สธ.เตือนนักแคมปิ้งกางเต็นท์นอนในป่าช่วงหยุดยาวฉลองปีใหม่ นำเตาถ่าน หรือเตาแก๊สปิกนิกเข้าเต็นท์ เสี่ยงเสียชีวิตไม่รู้ตัว แนะระวังยุงก้นปล่อง-ไรอ่อนตัวแพร่เชื้อแนะให้เตรียมเครื่องป้องกันให้พร้อมเผยยอดผู้ป่วยแล้ว 2 พันกว่าราย
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงวันหยุดปีใหม่ คาดว่าจะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นในภาคเหนือและอีสาน และอาจจัดแคมปิ้งกางเต็นท์นอนในป่า ขอให้ใช้เต็นท์อย่างปลอดภัย ไม่นำเตาถ่านหรือเตาแก๊สปิกนิก เข้าไปผิงภายในเต็นท์ เนื่องจากมีอันตราย ทำให้ขาดอากาศหายใจในขณะหลับและเสียชีวิตได้ เนื่องจากการเผาไหม้จะมีการเผาผลาญออกซิเจนในอากาศภายในเต็นท์ แล้วเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ทดแทน วิธีการผิงไฟที่ถูกต้องนั้น ควรนำเตาถ่านหรือก่อกองไฟบริเวณที่โล่ง อากาศปลอดโปร่ง ตรงบริเวณหน้าเต็นท์ ระยะห่างพอสมควร หากไปกันหลายคน ควรนำเต็นท์มากางล้อมเป็นวงกลม โดยก่อกองไฟไว้ตรงกลาง จะทำให้เกิดความอบอุ่นได้ดีกว่า นอกจากนี้ ต้องระวังอีก 2 โรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่ตั้งแคมป์ในป่า คือโรคสครัปไทฟัส (Scrub typhus) หรือโรคไข้รากสาดใหญ่ และโรคมาลาเรีย ซึ่งมีตัวแพร่เชื้ออยู่ในป่าเขา และพบเชื้อได้ตลอดปี จึงขอให้เตรียมเครื่องป้องกันไปด้วย
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคสครับไทฟัส พบได้ทุกฤดู เกิดจากตัวไรอ่อนที่มีเชื้อโรคกัด ตัวไรอ่อนจะอาศัยตามพุ่มไม้ในป่าที่มีอากาศชื้น แสงแดดส่องไม่ถึง เมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าสู่คนทำให้ป่วย ตัวไรอ่อนมักจะเข้าไปกัดอวัยวะที่อยู่ในร่มผ้า เช่น ขาหนีบ เอว ใต้ราวนม รักแร้ หลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน จะมีอาการป่วยคือ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะบริเวณขมับและหน้าผากอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา ไอแห้งๆ ผู้ป่วยร้อยละ 30-40 จะพบแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ (eschar) ตรงบริเวณที่ถูกกัด ลักษณะสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20 อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ อาจเสียชีวิตได้ ในช่วง 3 เดือนฤดูหนาวปี 2556นี้ ตั้งแต่ตุลาคม -ธันวาคม มีผู้ป่วย 2,464 ราย พบในภาคเหนือมากที่สุด เสียชีวิต 1 ราย
“ขอแนะนำให้เก็บกวาดพื้นที่ให้โล่งเตียนก่อนกางเต็นท์ หรือตั้งแคมป์ หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบนพื้นหญ้า บริเวณพุ่มไม้ ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และทาโลชั่นกันยุง หรือใช้สมุนไพรทากันยุง สามารถป้องกันไรอ่อนกัดได้ หลังออกจากป่าให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย และซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้สะอาด ด้วยผงซักฟอกเข้มข้น เพราะอาจมีตัวไรติดมากับร่างกายหรือเสื้อผ้าได้ สำหรับโรคมาลาเรีย หรือไข้ป่า หรือไข้จับสั่น เกิดจากยุงก้นปล่องที่มีเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในป่ากัด พบผู้ป่วยตลอดปี ในช่วง 3 เดือนปีนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม พบผู้ป่วย 2,675 ราย หลังถูกยุงกัดประมาณ 14 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ บางรายมีอาการหนาวสั่น หากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เชื้อขึ้นสมอง หมดสติ เม็ดเลือดแดงแตก ไตวาย เสียชีวิตได้ ในการป้องกันไม่ควรออกนอกบ้านในเวลาที่ยุงออกหากิน โดยเฉพาะในช่วงหัวค่ำและใกล้สว่าง ควรอยู่ในที่สว่างโดยก่อกองไฟไว้ สวมใส่เสื้อผ้าให้คลุมร่างกายโดยเฉพาะแขนและขา ใช้ยาทากันยุงหรือจุดยากันยุงและนอนในมุ้งที่มีสภาพดี ไม่ขาด และทายากันยุงกัด ทั้งนี้หลังจากออกจากป่าแล้วภายใน 15 วัน หากมีอาการป่วย คือไข้สูง ปวดศีรษะขอให้พบแพทย์และแจ้งประวัติการเข้าป่าให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อสามารถให้การรักษาอย่างถูกต้อง ป้องกันการเสียชีวิตได้” นพ.