สปสช. เผย ต่อรองลดราคายาไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 2 และ 3 ลดลง 70% ช่วยผู้ป่วยทุกสิทธิ์เข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น บอร์ด สปสช. เตรียมขยายการให้ยาในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 1 และ 6 และผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่ม ลดเสี่ยงตับแข็งและอัตราตายจากมะเร็งตับ
ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะประธานคณะทำงานต่อรองราคายาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2556 - 2558 กล่าวว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีปัญหาการเข้าถึงยา ซึ่งคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้มอบให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (HITAP) ทำ “การประเมินต้นทุนประสิทธิผลการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิดซี” พบว่า การให้การรักษามีความคุ้มค่า หากต่อรองราคาลงได้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และจากการประเมินความคุ้มค่าในการรักษาในระยะแรกชี้ว่า ยานี้จะให้ผลการรักษาที่ดีกับผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 2 และ 3 ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 60 ของผู้ป่วยตับอักเสบซี หากได้รับการรักษาด้วยยานี้จะมีโอกาสหายถึงร้อยละ 85-90 และจะไม่เป็นมะเร็งตับในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งหากไปรักษาในขณะนั้นจะมีค่าใช้จ่ายรักษาที่สูงมาก ทางคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติจึงได้ตัดสินใจให้ต่อรองราคายานี้ โดยมีเงื่อนไขบ่งใช้เฉพาะผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบซีจากสายพันธุ์ 2 และ 3 เท่านั้น
ภญ.เนตรนภิส กล่าวว่า จากผลการต่อรองราคายาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอน (Peg Interferon) ทางบริษัทยายอมลดราคายาลดราคาลงกว่าร้อยละ 70 โดยราคานี้ให้พร้อมยาไรบาวิริน (Ribavirin) ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้รักษาควบคู่กัน ทั้งนี้ กระบวนการต่อรองราคายาใช้เวลาเจรจากับทาง 2 บริษัทที่จำหน่ายนานเกือบ 5 เดือนจึงสำเร็จ ซึ่งในการต่อรองราคายานั้น จะต้องมีข้อมูลผู้ป่วยที่ชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นถึงปริมาณยาที่ต้องใช้ในแต่ ละปีให้กับผู้ป่วย โดยส่วนนี้เราใช้ฐานตัวเลขการส่งเพื่อเบิกจ่ายชดเชยจากโรงพยาบาลของทาง สปสช. ทำให้มีตัวเลขที่จะไปคุยกับบริษัทยาได้ ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญทำให้บริษัทยาประเมินความคุ้มค่า มั่นใจยอดขายว่าจะได้เท่าไหร่ และจึงยอมลดราคาลง ซึ่งการต่อรองราคายานี้ทำโดยคณะทำงานต่อรองราคายาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดย สปสช. เข้าไปช่วยสนับสนุนข้อมูล ทำให้ครอบคลุมถึงผู้ป่วยตับอักเสบซีในระบบประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ ด้วย
ทั้งนี้ ด้วยราคายาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอนที่ลดลงมาในราคาที่ถูกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเดิม ทำให้มีการขยายการรักษาให้ครอบคลุมไปยังผู้ป่วยตับอักเสบซี สายพันธุ์ 1 และ 6 รวมไปถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยให้ทาง HITAP ไปศึกษาประเมินความคุ้มค่าต่อเนื่อง และได้เสนอต่อคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อเห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์การใช้ยา Peg Interferon ที่ให้ครอบคลุมไปยังสายพันธุ์ 1 และ 6 รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ทั้งนี้ ในการการรักษาไม่ใช่ได้ผลทุกคน ซึ่งหลังจากให้ยาผู้ป่วยแล้ว ยังต้องมีการติดตามคนไข้ เพื่อดูผลการรักษา โดยจะมีการตรวจเลือดตามระยะเวลา เพื่อพิจารณาว่าควรให้ยากับผู้ป่วยต่อไปอีกหรือไม่
“ก่อนหน้าที่ยังไม่มีการต่อรองราคายา ผู้ป่วยตับอักเสบซีทั้งหมดมักจะประสบปัญหาในเข้าไม่ถึงยา แต่หลังจากได้มีทำการต่อรองราคายาและบรรจุยาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอนในบัญชียา หลักแห่งชาติ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้น และเมื่อราคาต่อรองที่ได้ถูกลงจึงมีการขยายการรักษาไปยังผู้ป่วยในกลุ่มถัดมา แม้ว่าการรักษาจะไม่ได้ให้ผลดีเท่ากับสายพันธ์ 2 และ 3 แต่เมื่อเทียบราคายากับการช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับในอนาคตนั้น ถือว่าคุ้มค่าอย่างยิ่ง” ประธานคณะทำงานต่อรองราคายาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ กล่าว
ภญ.เนตรนภิส กล่าวว่า จากการดำเนินการเพื่อช่วยผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเข้าถึงยาหลังการบรรจุยา Peg Interferon ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีที่เข้ารับการรักษาสะสมตั้งแต่ปี 2555 จำนวน 1,292 ราย (เฉพาะผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี สายพันธ์ 2 และ 3 ที่ไม่มีภาวะการติดเชื้อ HIV) ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพ 845 ราย ผู้ป่วยประกันสังคม 447 ราย เป็นมูลค่าการจัดซื้อยาและค่าตรวจห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการวินิจฉัย 144 ล้านบาท ทั้งนี้ การช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่มีคุณภาพ และคุ้มค่าการรักษา นับเป็นภารกิจสำคัญของคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่นเดียวกับ สปสช. ที่ต้องทำให้ผู้ป่วยทุกกลุ่มเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง
ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะประธานคณะทำงานต่อรองราคายาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2556 - 2558 กล่าวว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีปัญหาการเข้าถึงยา ซึ่งคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้มอบให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (HITAP) ทำ “การประเมินต้นทุนประสิทธิผลการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิดซี” พบว่า การให้การรักษามีความคุ้มค่า หากต่อรองราคาลงได้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และจากการประเมินความคุ้มค่าในการรักษาในระยะแรกชี้ว่า ยานี้จะให้ผลการรักษาที่ดีกับผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 2 และ 3 ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 60 ของผู้ป่วยตับอักเสบซี หากได้รับการรักษาด้วยยานี้จะมีโอกาสหายถึงร้อยละ 85-90 และจะไม่เป็นมะเร็งตับในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งหากไปรักษาในขณะนั้นจะมีค่าใช้จ่ายรักษาที่สูงมาก ทางคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติจึงได้ตัดสินใจให้ต่อรองราคายานี้ โดยมีเงื่อนไขบ่งใช้เฉพาะผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบซีจากสายพันธุ์ 2 และ 3 เท่านั้น
ภญ.เนตรนภิส กล่าวว่า จากผลการต่อรองราคายาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอน (Peg Interferon) ทางบริษัทยายอมลดราคายาลดราคาลงกว่าร้อยละ 70 โดยราคานี้ให้พร้อมยาไรบาวิริน (Ribavirin) ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้รักษาควบคู่กัน ทั้งนี้ กระบวนการต่อรองราคายาใช้เวลาเจรจากับทาง 2 บริษัทที่จำหน่ายนานเกือบ 5 เดือนจึงสำเร็จ ซึ่งในการต่อรองราคายานั้น จะต้องมีข้อมูลผู้ป่วยที่ชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นถึงปริมาณยาที่ต้องใช้ในแต่ ละปีให้กับผู้ป่วย โดยส่วนนี้เราใช้ฐานตัวเลขการส่งเพื่อเบิกจ่ายชดเชยจากโรงพยาบาลของทาง สปสช. ทำให้มีตัวเลขที่จะไปคุยกับบริษัทยาได้ ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญทำให้บริษัทยาประเมินความคุ้มค่า มั่นใจยอดขายว่าจะได้เท่าไหร่ และจึงยอมลดราคาลง ซึ่งการต่อรองราคายานี้ทำโดยคณะทำงานต่อรองราคายาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดย สปสช. เข้าไปช่วยสนับสนุนข้อมูล ทำให้ครอบคลุมถึงผู้ป่วยตับอักเสบซีในระบบประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ ด้วย
ทั้งนี้ ด้วยราคายาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอนที่ลดลงมาในราคาที่ถูกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเดิม ทำให้มีการขยายการรักษาให้ครอบคลุมไปยังผู้ป่วยตับอักเสบซี สายพันธุ์ 1 และ 6 รวมไปถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยให้ทาง HITAP ไปศึกษาประเมินความคุ้มค่าต่อเนื่อง และได้เสนอต่อคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อเห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์การใช้ยา Peg Interferon ที่ให้ครอบคลุมไปยังสายพันธุ์ 1 และ 6 รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ทั้งนี้ ในการการรักษาไม่ใช่ได้ผลทุกคน ซึ่งหลังจากให้ยาผู้ป่วยแล้ว ยังต้องมีการติดตามคนไข้ เพื่อดูผลการรักษา โดยจะมีการตรวจเลือดตามระยะเวลา เพื่อพิจารณาว่าควรให้ยากับผู้ป่วยต่อไปอีกหรือไม่
“ก่อนหน้าที่ยังไม่มีการต่อรองราคายา ผู้ป่วยตับอักเสบซีทั้งหมดมักจะประสบปัญหาในเข้าไม่ถึงยา แต่หลังจากได้มีทำการต่อรองราคายาและบรรจุยาเพ็กอินเตอร์เฟอร์รอนในบัญชียา หลักแห่งชาติ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้น และเมื่อราคาต่อรองที่ได้ถูกลงจึงมีการขยายการรักษาไปยังผู้ป่วยในกลุ่มถัดมา แม้ว่าการรักษาจะไม่ได้ให้ผลดีเท่ากับสายพันธ์ 2 และ 3 แต่เมื่อเทียบราคายากับการช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับในอนาคตนั้น ถือว่าคุ้มค่าอย่างยิ่ง” ประธานคณะทำงานต่อรองราคายาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ กล่าว
ภญ.เนตรนภิส กล่าวว่า จากการดำเนินการเพื่อช่วยผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเข้าถึงยาหลังการบรรจุยา Peg Interferon ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีที่เข้ารับการรักษาสะสมตั้งแต่ปี 2555 จำนวน 1,292 ราย (เฉพาะผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี สายพันธ์ 2 และ 3 ที่ไม่มีภาวะการติดเชื้อ HIV) ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพ 845 ราย ผู้ป่วยประกันสังคม 447 ราย เป็นมูลค่าการจัดซื้อยาและค่าตรวจห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการวินิจฉัย 144 ล้านบาท ทั้งนี้ การช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่มีคุณภาพ และคุ้มค่าการรักษา นับเป็นภารกิจสำคัญของคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่นเดียวกับ สปสช. ที่ต้องทำให้ผู้ป่วยทุกกลุ่มเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง