โดย...รศ.นพ.ศตวรรษ ทองสวัสดิ์
สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
โรคตับอักเสบเรื้อรังก็เหมือนกับโรคเรื้อรังหลายชนิด คือ การดำเนินโรคช้า ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าตับ จะเสียหายจนเข้าสู่โรคตับระยะสุดท้าย ซึ่งมักจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นมากมาย เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และในที่สุดเมื่อเป็นโรคตับระยะสุดท้ายนานพอก็จะเกิดมะเร็งตับในที่สุด
ทุกประเทศทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้ความสำคัญกับโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสเป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทยรัฐบาลร่วมกับส่วนองค์กรนอกรัฐได้ตระหนักถึงปัญหานี้ก็พยายามรณรงค์อย่างเต็มที่ เช่น ที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย กำลังพยายามอยู่ขณะนี้ ซึ่งการรณรงค์เกิดขึ้น เพราะปัจจุบันการรักษาทั้งสองโรคตับอักเสบจากไวรัส บี (B) และ ซี (C) ได้น่าพอใจมากแล้ว ไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบ และเกิดโรคตับมีหลายตัว เรียงตามอักษรโรมันคือ เอ (A) บี (B) ซี (C) ดี (D) และ อี (E) แต่ที่ทำให้เกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง มีเพียง 2 ชนิดคือ บี (B) และ ซี (C)
ไวรัสตับอักเสบ บี (B)
ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ เมื่อเป็นโรคนี้ในระยะเฉียบพลันแล้ว มีโอกาสหายขาดได้ประมาณ 90% แต่เมื่อเป็นโรคตับระยะสุดท้าย คือ ตับแข็งที่เต็มไปด้วย ภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องมานน้ำ หลอดเลือดดำของหลอดอาหารพองขอดแล้วแตกออก เกิดเลือดออกจากทางเดินอาหาร ค่าใช้จ่ายหรือภาระการดูแลก็จะสูงขึ้นทันที อย่างมหาศาล ยังไม่ต้องพูดถึงการดูแลผู้ป่วยด้วยมะเร็งตับที่มีรายจ่ายมากเกินบรรยาย แต่โชคดีที่ว่าตับของเรานั้นเป็นอวัยวะอัศจรรย์ ถ้าไม่มีความเสียหายซ้ำๆ ต่อเนื่องแล้ว ก็จะกลับฟื้นตัวจนเป็นปกติหรือเกือบปกติได้ แม้ว่าเดิมจะเป็นตับแข็งไปแล้ว แต่ถ้ากำจัดไวรัสออกได้ ตับสามารถฟื้นฟูตัวเองจนเกือบปกติได้และที่สำคัญคือ โอกาสในการเป็นมะเร็งก็จะค่อย ๆ ลดลงเท่าคนปกติเลยทีเดียว แต่ปัญหาคือ คนส่วนมากไม่รู้เลยว่าตัวเอง ติดเชื้ออยู่ การที่จะรู้ได้ก็ต้องไปเจาะเลือด ตรวจ เดิมการเจาะเลือดตรวจต้องทำที่โรงพยาบาลหรือห้อง ปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถ แต่ปัจจุบันในขั้นต้นสามารถ ตรวจได้จากเลือดที่ปลายนิ้ว และรู้ผลเกือบทันที โรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการหลายแห่งมีบริการตรวจในราคาไม่แพง และระหว่างปีก็มีกิจกรรมของมูลนิธิโรคตับ ที่เราสามารถไปขอเจาะตรวจได้โดยไม่คิดมูลค่า
ไวรัสตับอักเสบ ซี (C)
สำหรับตับอักเสบจากไวรัส ซี (C) ในประเทศไทยขณะนี้ สามารถรักษาให้หายได้สูงถึง 80% และแม้จะไม่หายก็ช่วยชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลงได้ ส่วนต่างประเทศก็มียาใหม่ๆ ที่ใช้ง่ายขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาไปมากและได้ผลเกือบ 100% แล้ว ซึ่งก็หวังว่าในประเทศของเรา คงจะมียาใหม่นี้ใช้ ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า โรคนี้เป็นภัยเงียบที่แฝงอยู่ จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อตรวจเลือด พบภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบซี (เป็นภูมิของร่างกายที่บอกว่ามี หรือเคยมี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี แต่ไม่ใช่ภูมิป้องกันโรค) เมื่อตรวจพบดังนี้ แพทย์จะตรวจเลือดต่อว่าในเลือดมีเชื้อหรือไม่
เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (B) และ ซี (C) ติดต่อได้อย่างไร ?
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีสามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อและน้ำหลั่งอย่างอื่นๆ สามารติดต่อกันได้โดย 1. มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย 2. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 3. ใช้เข็มสักตามตัว หรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน รวมถึงการเจาะหู 4. ใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน 5. รักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ 6. สัมผัสเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง ผ่านเข้าทางบาดแผล และ 7. แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ในขณะคลอด (โอกาสติด 90%)
หมายเหตุ : เชื้อนี้ไม่ติดต่อกันทางลมหายใจ อาหาร หรือน้ำดื่ม การให้นม การจูบ (ถ้าปากไม่เป็นแผล)
อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี (B) และ ซี (C)
อาการจะมีลักษณะ 1. ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา 2. คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด 3. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 4. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ 5. ปัสสาวะสีเข้ม 6. บวมหากตรวจพบว่าเป็นตับอักเสบจากไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ไม่ต้องตกใจเพราะมีทางรักษาได้ โดยทั่วไปแนะนำว่า ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเหมาะสมกว่า หรืออาจเป็นอายุรแพทย์ทั่วไปหรืออายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหารก็ได้ ทั้งนี้ เพราะวิทยาการเกี่ยวกับตับอักเสบจากไวรัสพัฒนาไปมากความรู้ ความเข้าใจเปลี่ยนแปลงไปมากในยี่สิบปีที่ผ่านมา หากมิใช่อายุรแพทย์ก็อาจมิได้ติดตามความก้าวหน้า อาจให้คำแนะนำที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนได้ขอเชิญชวนให้ทุกคนไปกันที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เจาะเลือดตรวจว่าเรามีเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือไม่ เพื่อความสบายใจ และที่สำคัญคือถ้าเป็นก็รีบรักษาก่อนจะสายเกินไป
สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
โรคตับอักเสบเรื้อรังก็เหมือนกับโรคเรื้อรังหลายชนิด คือ การดำเนินโรคช้า ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าตับ จะเสียหายจนเข้าสู่โรคตับระยะสุดท้าย ซึ่งมักจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นมากมาย เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และในที่สุดเมื่อเป็นโรคตับระยะสุดท้ายนานพอก็จะเกิดมะเร็งตับในที่สุด
ทุกประเทศทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้ความสำคัญกับโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสเป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทยรัฐบาลร่วมกับส่วนองค์กรนอกรัฐได้ตระหนักถึงปัญหานี้ก็พยายามรณรงค์อย่างเต็มที่ เช่น ที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย กำลังพยายามอยู่ขณะนี้ ซึ่งการรณรงค์เกิดขึ้น เพราะปัจจุบันการรักษาทั้งสองโรคตับอักเสบจากไวรัส บี (B) และ ซี (C) ได้น่าพอใจมากแล้ว ไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบ และเกิดโรคตับมีหลายตัว เรียงตามอักษรโรมันคือ เอ (A) บี (B) ซี (C) ดี (D) และ อี (E) แต่ที่ทำให้เกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง มีเพียง 2 ชนิดคือ บี (B) และ ซี (C)
ไวรัสตับอักเสบ บี (B)
ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ เมื่อเป็นโรคนี้ในระยะเฉียบพลันแล้ว มีโอกาสหายขาดได้ประมาณ 90% แต่เมื่อเป็นโรคตับระยะสุดท้าย คือ ตับแข็งที่เต็มไปด้วย ภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องมานน้ำ หลอดเลือดดำของหลอดอาหารพองขอดแล้วแตกออก เกิดเลือดออกจากทางเดินอาหาร ค่าใช้จ่ายหรือภาระการดูแลก็จะสูงขึ้นทันที อย่างมหาศาล ยังไม่ต้องพูดถึงการดูแลผู้ป่วยด้วยมะเร็งตับที่มีรายจ่ายมากเกินบรรยาย แต่โชคดีที่ว่าตับของเรานั้นเป็นอวัยวะอัศจรรย์ ถ้าไม่มีความเสียหายซ้ำๆ ต่อเนื่องแล้ว ก็จะกลับฟื้นตัวจนเป็นปกติหรือเกือบปกติได้ แม้ว่าเดิมจะเป็นตับแข็งไปแล้ว แต่ถ้ากำจัดไวรัสออกได้ ตับสามารถฟื้นฟูตัวเองจนเกือบปกติได้และที่สำคัญคือ โอกาสในการเป็นมะเร็งก็จะค่อย ๆ ลดลงเท่าคนปกติเลยทีเดียว แต่ปัญหาคือ คนส่วนมากไม่รู้เลยว่าตัวเอง ติดเชื้ออยู่ การที่จะรู้ได้ก็ต้องไปเจาะเลือด ตรวจ เดิมการเจาะเลือดตรวจต้องทำที่โรงพยาบาลหรือห้อง ปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถ แต่ปัจจุบันในขั้นต้นสามารถ ตรวจได้จากเลือดที่ปลายนิ้ว และรู้ผลเกือบทันที โรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการหลายแห่งมีบริการตรวจในราคาไม่แพง และระหว่างปีก็มีกิจกรรมของมูลนิธิโรคตับ ที่เราสามารถไปขอเจาะตรวจได้โดยไม่คิดมูลค่า
ไวรัสตับอักเสบ ซี (C)
สำหรับตับอักเสบจากไวรัส ซี (C) ในประเทศไทยขณะนี้ สามารถรักษาให้หายได้สูงถึง 80% และแม้จะไม่หายก็ช่วยชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลงได้ ส่วนต่างประเทศก็มียาใหม่ๆ ที่ใช้ง่ายขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาไปมากและได้ผลเกือบ 100% แล้ว ซึ่งก็หวังว่าในประเทศของเรา คงจะมียาใหม่นี้ใช้ ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า โรคนี้เป็นภัยเงียบที่แฝงอยู่ จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อตรวจเลือด พบภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบซี (เป็นภูมิของร่างกายที่บอกว่ามี หรือเคยมี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี แต่ไม่ใช่ภูมิป้องกันโรค) เมื่อตรวจพบดังนี้ แพทย์จะตรวจเลือดต่อว่าในเลือดมีเชื้อหรือไม่
เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (B) และ ซี (C) ติดต่อได้อย่างไร ?
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีสามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อและน้ำหลั่งอย่างอื่นๆ สามารติดต่อกันได้โดย 1. มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย 2. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 3. ใช้เข็มสักตามตัว หรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน รวมถึงการเจาะหู 4. ใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน 5. รักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ 6. สัมผัสเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง ผ่านเข้าทางบาดแผล และ 7. แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ในขณะคลอด (โอกาสติด 90%)
หมายเหตุ : เชื้อนี้ไม่ติดต่อกันทางลมหายใจ อาหาร หรือน้ำดื่ม การให้นม การจูบ (ถ้าปากไม่เป็นแผล)
อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี (B) และ ซี (C)
อาการจะมีลักษณะ 1. ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา 2. คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด 3. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 4. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ 5. ปัสสาวะสีเข้ม 6. บวมหากตรวจพบว่าเป็นตับอักเสบจากไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ไม่ต้องตกใจเพราะมีทางรักษาได้ โดยทั่วไปแนะนำว่า ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเหมาะสมกว่า หรืออาจเป็นอายุรแพทย์ทั่วไปหรืออายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหารก็ได้ ทั้งนี้ เพราะวิทยาการเกี่ยวกับตับอักเสบจากไวรัสพัฒนาไปมากความรู้ ความเข้าใจเปลี่ยนแปลงไปมากในยี่สิบปีที่ผ่านมา หากมิใช่อายุรแพทย์ก็อาจมิได้ติดตามความก้าวหน้า อาจให้คำแนะนำที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนได้ขอเชิญชวนให้ทุกคนไปกันที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เจาะเลือดตรวจว่าเรามีเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือไม่ เพื่อความสบายใจ และที่สำคัญคือถ้าเป็นก็รีบรักษาก่อนจะสายเกินไป