สถิติ 5 ปี ลูกจ้างบาดเจ็บจากการทำงานกว่า 1.9 แสนคน ควักเงินกองทุนเงินทดแทนไปกว่า 1.7 พันล้าน
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สปส. ได้สรุปข้อมูลสถิติการประสบอันตรายและการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานตั้งแต่ปี 2552 - 2556 มียอดผู้บาดเจ็บจากการทำงานมีจำนวนกว่า 191,614 ราย โดยจังหวัดที่พบการบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ถึงร้อยละ 28.67 สมุทรปราการ ร้อยละ 15.83 และชลบุรี ร้อยละ 6.93
“ช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้นสาเหตุหลักที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่โดนวัตถุสิ่งของตัด บาด ทิ่มแทงกว่าร้อยละ 23.05 รองลงมาเป็นการถูกกระแทก ถูกชน ร้อยละ 15.03 โดนสารเคมีเข้าตาถึงร้อยละ 14.26 ส่วนกิจการที่มีลูกจ้างประสบอันตรายสูงสุดคือ กิจการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 7.82 ต่อปี รองลงมากิจการผลิตเครื่องดื่ม อาหาร ร้อยละ 5.69 และกิจการค้าเครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะร้อยละ 5.45 โดยภาพรวมแล้วอัตราการประสบอันตรายต่อลูกจ้าง 1,000 ราย มีแนวโน้มเฉลี่ยลดลงถึงร้อยละ 10.18 ต่อปี โดยในปี 2552 อัตราการประสบอุบัติเหตุอยู่ที่ 18.82 รายต่อพันราย และลดลงอยู่ที่อัตรา 12.55 รายต่อพันรายในปี 2556” นายอารักษ์ กล่าว
รองเลขาธิการ สปส. กล่าวด้วยว่า ส่วนสถานะของกองทุนเงินทดแทน ในส่วนของรายรับรายจ่ายนั้นจากสถิติพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กองทุนเงินทดแทนของ สปส. มีรายรับจากการเก็บเงินสมทบรวมกว่า 5,473 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายกว่า 2,073 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเงินทดแทนกว่า 1,752 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84.52 ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นค่าทดแทนกว่า 963 ล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลกว่า 766 ล้านบาท ค่าทำศพกว่า 19 ล้านบาท
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สปส. ได้สรุปข้อมูลสถิติการประสบอันตรายและการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานตั้งแต่ปี 2552 - 2556 มียอดผู้บาดเจ็บจากการทำงานมีจำนวนกว่า 191,614 ราย โดยจังหวัดที่พบการบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ถึงร้อยละ 28.67 สมุทรปราการ ร้อยละ 15.83 และชลบุรี ร้อยละ 6.93
“ช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้นสาเหตุหลักที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่โดนวัตถุสิ่งของตัด บาด ทิ่มแทงกว่าร้อยละ 23.05 รองลงมาเป็นการถูกกระแทก ถูกชน ร้อยละ 15.03 โดนสารเคมีเข้าตาถึงร้อยละ 14.26 ส่วนกิจการที่มีลูกจ้างประสบอันตรายสูงสุดคือ กิจการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 7.82 ต่อปี รองลงมากิจการผลิตเครื่องดื่ม อาหาร ร้อยละ 5.69 และกิจการค้าเครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะร้อยละ 5.45 โดยภาพรวมแล้วอัตราการประสบอันตรายต่อลูกจ้าง 1,000 ราย มีแนวโน้มเฉลี่ยลดลงถึงร้อยละ 10.18 ต่อปี โดยในปี 2552 อัตราการประสบอุบัติเหตุอยู่ที่ 18.82 รายต่อพันราย และลดลงอยู่ที่อัตรา 12.55 รายต่อพันรายในปี 2556” นายอารักษ์ กล่าว
รองเลขาธิการ สปส. กล่าวด้วยว่า ส่วนสถานะของกองทุนเงินทดแทน ในส่วนของรายรับรายจ่ายนั้นจากสถิติพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กองทุนเงินทดแทนของ สปส. มีรายรับจากการเก็บเงินสมทบรวมกว่า 5,473 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายกว่า 2,073 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเงินทดแทนกว่า 1,752 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84.52 ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นค่าทดแทนกว่า 963 ล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลกว่า 766 ล้านบาท ค่าทำศพกว่า 19 ล้านบาท