ASTVผู้จัดการรายวัน-วสท.ลงพื้นที่ตรวจตึก รพ.รามาธิบดี ถล่ม คาดสาเหตุมาจาก 3 ปัญหา แรงลม ทาวเวอร์เครนกระแทก และคอนครีตไม่ได้มาตรฐาน ผู้ว่าฯ สมุทรปราการ สั่งชะลอการก่อสร้าง จนกว่าจะได้ผลตรวจสอบ ยันแรงงานจะได้รับการดูแลเต็มที่ ด้านอิตาเลียนไทยยอมรับคาดไม่ถึง เหตุมีมาตรฐานการก่อสร้างสูง เตรียมหาสาเหตุก่อนนำไปใช้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
วานนี้ (26 ก.พ.) รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย วิศวกรด้านปฐพี วิศวกรด้านคอนกรีตและเหล็กเส้น วิศวกรด้านโครงสร้าง จาก วสท. เข้าตรวจสอบอาคารและพื้นที่ในจุดที่เกิดเหตุโครงสร้างอาคารของโครงการสถาบันการแพทย์ จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลังจากปล่องลิฟต์หรือสลิปฟอร์ม หักหล่นกระแทกแผ่นทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร 1 และอาคาร 2 จนถล่มลงมาทับคนงานด้านล่างจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 25 ก.พ.2557
รศ.สิริวัฒน์กล่าวว่า จากการสำรวจโดยรอบเบื้องต้น พบว่า การก่อสร้างแผ่นปูนทางเชื่อมระหว่างอาคาร มีความมั่นคงแข็งแรง แต่สาเหตุที่ทำให้ถล่มลงมาทับคนงาน เนื่องจากได้รับแรงกระแทกจากปล่องลิฟต์หรือสลิปฟอร์ม ที่มีความสูงจากพื้นราว 25-30 เมตร หักลงมากระแทกใส่จนแผ่นปูนดังกล่าวถล่มทับคนงานที่นั่งพักรับประทานอาหารอยู่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเมื่อตรวจสอบแท่งปูที่ทำเป็นปล่องลิฟต์พบว่ามีการหักโค่นช่วงกลางของแผ่นปูน โดยสาเหตุของการหักโค่นในครั้งนี้ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจจะเกิดความไม่สมดุลระหว่างดำเนินการก่อสร้าง หรืออาจจะมีสิ่งใดไปกระแทกด้านบนของปล่องลิฟต์ดังกล่าว จนทำให้หักโค่นลงมา
สำหรับแบบแปลนการก่อสร้างอาคาร จากการตรวจสอบแล้ว พบว่าได้มาตรฐาน เนื่องจากผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมาเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ จึงทำให้เชื่อได้ว่าอุบัติเหตุครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลิ่นเล่อ แต่ทั้งนี้ จะต้องมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก เพราะจะต้องมีการก่อสร้างปล่องลิฟต์อีกหลายตัว และจะต้องจะนำผลที่ได้ไปประมวลข้อมูลอีกครั้ง ส่วนการดำเนินการทางด้านของกฎหมาย หากตำรวจประสานขอข้อมูลจากการตรวจของ วสท. ก็ยินดีให้เพื่อนำไปประกอบสำนวนในการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น วสท. สันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก 3 สาเหตุหลัก คือ 1.แรงลมที่เข้ามาปะทะ จนทำให้พนังพังลงมา เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างใกล้ชายทะเล ส่วนกรณีที่พื้นดินอ่อนนั้นเชื่อว่าไม่ใช่สาเหตุ เนื่องจากโครงสร้างอาคารตั้งอยู่บนตอม่อดสาเข็มลึกลงไปในพื้นดินถึง 40 เมตร 2.เนื่องจากมีทาวเวอร์เครนอยู่ในที่เกิดเหตุ อาจเป็นไปได้ว่าทาวน์เวอร์เครนเหวียงมากระแทก และ 3.คอนกรีตที่นำมาใช้ อาจไม่ได้มาตรฐาน โดย วสท. ได้ทำการเจาะเนื้อคอนกรีตมาเข้าห้องเล็ปพิสูจน์แล้ว โดยคาดว่าจะสรุปผลได้ใน 15-30 วัน
ส่วนบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ ไม่มีการค้นหาร่างของผู้เสียชีวิตแล้ว โดยทางบริษัทผู้รับเหมาได้ล้อมเชือกโดยรอบพื้นที่เกิดเหตุและติดป้ายห้าม ไม่ให้บุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไป ส่วนจุดอื่นยังคงดำเนินการตามปกติ
ต่อมาเวลา 12.00 น. นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผวจ.สมุทรปราการ นายวิวัฒน์ ฉันทานุรักษ์ นายอำเภอบางพลี พ.ต.อ.ยงยุทธ เดชะรัฐ รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ พ.ต.อ.กรวัฒน์ หันประดิษฐ์ ผกก.สภ.บางพลี พร้อมด้วย 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่จุดเกิดเหตุ หลังประชุมร่วมกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
