สธ. เตรียมเดินหน้าควบคุมเชื้อมาลาเรียดื้อยาระยะที่ 2 เร่งตรวจเลือดค้นหาเชื้อมาลาเรียทั้งคนไทยและต่างด้าว ใน 27 จังหวัด ชี้ตรวจพบรักษาฟรี พร้อมติดตามการกินยาให้ครบสูตร พร้อมเล็งศึกษาวงจรชีวิตยุงก้นปล่อง่อการดื้อสารเคมี หวังควบคุมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 25 เม.ย. ของทุกปีเป็นวันมาลาเรียโลก ซึ่งสถานการณ์ในไทยดีขึ้น แนวโน้มพบผู้ป่วยน้อยลง แต่กลับพบการดื้อยามาลาเรียเชื้อชนิดฟัลซิพารัม ต่อยาสูตรยาเดี่ยว ครั้งแรกปี 2543 ที่บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา และมีแนวโน้มกระจายไปยังชายแดนไทย - พม่า และพื้นที่อื่นๆ จากการเคลื่อนย้ายแรงงาน สธ.จึงได้เร่งแก้ไขปัญหา โดยจัดโครงการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยาผสมอนุพันธุ์อาร์ติมิซินิน ตั้งแต่ปี 2544-2559 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ดำเนินการในพื้นที่ 43 จังหวัด ปี 2554-2555 ดำเนินการครอบคลุมหมู่บ้านแพร่เชื้อมาลาเรีย 2,578 หมู่บ้าน และระยะที่ 2 ช่วงปี 2556-2559 ในพื้นที่เสี่ยง 27 จังหวัดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ชายแดนไทย-พม่า และชายแดนไทย - มาเลเซีย ที่มีการดื้อยา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกรวม 3 ปี จำนวน 647 ล้านกว่าบาท
ด้าน นพ.โสภณ เฆมธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การควบคุมปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อยาในระยะที่ 2 จะดำเนินการในหมู่บ้านใน 27 จังหวัด รวม 2,876 หมู่บ้าน โดยจะตรวจเลือดค้นหาเชื้อมาลาเรียในประชาชนไทยและต่างด้าว หากตรวจพบจะทำการรักษาฟรีทุกราย โดยตั้งคลินิกมาลาเรียในชุมชน 188 แห่ง และตั้งตามแนวชายแดนอีก 25 แห่ง โดยอบรมพนักงานเพื่อตรวจรักษา ติดตามผู้ป่วยเพื่อกินยาให้ครบสูตร 3 วัน และติดตามต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยกินยาและหายขาดไม่กลับมาป่วยซ้ำอีก ภายใน 28 วันหลังรักษาครั้งแรก นอกจากนี้ จะมีการพ่นสารเคมีตามบ้านเรือนเพื่อฆ่ายุงก้นปล่องและแจกมุ้งชุบสารไพรีทรอย ฤทธิ์คงทนใช้ได้นาน 3 ปี และแจกซ้ำทุก 3 ปี แจกยาทากันยุง รวมทั้งการเผยแพร่คำแนะนำป้องกันโรคมาลาเรียเป็นภาษาท้องถิ่นหรือภาษาพม่า เป็นต้น โดยร่วมมือกับองค์เอกชนองค์กรนานาชาติอย่างใกล้ชิด
นพ.โสภณ กล่าวว่า จะมีการศึกษาวิจัยปัญหามาลาเรีย ทั้งในด้านการตรวจค้นหาผู้ป่วยและการรักษา การวิจัยเพื่อการป้องกันปัญหาการกลับมาป่วยซ้ำของผู้ป่วยเชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ ในพื้นที่ที่มีปัญหาชุกชุม การวิจัยการรักษามาลาเรียในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะดำเนินงานที่จังหวัดตาก และการวิจัยวงจรชีวิตยุงก้นปล่องที่ชายแดนไทย - พม่า ทั้งพฤติกรรม นิสัย และการดื้อต่อสารเคมี ซึ่งจะทำให้การควบคุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 25 เม.ย. ของทุกปีเป็นวันมาลาเรียโลก ซึ่งสถานการณ์ในไทยดีขึ้น แนวโน้มพบผู้ป่วยน้อยลง แต่กลับพบการดื้อยามาลาเรียเชื้อชนิดฟัลซิพารัม ต่อยาสูตรยาเดี่ยว ครั้งแรกปี 2543 ที่บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา และมีแนวโน้มกระจายไปยังชายแดนไทย - พม่า และพื้นที่อื่นๆ จากการเคลื่อนย้ายแรงงาน สธ.จึงได้เร่งแก้ไขปัญหา โดยจัดโครงการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยาผสมอนุพันธุ์อาร์ติมิซินิน ตั้งแต่ปี 2544-2559 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ดำเนินการในพื้นที่ 43 จังหวัด ปี 2554-2555 ดำเนินการครอบคลุมหมู่บ้านแพร่เชื้อมาลาเรีย 2,578 หมู่บ้าน และระยะที่ 2 ช่วงปี 2556-2559 ในพื้นที่เสี่ยง 27 จังหวัดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ชายแดนไทย-พม่า และชายแดนไทย - มาเลเซีย ที่มีการดื้อยา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกรวม 3 ปี จำนวน 647 ล้านกว่าบาท
ด้าน นพ.โสภณ เฆมธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การควบคุมปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อยาในระยะที่ 2 จะดำเนินการในหมู่บ้านใน 27 จังหวัด รวม 2,876 หมู่บ้าน โดยจะตรวจเลือดค้นหาเชื้อมาลาเรียในประชาชนไทยและต่างด้าว หากตรวจพบจะทำการรักษาฟรีทุกราย โดยตั้งคลินิกมาลาเรียในชุมชน 188 แห่ง และตั้งตามแนวชายแดนอีก 25 แห่ง โดยอบรมพนักงานเพื่อตรวจรักษา ติดตามผู้ป่วยเพื่อกินยาให้ครบสูตร 3 วัน และติดตามต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยกินยาและหายขาดไม่กลับมาป่วยซ้ำอีก ภายใน 28 วันหลังรักษาครั้งแรก นอกจากนี้ จะมีการพ่นสารเคมีตามบ้านเรือนเพื่อฆ่ายุงก้นปล่องและแจกมุ้งชุบสารไพรีทรอย ฤทธิ์คงทนใช้ได้นาน 3 ปี และแจกซ้ำทุก 3 ปี แจกยาทากันยุง รวมทั้งการเผยแพร่คำแนะนำป้องกันโรคมาลาเรียเป็นภาษาท้องถิ่นหรือภาษาพม่า เป็นต้น โดยร่วมมือกับองค์เอกชนองค์กรนานาชาติอย่างใกล้ชิด
นพ.โสภณ กล่าวว่า จะมีการศึกษาวิจัยปัญหามาลาเรีย ทั้งในด้านการตรวจค้นหาผู้ป่วยและการรักษา การวิจัยเพื่อการป้องกันปัญหาการกลับมาป่วยซ้ำของผู้ป่วยเชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ ในพื้นที่ที่มีปัญหาชุกชุม การวิจัยการรักษามาลาเรียในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะดำเนินงานที่จังหวัดตาก และการวิจัยวงจรชีวิตยุงก้นปล่องที่ชายแดนไทย - พม่า ทั้งพฤติกรรม นิสัย และการดื้อต่อสารเคมี ซึ่งจะทำให้การควบคุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น