทยที่คณะกรรการพัฒนาระบบยาแห่งชาติประกาศ รวมทั้งเคารพและปฏิบัติตามข้อกำหนดของสถานพยาบาลหรือหน่วยงานอย่างเคร่งครัด
6.สถานพยาบาลหรือหน่วยงาน จะต้องกำหนดแนวปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ เป็นลายลักษณ์อักษรให้เหมาะกับบุคลากรแต่ละประเภท จัดทำระบบการรับการสนับสนุนและกำหนดเกณฑ์คัดเลือกบุคคลที่จะไปสัมมนา อบรม ดูงานทั้งในแต่ละต่างประเทศ โดยรับได้เฉพาะค่าเดินทาง ค่าลงทะเบียน ค่าวิทยากร ค่าอาหาร ค่าที่พักเท่านั้น และ 7.สถานศึกษา ต้องควบคุมดูแลอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในแง่จริยธรรม มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งให้ความรู้และเจตนคติเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาอย่างสมเหตุสมผล เชื่อถือได้ ปราศจากการชี้นำทางธุรกิจ เป็นการสร้างปลูกฝังแนวคิดเรื่องของคุณธรรมแก่นักศึกษารุ่นใหม่ เป็นบุคลากรที่คุณสมบัติทั้งเก่ง ดี มีคุณธรรม เป็นต้น
"เกณฑ์จริยธรรมฯ นี้จะใช้สำหรับการจัดซื้อยาที่ใช้ในภาคบริการทั้งหมดและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา 4 รายการหลักที่ใช้มาก ได้แก่ วัสดุการแพทย์ วัสดุทันตกรรม วัสดุเอ็กซ์เรย์ และวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือวัสดุชันสูตร ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขจะมีการติดตามควบคุม กำกับติดตามการบริหารจัดการจัดซื้อจัดหา การส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา รวมทั้งวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานแต่ละจังหวัด เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบได้อย่างรัดกุม" ปลัด สธ. กล่าว