กรมอนามัยเร่งดันวัดส่งเสริมสุขภาพ ยึดหลัก 5 ร. ระบุผ่านเกณฑ์ประเมินแล้วกว่า 2.9 พันแห่ง
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการเสริมพลังการจัดการความรู้ (KM) วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน ว่า จากการศึกษาสุขภาพพระภิกษุ สามเณร จำนวน 98,561 รูป เมื่อปี 2554 โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า สุขภาพปกติร้อยละ 55 ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน พระสงฆ์บางรูปป่วยมากกว่า 1 โรค พระสงฆ์ร้อยละ 5 อยู่ในภาวะอ้วน ขณะที่การดูแลส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์จากชุมชนยังไม่มีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจน เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค และก้าวเข้าสู่การมีสุขภาวะอย่างยั่งยืน
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) สนับสนุนให้พระสงฆ์และวัดมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ เป็นศูนย์กลางสุขภาพของชุมชน และมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ เน้นสนับสนุนให้พระสงฆ์เป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยยึดหลัก 5 ร. คือ 1. ร่มรื่น สะอาดด้วยอาคารสถานที่ บริเวณวัด ลานใจ และสภาพแวดล้อมในวัดที่ถูกหลักสุขภาพ 2. ร่มเย็น สงบด้วยการเทศนา แสดงธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแพร่ธรรมประสานใจทั้งพระสงฆ์และฆราวาส 3. ร่วมสร้างสุขภาพ ด้วยการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ สามเณร บุคลากรในวัดและประชาชน ด้วยกิจกรรมที่เอื้อต่อการดูแลส่งเสริมรักษาสุขภาพชุมชน 4. ร่วมจิตวิญญาณ ด้วยการดำรงรักษา สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5. ร่วมพัฒนา ด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆารวาส ส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน
“ทั้งนี้ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตัวชี้วัดกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข และดำเนินการพัฒนาวัดให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงานและจัดทำร่างเกณฑ์วัดส่งเสริมสุขภาพปลอดโรคร่วมกัน โดยในปี 2556 ได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ เพื่อพิจารณามาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพและพิจารณาจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนวัดส่งเสริมสุขภาพในปี 2557 ส่งผลให้ขณะนี้มีวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพแล้ว จำนวน 2,913 วัด แบ่งเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จำนวน 798 วัด และวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐานวัดส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 2,115 วัด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการเสริมพลังการจัดการความรู้ (KM) วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน ว่า จากการศึกษาสุขภาพพระภิกษุ สามเณร จำนวน 98,561 รูป เมื่อปี 2554 โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า สุขภาพปกติร้อยละ 55 ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน พระสงฆ์บางรูปป่วยมากกว่า 1 โรค พระสงฆ์ร้อยละ 5 อยู่ในภาวะอ้วน ขณะที่การดูแลส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์จากชุมชนยังไม่มีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจน เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค และก้าวเข้าสู่การมีสุขภาวะอย่างยั่งยืน
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) สนับสนุนให้พระสงฆ์และวัดมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ เป็นศูนย์กลางสุขภาพของชุมชน และมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ เน้นสนับสนุนให้พระสงฆ์เป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยยึดหลัก 5 ร. คือ 1. ร่มรื่น สะอาดด้วยอาคารสถานที่ บริเวณวัด ลานใจ และสภาพแวดล้อมในวัดที่ถูกหลักสุขภาพ 2. ร่มเย็น สงบด้วยการเทศนา แสดงธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแพร่ธรรมประสานใจทั้งพระสงฆ์และฆราวาส 3. ร่วมสร้างสุขภาพ ด้วยการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ สามเณร บุคลากรในวัดและประชาชน ด้วยกิจกรรมที่เอื้อต่อการดูแลส่งเสริมรักษาสุขภาพชุมชน 4. ร่วมจิตวิญญาณ ด้วยการดำรงรักษา สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5. ร่วมพัฒนา ด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆารวาส ส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน
“ทั้งนี้ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตัวชี้วัดกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข และดำเนินการพัฒนาวัดให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงานและจัดทำร่างเกณฑ์วัดส่งเสริมสุขภาพปลอดโรคร่วมกัน โดยในปี 2556 ได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ เพื่อพิจารณามาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพและพิจารณาจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนวัดส่งเสริมสุขภาพในปี 2557 ส่งผลให้ขณะนี้มีวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพแล้ว จำนวน 2,913 วัด แบ่งเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จำนวน 798 วัด และวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐานวัดส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 2,115 วัด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว