ช่วยแรงงานบาดเจ็บ-เสียชีวิต ตึก รพ.รามาฯ ถล่ม ให้ใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนกรณีบาดเจ็บจ่ายค่ารักษาสูงสุดคนละ 5 แสนบาท กรณีเสียชีวิตให้เงินช่วยเหลือ 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 8 ปี และค่าทำศพรายละ 3 หมื่นบาท
วันนี้ (26 ก.พ.) นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงความช่วยเหลือแรงงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการถล่มของอาคารสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่าแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บ 17 คน และเสียชีวิต 10 คน รวมทั้งหมด 27 คน โดยเป็นลูกจ้างทั้งหมด ซึ่งแรงงานที่เสียชีวิตนั้นพบว่าเป็นแรงงานไทย 2 คน และกัมพูชา 8 คน โดยในจำนวนนี้แรงงานไทย 2 คน และแรงงานกัมพูชา 2 คนได้รับการขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนแล้ว ส่วนแรงงานกัมพูชาอีก 6 คน และแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บ 17 คน อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเป็นแรงงานไทย และต่างด้าวกี่คน นายจ้างเป็นบริษัทใด รวมทั้งได้นำขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนหรือไม่
รองเลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า สปส.จะช่วยเหลือแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้โดยให้ใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน เนื่องจากเป็นการบาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่างการทำงาน หากเป็นแรงงานที่ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนเรียบร้อยแล้ว หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการขึ้นทะเบียนก็จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนทันที แต่หากเป็นแรงงานที่นายจ้างยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนให้ สปส.จะออกหนังสือคำสั่งให้นายจ้างรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ที่กองทุนกำหนด รวมทั้งดำเนินคดีตามกฎหมาย เนื่องจากไม่นำแรงงานมาขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทน อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น สปส.จะให้แรงงานทุกคนได้ใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนโดยกรณีบาดเจ็บจากการทำงานกองทุนช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลวงเงินขั้นต่ำ 45,000 บาท และสูงสุดไม่เกินรายละ 5 แสนบาท โดยจ่ายค่ารักษาตามอาการ และหากรักษาพยาบาลแล้วต้องหยุดงานเพื่อพักฟื้นจะได้รับเงินช่วยเหลือ 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 1 ปี
นายอารักษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินช่วยเหลือ 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 15 ปี ส่วนลูกจ้างที่เสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนเงินทดแทนจะได้รับเงินช่วยเหลือ 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 8 ปี รวมทั้งค่าทำศพรายละ 3 หมื่นบาท หากทายาทยังเรียนอยู่ก็จะให้เงินช่วยเหลือกระทั่งจบการศึกษา ทั้งนี้ ขอเตือนไปยังนายจ้างว่าขอให้นำแรงงานทั้งคนไทยและต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมให้เรียบร้อยไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย รวมทั้งขอให้ผู้ว่าจ้างตรวจสอบว่ามีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และควรกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาจ้างเพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
วันนี้ (26 ก.พ.) นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงความช่วยเหลือแรงงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการถล่มของอาคารสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่าแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บ 17 คน และเสียชีวิต 10 คน รวมทั้งหมด 27 คน โดยเป็นลูกจ้างทั้งหมด ซึ่งแรงงานที่เสียชีวิตนั้นพบว่าเป็นแรงงานไทย 2 คน และกัมพูชา 8 คน โดยในจำนวนนี้แรงงานไทย 2 คน และแรงงานกัมพูชา 2 คนได้รับการขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนแล้ว ส่วนแรงงานกัมพูชาอีก 6 คน และแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บ 17 คน อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเป็นแรงงานไทย และต่างด้าวกี่คน นายจ้างเป็นบริษัทใด รวมทั้งได้นำขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนหรือไม่
รองเลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า สปส.จะช่วยเหลือแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้โดยให้ใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน เนื่องจากเป็นการบาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่างการทำงาน หากเป็นแรงงานที่ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนเรียบร้อยแล้ว หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการขึ้นทะเบียนก็จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนทันที แต่หากเป็นแรงงานที่นายจ้างยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนให้ สปส.จะออกหนังสือคำสั่งให้นายจ้างรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ที่กองทุนกำหนด รวมทั้งดำเนินคดีตามกฎหมาย เนื่องจากไม่นำแรงงานมาขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทน อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น สปส.จะให้แรงงานทุกคนได้ใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนโดยกรณีบาดเจ็บจากการทำงานกองทุนช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลวงเงินขั้นต่ำ 45,000 บาท และสูงสุดไม่เกินรายละ 5 แสนบาท โดยจ่ายค่ารักษาตามอาการ และหากรักษาพยาบาลแล้วต้องหยุดงานเพื่อพักฟื้นจะได้รับเงินช่วยเหลือ 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 1 ปี
นายอารักษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินช่วยเหลือ 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 15 ปี ส่วนลูกจ้างที่เสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนเงินทดแทนจะได้รับเงินช่วยเหลือ 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 8 ปี รวมทั้งค่าทำศพรายละ 3 หมื่นบาท หากทายาทยังเรียนอยู่ก็จะให้เงินช่วยเหลือกระทั่งจบการศึกษา ทั้งนี้ ขอเตือนไปยังนายจ้างว่าขอให้นำแรงงานทั้งคนไทยและต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมให้เรียบร้อยไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย รวมทั้งขอให้ผู้ว่าจ้างตรวจสอบว่ามีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และควรกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาจ้างเพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน