สปสช. เดินหน้าโครงการดูแลคนแก่ระยะยาว เน้นดูแลสุขภาพทั้งที่บ้าน และที่ชุมชน เน้นกลุ่มติดบ้านติดเตียง รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันที่ 13 เม.ย. ของทุกปี นอกจากเป็นวันสงกรานต์แล้ว ยังเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ด้วย ทั้งนี้ จากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรพบว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้สูงอายุนอกจากปัญหาสุขภาพที่มาจากความเสื่อมของสภาพร่างกายตามวัยแล้ว ยังเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนและนำไปสู่ภาวะทุพลภาพและการพึ่งพึง ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จำเป็นต้องมีการปรับระบบบริการสุขภาพให้สามารถรองรับดูแลผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นนี้
นพ.วินัยกล่าวว่า จากสถานการณ์ข้างต้น บอร์ด สปสช. จึงจัดเตรียมระบบและความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อรองรับ โดยแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” ขึ้น โดยมีบทบาทหน้าที่ในการประสานและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุทุกสิทธิที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทางคณะอนุกรรมการฯ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเน้นรูปแบบ Home care และ community care เพื่อขับเคลื่อน 6 ด้านด้วยกัน คือ 1. การคัดกรองผู้สูงอายุ และพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน 2. การพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชน 3. การพัฒนาระบบการเงินการคลัง และชุดสิทธิประโยชน์ 4. การพัฒนากำลังคนเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวในชุมชน 5. การสร้าง การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล และ 6. การพัฒนากฎหมาย/ระเบียบ/ มาตรฐาน และการบริหารจัดการ
นพ.วินัยกล่าวว่า พร้อมกันนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 คณะ ได้แก่ คณะทำงานพัฒนาระบบการคัดกรองประเมินและระบบข้อมูลสารสนเทศการดูแลผู้สูงอายุ และคณะทำงานพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ โดยขณะนี้คณะทำงานฯ ทั้ง 2 คณะนี้ ได้จัดทำเครื่องมือ ระบบฐานข้อมูล และชุดสิทธิประโยชน์บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนิน “โครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน” ที่เป็นการวิจัยนำร่องใน 8 พื้นที่ เพื่อทดสอบหารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมที่สุด
“การดูแลผู้สูงอายุในโครงการนำร่องนี้จะเน้นไปยังพื้นที่ ซึ่งมีผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพและอยู่ในภาวะพึ่งพิงในระดับปานกลางและระดับรุนแรง คือกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดเตียง โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาเชิงระบบที่มีความเชื่อมโยงของการจัดระบบบริการครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำระบบเพื่อรองรับ การสนับสนุนการคลัง การปรับระบบบริการในสถานพยาบาลรองรับ ระบบบริการชุมชน การพัฒนากำลังคนและทรัพยากร รวมถึงการจัดทำระบบข้อมูล พร้อมกันนี้ยังต้องเชื่อมโยงกลไกการทำงานของหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด รวมถึงกลไกที่มีอยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกองทุน อบต. กองทุน อบจ. อปท. และ สสจ. เป็นต้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ทั้งนี้โครงการนำร่องนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 16 เดือน ตั้งแต่มกราคม 2557 ถึงเมษายน 2558 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการนำมาประเมินผล ปรับปรุง ก่อนขยายรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุนี้ไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันที่ 13 เม.ย. ของทุกปี นอกจากเป็นวันสงกรานต์แล้ว ยังเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ด้วย ทั้งนี้ จากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรพบว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้สูงอายุนอกจากปัญหาสุขภาพที่มาจากความเสื่อมของสภาพร่างกายตามวัยแล้ว ยังเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนและนำไปสู่ภาวะทุพลภาพและการพึ่งพึง ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จำเป็นต้องมีการปรับระบบบริการสุขภาพให้สามารถรองรับดูแลผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นนี้
นพ.วินัยกล่าวว่า จากสถานการณ์ข้างต้น บอร์ด สปสช. จึงจัดเตรียมระบบและความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อรองรับ โดยแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” ขึ้น โดยมีบทบาทหน้าที่ในการประสานและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุทุกสิทธิที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทางคณะอนุกรรมการฯ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเน้นรูปแบบ Home care และ community care เพื่อขับเคลื่อน 6 ด้านด้วยกัน คือ 1. การคัดกรองผู้สูงอายุ และพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน 2. การพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชน 3. การพัฒนาระบบการเงินการคลัง และชุดสิทธิประโยชน์ 4. การพัฒนากำลังคนเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวในชุมชน 5. การสร้าง การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล และ 6. การพัฒนากฎหมาย/ระเบียบ/ มาตรฐาน และการบริหารจัดการ
นพ.วินัยกล่าวว่า พร้อมกันนี้ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 คณะ ได้แก่ คณะทำงานพัฒนาระบบการคัดกรองประเมินและระบบข้อมูลสารสนเทศการดูแลผู้สูงอายุ และคณะทำงานพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ โดยขณะนี้คณะทำงานฯ ทั้ง 2 คณะนี้ ได้จัดทำเครื่องมือ ระบบฐานข้อมูล และชุดสิทธิประโยชน์บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนิน “โครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน” ที่เป็นการวิจัยนำร่องใน 8 พื้นที่ เพื่อทดสอบหารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมที่สุด
“การดูแลผู้สูงอายุในโครงการนำร่องนี้จะเน้นไปยังพื้นที่ ซึ่งมีผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพและอยู่ในภาวะพึ่งพิงในระดับปานกลางและระดับรุนแรง คือกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดเตียง โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาเชิงระบบที่มีความเชื่อมโยงของการจัดระบบบริการครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำระบบเพื่อรองรับ การสนับสนุนการคลัง การปรับระบบบริการในสถานพยาบาลรองรับ ระบบบริการชุมชน การพัฒนากำลังคนและทรัพยากร รวมถึงการจัดทำระบบข้อมูล พร้อมกันนี้ยังต้องเชื่อมโยงกลไกการทำงานของหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด รวมถึงกลไกที่มีอยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกองทุน อบต. กองทุน อบจ. อปท. และ สสจ. เป็นต้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ทั้งนี้โครงการนำร่องนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 16 เดือน ตั้งแต่มกราคม 2557 ถึงเมษายน 2558 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการนำมาประเมินผล ปรับปรุง ก่อนขยายรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุนี้ไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป