สปส.ตั้งคณะทำงานศึกษาปรับปรุงประกาศกิจการที่ยกเว้นจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงแนวความคิดในการปรับปรุงกองทุนเงินทดแทนว่า มาตรา 44 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเงินทดแทน กำหนดให้กระทรวงแรงงานมีหน้าที่ในการออกประกาศกำหนดประเภทและขนาดของกิจการและท้องที่ ที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ ซึ่งมีประเภทกิจการบางอย่างที่มีประกาศยกเว้นไว้ อาทิ กิจการที่มีการจ้างงานเป็นฤดูกาลอย่างการเกษตร กิจการประมง กิจการด้านป่าไม้ หรือกิจการที่ไม่ได้มีการจ้างงานตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบันกิจการบางอย่างเช่น การเพาะปลูกก็มีการจ้างงานเกือบทุกฤดูกาล หรือการประมงที่มีความเกี่ยวเนื่องกับข้อกล่าวหาในเรื่องการค้ามนุษย์ว่า เมื่อเกิดอันตรายกับลูกจ้าง นายจ้างมีการดูแลอย่างไร การช่วยเหลือเข้าถึงหรือไม่ เป็นต้น
“ตอนนี้ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาว่า งานที่ประกาศยกเว้นไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนนั้นมีลักษณะการประสบอุบัติเหตุอย่างไร ร้ายแรงมากแค่ไหน และมีความถี่ในการเกิดเหตุบ่อยเท่าใด หากจะเปลี่ยนแปลงประกาศ เพื่อให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนจะมีผลดีผลเสียอย่างไร แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาพิจารณาในขั้นต้นและจะนำเข้าสู่คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพื่อให้พิจารณาต่อไป” นายอารักษ์ กล่าว
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการนำแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมแล้วกว่า 4 แสนคน และจะเร่งดำเนินการนำแรงงานต่างด้าวที่อีกหลายแสนคนที่เหลือเข้าสู่ประกันสังคมโดยเร็วที่สุดและจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำศูนย์วันสต๊อปเซอร์วิสของกรมการจัดหางาน (กกจ.) ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งดำเนินการด้านเอกสารให้แก่แรงงานต่างด้าวเพื่อเป็นแรงงานถูกกฎหมายและรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคมไปพร้อมกัน
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงแนวความคิดในการปรับปรุงกองทุนเงินทดแทนว่า มาตรา 44 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเงินทดแทน กำหนดให้กระทรวงแรงงานมีหน้าที่ในการออกประกาศกำหนดประเภทและขนาดของกิจการและท้องที่ ที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ ซึ่งมีประเภทกิจการบางอย่างที่มีประกาศยกเว้นไว้ อาทิ กิจการที่มีการจ้างงานเป็นฤดูกาลอย่างการเกษตร กิจการประมง กิจการด้านป่าไม้ หรือกิจการที่ไม่ได้มีการจ้างงานตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบันกิจการบางอย่างเช่น การเพาะปลูกก็มีการจ้างงานเกือบทุกฤดูกาล หรือการประมงที่มีความเกี่ยวเนื่องกับข้อกล่าวหาในเรื่องการค้ามนุษย์ว่า เมื่อเกิดอันตรายกับลูกจ้าง นายจ้างมีการดูแลอย่างไร การช่วยเหลือเข้าถึงหรือไม่ เป็นต้น
“ตอนนี้ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาว่า งานที่ประกาศยกเว้นไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนนั้นมีลักษณะการประสบอุบัติเหตุอย่างไร ร้ายแรงมากแค่ไหน และมีความถี่ในการเกิดเหตุบ่อยเท่าใด หากจะเปลี่ยนแปลงประกาศ เพื่อให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนจะมีผลดีผลเสียอย่างไร แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาพิจารณาในขั้นต้นและจะนำเข้าสู่คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพื่อให้พิจารณาต่อไป” นายอารักษ์ กล่าว
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการนำแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมแล้วกว่า 4 แสนคน และจะเร่งดำเนินการนำแรงงานต่างด้าวที่อีกหลายแสนคนที่เหลือเข้าสู่ประกันสังคมโดยเร็วที่สุดและจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำศูนย์วันสต๊อปเซอร์วิสของกรมการจัดหางาน (กกจ.) ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งดำเนินการด้านเอกสารให้แก่แรงงานต่างด้าวเพื่อเป็นแรงงานถูกกฎหมายและรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคมไปพร้อมกัน