นายคณิตกล่าวว่า ยืนยันขณะนี้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 15 ราย โดยเป็นคนไทย 3 ราย ชาวกัมพูชา 8 ราย ซึ่งหลังจากนี้ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่อยู่ในสังกัด เช่น ประกันสังคม และสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเข้าดำเนินการช่วยเหลือทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพ โดยแรงงานที่เข้าถูกต้องตามกฎหมาย จะดูแลได้สิทธิ์เหมือนคนไทย โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น บริษัท อิตาเลียนไทยฯ และ รพ.รามาธิบดี ได้แสดงความรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่อยู่ในสังกัด เช่น ประกันสังคม และสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเข้าดำเนินการช่วยเหลือทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพแรงงานที่เข้าถูกต้องตามกฎหมาย จะดูแลได้สิทธิ์เหมือนคนไทย โดยลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานกองทุนเงินทดแทนจะดูแลค่ารักษารายละ 45,000-300,000 บาท และลูกจ้างที่ผู้เสียชีวิตจะได้รับเงิน 30,000 บาท และ 60% ของค่าจ้างอีกเป็นระยะเวลา8 ปี เมื่อคำนวณคร่าวๆ ตามค่าแรงขั้นต่ำ 300 จะได้ 460,000 บาท สูงสุดถึง 1.1 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่ได้รับ
นายคณิตกล่าวว่า จากการประชุม ทราบว่าต้นเหตุเกิดจากปล่องลิฟต์ จึงให้ชะลอการก่อสร้างทั้งหมดและให้บริษัทนำเหล็กมาทำเป็นคานไปยึดระหว่างแท่งปูนให้มั่นคงแข็งแรงเรียบร้อย และให้ระงับการก่อสร้างชั่วคราวจนกว่าทางคณะกรรมการจะตรวจสอบที่ทางจังหวัดตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษจะพบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ และรอดูผู้เชี่ยวชาญในทุกภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบว่าจุดไหนต้องทุบทิ้งหรือแก้ไขอย่างไร ส่วนที่มีข่าวว่ามีผู้สูญหาย 1-2 ราย อยู่ระหว่างสืบสวนว่าหายไปไหน แต่ขณะนี้ทางมูลนิธิได้ยุติการค้นหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทางด้านของคดี พ.ต.อ.ยงยุทธ เดชะรัฐ รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ กล่าวว่า ได้ตั้งไว้ 3 ประเด็นหลัก คือ เกิดจากความประมาทเลิ่นเล่อของบุคคลหรือไม่ เกิดจากวัสดุในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ และรูปแบบการก่อสร้างผิดไปจากแบบที่ขออนุญาตหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดต้องรอข้อมูลตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ก่อนให้พนักงานสอบสวนประสานขอข้อมูลมาประกอบสำนวน และหากพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดจากส่วนงานใด ก็จะแจ้งความเป็นรายบุคคลอีกครั้ง
นายวิรัช ก้องมณีรัตน์ รองประธานบริหารอาสุโส บริษัท อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า เป็นอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง เพราะเทคโนโลยีการก่อสร้างของบริษัทมีมาตรฐานสูงเป็นลำดับต้นๆ ของเมืองไทย ร่วมถึงการป้องกันอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน โดยไซน์งานดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างมาแล้ว 2 ปี ยังไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นเลย อีกทั้งงานก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนงาน ไม่ได้เร่งก่อสร้างจนทำให้งานไม่ได้คุณภาพ
โดยสาเหตุหลัก คาดว่าน่าเกิดจากแรงลมที่มาปะทะกับตัวผนังของโครงสร้างช่องบันไดที่มีความสูง 26 เมตร ซึ่งผนังดังกล่าวสร้างเป็นแท่งผนัง 2 ด้าน โดยมีแท่งเหล็กค้ำยันแนวนอนระหว่างผนังสองด้านเป็นช่วงๆ ส่วนด้านบนเป็นสลิปฟอร์ม หรือ แบบหล่อแนวดิ่งสำหรับหล่อคอนกรีต เมื่อแรงลมปะทะนานๆ เข้า อาจทำให้จุดเชื่อมบางจุดหลุดเลื่อนและพังถล่มลงมาได้ ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่หรือผู้เชียวชาญเข้าไปตรวจสอบหาสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้ง เพื่อนำไปแก้ไขกับการก่อสร้างโครงการอื่นๆ ต่อไป
วานนี้ (26 ก.พ.) รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย วิศวกรด้านปฐพี วิศวกรด้านคอนกรีตและเหล็กเส้น วิศวกรด้านโครงสร้าง จาก วสท. เข้าตรวจสอบอาคารและพื้นที่ในจุดที่เกิดเหตุโครงสร้างอาคารของโครงการสถาบันการแพทย์ จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลังจากปล่องลิฟต์หรือสลิปฟอร์ม หักหล่นกระแทกแผ่นทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร 1 และอาคาร 2 จนถล่มลงมาทับคนงานด้านล่างจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 25 ก.พ.2557
รศ.สิริวัฒน์กล่าวว่า จากการสำรวจโดยรอบเบื้องต้น พบว่า การก่อสร้างแผ่นปูนทางเชื่อมระหว่างอาคาร มีความมั่นคงแข็งแรง แต่สาเหตุที่ทำให้ถล่มลงมาทับคนงาน เนื่องจากได้รับแรงกระแทกจากปล่องลิฟต์หรือสลิปฟอร์ม ที่มีความสูงจากพื้นราว 25-30 เมตร หักลงมากระแทกใส่จนแผ่นปูนดังกล่าวถล่มทับคนงานที่นั่งพักรับประทานอาหารอยู่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเมื่อตรวจสอบแท่งปูที่ทำเป็นปล่องลิฟต์พบว่ามีการหักโค่นช่วงกลางของแผ่นปูน โดยสาเหตุของการหักโค่นในครั้งนี้ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจจะเกิดความไม่สมดุลระหว่างดำเนินการก่อสร้าง หรืออาจจะมีสิ่งใดไปกระแทกด้านบนของปล่องลิฟต์ดังกล่าว จนทำให้หักโค่นลงมา
สำหรับแบบแปลนการก่อสร้างอาคาร จากการตรวจสอบแล้ว พบว่าได้มาตรฐาน เนื่องจากผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมาเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ จึงทำให้เชื่อได้ว่าอุบัติเหตุครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลิ่นเล่อ แต่ทั้งนี้ จะต้องมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก เพราะจะต้องมีการก่อสร้างปล่องลิฟต์อีกหลายตัว และจะต้องจะนำผลที่ได้ไปประมวลข้อมูลอีกครั้ง ส่วนการดำเนินการทางด้านของกฎหมาย หากตำรวจประสานขอข้อมูลจากการตรวจของ วสท. ก็ยินดีให้เพื่อนำไปประกอบสำนวนในการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น วสท. สันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก 3 สาเหตุหลัก คือ 1.แรงลมที่เข้ามาปะทะ จนทำให้พนังพังลงมา เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างใกล้ชายทะเล ส่วนกรณีที่พื้นดินอ่อนนั้นเชื่อว่าไม่ใช่สาเหตุ เนื่องจากโครงสร้างอาคารตั้งอยู่บนตอม่อดสาเข็มลึกลงไปในพื้นดินถึง 40 เมตร 2.เนื่องจากมีทาวเวอร์เครนอยู่ในที่เกิดเหตุ อาจเป็นไปได้ว่าทาวน์เวอร์เครนเหวียงมากระแทก และ 3.คอนกรีตที่นำมาใช้ อาจไม่ได้มาตรฐาน โดย วสท. ได้ทำการเจาะเนื้อคอนกรีตมาเข้าห้องเล็ปพิสูจน์แล้ว โดยคาดว่าจะสรุปผลได้ใน 15-30 วัน
ส่วนบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ ไม่มีการค้นหาร่างของผู้เสียชีวิตแล้ว โดยทางบริษัทผู้รับเหมาได้ล้อมเชือกโดยรอบพื้นที่เกิดเหตุและติดป้ายห้าม ไม่ให้บุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไป ส่วนจุดอื่นยังคงดำเนินการตามปกติ
ต่อมาเวลา 12.00 น. นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผวจ.สมุทรปราการ นายวิวัฒน์ ฉันทานุรักษ์ นายอำเภอบางพลี พ.ต.อ.ยงยุทธ เดชะรัฐ รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ พ.ต.อ.กรวัฒน์ หันประดิษฐ์ ผกก.สภ.บางพลี พร้อมด้วย 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่จุดเกิดเหตุ หลังประชุมร่วมกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