โสภณ กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงวันหยุดปีใหม่ คาดว่าจะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นในภาคเหนือและอีสาน และอาจจัดแคมปิ้งกางเต็นท์นอนในป่า ขอให้ใช้เต็นท์อย่างปลอดภัย ไม่นำเตาถ่านหรือเตาแก๊สปิกนิก เข้าไปผิงภายในเต็นท์ เนื่องจากมีอันตราย ทำให้ขาดอากาศหายใจในขณะหลับและเสียชีวิตได้ เนื่องจากการเผาไหม้จะมีการเผาผลาญออกซิเจนในอากาศภายในเต็นท์ แล้วเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ทดแทน วิธีการผิงไฟที่ถูกต้องนั้น ควรนำเตาถ่านหรือก่อกองไฟบริเวณที่โล่ง อากาศปลอดโปร่ง ตรงบริเวณหน้าเต็นท์ ระยะห่างพอสมควร หากไปกันหลายคน ควรนำเต็นท์มากางล้อมเป็นวงกลม โดยก่อกองไฟไว้ตรงกลาง จะทำให้เกิดความอบอุ่นได้ดีกว่า นอกจากนี้ ต้องระวังอีก 2 โรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่ตั้งแคมป์ในป่า คือโรคสครัปไทฟัส (Scrub typhus) หรือโรคไข้รากสาดใหญ่ และโรคมาลาเรีย ซึ่งมีตัวแพร่เชื้ออยู่ในป่าเขา และพบเชื้อได้ตลอดปี จึงขอให้เตรียมเครื่องป้องกันไปด้วย
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคสครับไทฟัส พบได้ทุกฤดู เกิดจากตัวไรอ่อนที่มีเชื้อโรคกัด ตัวไรอ่อนจะอาศัยตามพุ่มไม้ในป่าที่มีอากาศชื้น แสงแดดส่องไม่ถึง เมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าสู่คนทำให้ป่วย ตัวไรอ่อนมักจะเข้าไปกัดอวัยวะที่อยู่ในร่มผ้า เช่น ขาหนีบ เอว ใต้ราวนม รักแร้ หลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน จะมีอาการป่วยคือ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะบริเวณขมับและหน้าผากอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา ไอแห้งๆ ผู้ป่วยร้อยละ 30-40 จะพบแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ (eschar) ตรงบริเวณที่ถูกกัด ลักษณะสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20 อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ อาจเสียชีวิตได้ ในช่วง 3 เดือนฤดูหนาวปี 2556นี้ ตั้งแต่ตุลาคม -ธันวาคม มีผู้ป่วย 2,464 ราย พบในภาคเหนือมากที่สุด เสียชีวิต 1 ราย
“ขอแนะนำให้เก็บกวาดพื้นที่ให้โล่งเตียนก่อนกางเต็นท์ หรือตั้งแคมป์ หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบนพื้นหญ้า บริเวณพุ่มไม้ ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และทาโลชั่นกันยุง หรือใช้สมุนไพรทากันยุง สามารถป้องกันไรอ่อนกัดได้ หลังออกจากป่าให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย และซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้สะอาด ด้วยผงซักฟอกเข้มข้น เพราะอาจมีตัวไรติดมากับร่างกายหรือเสื้อผ้าได้ สำหรับโรคมาลาเรีย หรือไข้ป่า หรือไข้จับสั่น เกิดจากยุงก้นปล่องที่มีเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในป่ากัด พบผู้ป่วยตลอดปี ในช่วง 3 เดือนปีนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม พบผู้ป่วย 2,675 ราย หลังถูกยุงกัดประมาณ 14 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ บางรายมีอาการหนาวสั่น หากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เชื้อขึ้นสมอง หมดสติ เม็ดเลือดแดงแตก ไตวาย เสียชีวิตได้ ในการป้องกันไม่ควรออกนอกบ้านในเวลาที่ยุงออกหากิน โดยเฉพาะในช่วงหัวค่ำและใกล้สว่าง ควรอยู่ในที่สว่างโดยก่อกองไฟไว้ สวมใส่เสื้อผ้าให้คลุมร่างกายโดยเฉพาะแขนและขา ใช้ยาทากันยุงหรือจุดยากันยุงและนอนในมุ้งที่มีสภาพดี ไม่ขาด และทายากันยุงกัด ทั้งนี้หลังจากออกจากป่าแล้วภายใน 15 วัน หากมีอาการป่วย คือไข้สูง ปวดศีรษะขอให้พบแพทย์และแจ้งประวัติการเข้าป่าให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อสามารถให้การรักษาอย่างถูกต้อง ป้องกันการเสียชีวิตได้” นพ.โสภณ กล่าว