คสรท.ถก ผู้บริหารสปส. หาช่องกฎหมายช่วยเหลือแรงงาน บ.สแตนเลย์ กรณีพิพาทกับนายจ้าง หลังถูกสั่งปิดงานเกือบ 6 เดือน ชี้พ้น 25 เม.ย. ขาดสิทธิประกันสังคม ขณะที่นายจ้างห่วงหากส่งเงินสมทบกระทบใช้สิทธิกฎหมายคุ้มครองแรงงานสั่งปิดงาน
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือกับนางอำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และนายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการ สปส. เกี่ยวกับการปัญหาสิทธิประกันสังคมของลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ เวิร์คส์ จำกัด เนื่องจากมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างสหภาพแรงงานสแตนเลย์กับบริษัท ซึ่งทางบริษัทจึงใช้สิทธิตามกฎหมายสั่งปิดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 2556 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 5 เดือน แต่ระยะเวลาการขยายสิทธิประกันสังคม จะสิ้นสุดในวันที่ 25 เม.ย. 2557 ซึ่งพ้นระยะเวลา 6 เดือนตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนดการให้สิทธิไว้ ทำให้ลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ จำนวน 44 คนที่มีข้อพิพาทกับนายจ้างไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่างๆ ได้
“ได้ขอให้ สปส. ช่วยพิจารณาในแง่กฎหมายว่า จะสามารถออกระเบียบหรือประกาศให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ก็ขอให้พิจารณาว่าให้ลูกจ้างสามารถส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมเองได้หรือไม่ เพื่อจะได้สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อไปได้ หากสามารถออกกฎหมายรองรับได้ก็ให้ลูกจ้างส่งเงินสมทบแบบเดือนต่อเดือนเริ่มจากเดือน พ.ค. นี้และส่งเงินสมทบต่อเนื่องไปจนกว่าการแก้ปัญหาข้อพิพาทจะได้ข้อยุติ และได้ขอให้ สปส. แจ้งผลการพิจารณาในแง่กฎหมายก่อนวันที่ 22 เม.ย. นี้ เพราะศาลแรงงานนัดไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในวันดังกล่าว” รองประธาน คสรท. กล่าว
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการ สปส. กล่าวว่า เลขาธิการ สปส. ได้สั่งการให้ตนไปศึกษาในแง่กฎหมายว่าจะสามารถออกประกาศหรือระเบียบเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ ไม่ให้ขาดสิทธิประกันสังคมได้หรือไม่ รวมทั้งให้ไปหารือกับนายจ้างด้วย ซึ่งจากการหารือกับนายจ้างมีข้อกังวลในประเด็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานในแง่ของการปิดงาน จึงขอให้ สปส. พิจารณาในแง่กฎหมายว่าหากนายจ้างช่วยส่งเงินสมทบจะมีผลกระทบตามที่มีข้อกังวลหรือไม่ ทั้งนี้ สปส. อยู่ระหว่างศึกษาในแง่กฎหมายของประกันสังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะให้ได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 25 เม.ย. นี้
“ประเด็นปัญหาข้างต้นถือเป็นเรื่องใหม่ที่ สปส. เพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรกเพราะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกฎหมายคุ้มครองแรงงานกับกฎหมายประกันสังคม จะต้องหาทางออกเพื่อช่วยลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ ไม่ให้ขาดสิทธิประกันสังคมโดยพิจารณาในแง่กฎหมายให้รอบคอบและรัดกุม ต่อไปในอนาคตอาจจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมเพื่ออุดช่องโหว่ในเรื่องนี้” นายอารักษ์ กล่าว
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือกับนางอำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และนายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการ สปส. เกี่ยวกับการปัญหาสิทธิประกันสังคมของลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ เวิร์คส์ จำกัด เนื่องจากมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างสหภาพแรงงานสแตนเลย์กับบริษัท ซึ่งทางบริษัทจึงใช้สิทธิตามกฎหมายสั่งปิดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 2556 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 5 เดือน แต่ระยะเวลาการขยายสิทธิประกันสังคม จะสิ้นสุดในวันที่ 25 เม.ย. 2557 ซึ่งพ้นระยะเวลา 6 เดือนตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนดการให้สิทธิไว้ ทำให้ลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ จำนวน 44 คนที่มีข้อพิพาทกับนายจ้างไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่างๆ ได้
“ได้ขอให้ สปส. ช่วยพิจารณาในแง่กฎหมายว่า จะสามารถออกระเบียบหรือประกาศให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ก็ขอให้พิจารณาว่าให้ลูกจ้างสามารถส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมเองได้หรือไม่ เพื่อจะได้สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อไปได้ หากสามารถออกกฎหมายรองรับได้ก็ให้ลูกจ้างส่งเงินสมทบแบบเดือนต่อเดือนเริ่มจากเดือน พ.ค. นี้และส่งเงินสมทบต่อเนื่องไปจนกว่าการแก้ปัญหาข้อพิพาทจะได้ข้อยุติ และได้ขอให้ สปส. แจ้งผลการพิจารณาในแง่กฎหมายก่อนวันที่ 22 เม.ย. นี้ เพราะศาลแรงงานนัดไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในวันดังกล่าว” รองประธาน คสรท. กล่าว
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการ สปส. กล่าวว่า เลขาธิการ สปส. ได้สั่งการให้ตนไปศึกษาในแง่กฎหมายว่าจะสามารถออกประกาศหรือระเบียบเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ ไม่ให้ขาดสิทธิประกันสังคมได้หรือไม่ รวมทั้งให้ไปหารือกับนายจ้างด้วย ซึ่งจากการหารือกับนายจ้างมีข้อกังวลในประเด็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานในแง่ของการปิดงาน จึงขอให้ สปส. พิจารณาในแง่กฎหมายว่าหากนายจ้างช่วยส่งเงินสมทบจะมีผลกระทบตามที่มีข้อกังวลหรือไม่ ทั้งนี้ สปส. อยู่ระหว่างศึกษาในแง่กฎหมายของประกันสังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะให้ได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 25 เม.ย. นี้
“ประเด็นปัญหาข้างต้นถือเป็นเรื่องใหม่ที่ สปส. เพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรกเพราะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกฎหมายคุ้มครองแรงงานกับกฎหมายประกันสังคม จะต้องหาทางออกเพื่อช่วยลูกจ้างบริษัท สแตนเลย์ ไม่ให้ขาดสิทธิประกันสังคมโดยพิจารณาในแง่กฎหมายให้รอบคอบและรัดกุม ต่อไปในอนาคตอาจจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมเพื่ออุดช่องโหว่ในเรื่องนี้” นายอารักษ์ กล่าว