นายคณิตกล่าวว่า ยืนยันขณะนี้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 15 ราย โดยเป็นคนไทย 3 ราย ชาวกัมพูชา 8 ราย ซึ่งหลังจากนี้ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่อยู่ในสังกัด เช่น ประกันสังคม และสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเข้าดำเนินการช่วยเหลือทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพ โดยแรงงานที่เข้าถูกต้องตามกฎหมาย จะดูแลได้สิทธิ์เหมือนคนไทย โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น บริษัท อิตาเลียนไทยฯ และ รพ.รามาธิบดี ได้แสดงความรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่อยู่ในสังกัด เช่น ประกันสังคม และสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเข้าดำเนินการช่วยเหลือทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพแรงงานที่เข้าถูกต้องตามกฎหมาย จะดูแลได้สิทธิ์เหมือนคนไทย โดยลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานกองทุนเงินทดแทนจะดูแลค่ารักษารายละ 45,000-300,000 บาท และลูกจ้างที่ผู้เสียชีวิตจะได้รับเงิน 30,000 บาท และ 60% ของค่าจ้างอีกเป็นระยะเวลา8 ปี เมื่อคำนวณคร่าวๆ ตามค่าแรงขั้นต่ำ 300 จะได้ 460,000 บาท สูงสุดถึง 1.1 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่ได้รับ
นายคณิตกล่าวว่า จากการประชุม ทราบว่าต้นเหตุเกิดจากปล่องลิฟต์ จึงให้ชะลอการก่อสร้างทั้งหมดและให้บริษัทนำเหล็กมาทำเป็นคานไปยึดระหว่างแท่งปูนให้มั่นคงแข็งแรงเรียบร้อย และให้ระงับการก่อสร้างชั่วคราวจนกว่าทางคณะกรรมการจะตรวจสอบที่ทางจังหวัดตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษจะพบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ และรอดูผู้เชี่ยวชาญในทุกภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบว่าจุดไหนต้องทุบทิ้งหรือแก้ไขอย่างไร ส่วนที่มีข่าวว่ามีผู้สูญหาย 1-2 ราย อยู่ระหว่างสืบสวนว่าหายไปไหน แต่ขณะนี้ทางมูลนิธิได้ยุติการค้นหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทางด้านของคดี พ.ต.อ.ยงยุทธ เดชะรัฐ รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ กล่าวว่า ได้ตั้งไว้ 3 ประเด็นหลัก คือ เกิดจากความประมาทเลิ่นเล่อของบุคคลหรือไม่ เกิดจากวัสดุในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ และรูปแบบการก่อสร้างผิดไปจากแบบที่ขออนุญาตหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดต้องรอข้อมูลตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ก่อนให้พนักงานสอบสวนประสานขอข้อมูลมาประกอบสำนวน และหากพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดจากส่วนงานใด ก็จะแจ้งความเป็นรายบุคคลอีกครั้ง
นายวิรัช ก้องมณีรัตน์ รองประธานบริหารอาสุโส บริษัท อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า เป็นอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง เพราะเทคโนโลยีการก่อสร้างของบริษัทมีมาตรฐานสูงเป็นลำดับต้นๆ ของเมืองไทย ร่วมถึงการป้องกันอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน โดยไซน์งานดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างมาแล้ว 2 ปี ยังไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นเลย อีกทั้งงานก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนงาน ไม่ได้เร่งก่อสร้างจนทำให้งานไม่ได้คุณภาพ
โดยสาเหตุหลัก คาดว่าน่าเกิดจากแรงลมที่มาปะทะกับตัวผนังของโครงสร้างช่องบันไดที่มีความสูง 26 เมตร ซึ่งผนังดังกล่าวสร้างเป็นแท่งผนัง 2 ด้าน โดยมีแท่งเหล็กค้ำยันแนวนอนระหว่างผนังสองด้านเป็นช่วงๆ ส่วนด้านบนเป็นสลิปฟอร์ม หรือ แบบหล่อแนวดิ่งสำหรับหล่อคอนกรีต เมื่อแรงลมปะทะนานๆ เข้า อาจทำให้จุดเชื่อมบางจุดหลุดเลื่อนและพังถล่มลงมาได้ ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่หรือผู้เชียวชาญเข้าไปตรวจสอบหาสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้ง เพื่อนำไปแก้ไขกับการก่อสร้างโครงการอื่นๆ ต่อไป