สธ.เตือนนักท่องเที่ยวกางเต็นท์ท้าลมหนาวกลางป่า ระวังตัวไรอ่อนกัดในร่มผ้าเป็นโรคสครับไทฟัส ปี 56 พบป่วยแล้ว 9,729 ราย เสียชีวิต 7 ราย แนะหลังกลับจากเที่ยวป่าภายใน 2 สัปดาห์ หากป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีแผลคล้ายรอยบุหรี่จี้ให้รีบพบแพทย์รักษาทันที พร้อมแจ้งประวัติเที่ยวป่าให้แพทย์ทราบ ชี้อันตรายโรคนี้ หากรักษาช้าอาจเสียชีวิตได้
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงฤดูหนาว นักท่องเที่ยวมักนิยมเดินทางไปในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น สูดอากาศและธรรมชาติจำนวนมาก เรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องเน้นย้ำให้ประชาชนที่ชอบการเที่ยวป่าระมัดระวังตัวไรอ่อน (chigger) กัด ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ไรชนิดนี้ทำให้เกิดโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) หรือไข้รากสาดใหญ่ โดยตัวไรอ่อนจะอาศัยอยู่ในขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระแต กระจ้อน เมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อที่เรียกว่า ริกเก็ตเซีย (Rickettsia) เข้าสู่คน อวัยวะที่ตัวไรอ่อนมักจะเข้าไปกัดคือในบริเวณร่มผ้า เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ขาหนีบ เอว ลำตัวบริเวณใต้ราวนม รักแร้ มักพบมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน จะมีอาการป่วยคือ มีไข้สูง ตัวร้อนจัด หนาวสั่น ปวดศีรษะบริเวณขมับและหน้าผากอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา มีอาการไอแห้งๆ ผู้ป่วยร้อยละ 30-40 จะพบแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ (eschar) ที่บริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด ลักษณะมีสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20 อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ อาจเสียชีวิตได้ โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสมากที่สุดได้แก่ ภาคเหนือ รองลงมาคือภาคตะวันอกเฉียงเหนือ
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่มียารักษาให้หายได้ ดังนั้น ในการป้องกันโรคนี้ ขอแนะนำให้ประชาชนที่จะไปท่องเที่ยวตั้งแคมป์ไฟ กางเต็นท์นอนในป่า ควรทำบริเวณค่ายพักให้โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบนพื้นหญ้า บริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ แต่งกายให้มิดชิด ควรใส่รองเท้า สวมถุงเท้าหุ้มปลายขากางเกง ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ และเหน็บชายเสื้อเข้าในกางเกง ทายาป้องกันแมลงกัดตามแขนขา การทาครั้งหนึ่งจะออกฤทธิ์ป้องกันได้นาน 4 ชั่วโมง และให้รีบอาบน้ำให้สะอาดหลังออกจากป่า ซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ซักให้สะอาดทันที
ทางด้านนพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตัวไรอ่อนมีขนาดเท่าปลายเข็มหมุด มีสีส้มอมแดง มองเห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ตามพื้นดินบริเวณที่ชุ่มชื้น มีใบไม้ ใบหญ้า ปกคลุม โดยกินน้ำเลี้ยงเซลล์ของสัตว์หรือคน ในปี 2556 นี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส จำนวน 9,729 ราย เสียชีวิต 7 ราย ภาคเหนือมีผู้ป่วยมากที่สุด จำนวน5,229 ราย ส่วนใหญ่มักจะเป็นจังหวัดที่มีป่าเขา รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,121 ราย ภาคใต้ 1,204 ราย และภาคกลาง 175 ราย ผู้ป่วยเกือบร้อยละ 90 อาศัยในเขตชนบท
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ประชาชนหลังกลับจากเที่ยวป่าหรือกางเต็นท์นอนตามพื้นหญ้าในช่วงฤดูหนาว ภายใน 2 สัปดาห์ หากมีอาการป่วย คือมีไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ และมีรอยแผลที่ผิวหนังคล้ายถูกบุหรี่จี้ ขอให้คิดถึงโรคนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเข้าไปในป่าให้แพทย์ทราบทันทีด้วย เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันการเสียชีวิต
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงฤดูหนาว นักท่องเที่ยวมักนิยมเดินทางไปในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น สูดอากาศและธรรมชาติจำนวนมาก เรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องเน้นย้ำให้ประชาชนที่ชอบการเที่ยวป่าระมัดระวังตัวไรอ่อน (chigger) กัด ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ไรชนิดนี้ทำให้เกิดโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) หรือไข้รากสาดใหญ่ โดยตัวไรอ่อนจะอาศัยอยู่ในขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระแต กระจ้อน เมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อที่เรียกว่า ริกเก็ตเซีย (Rickettsia) เข้าสู่คน อวัยวะที่ตัวไรอ่อนมักจะเข้าไปกัดคือในบริเวณร่มผ้า เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ขาหนีบ เอว ลำตัวบริเวณใต้ราวนม รักแร้ มักพบมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน จะมีอาการป่วยคือ มีไข้สูง ตัวร้อนจัด หนาวสั่น ปวดศีรษะบริเวณขมับและหน้าผากอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา มีอาการไอแห้งๆ ผู้ป่วยร้อยละ 30-40 จะพบแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ (eschar) ที่บริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด ลักษณะมีสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20 อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ อาจเสียชีวิตได้ โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสมากที่สุดได้แก่ ภาคเหนือ รองลงมาคือภาคตะวันอกเฉียงเหนือ
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่มียารักษาให้หายได้ ดังนั้น ในการป้องกันโรคนี้ ขอแนะนำให้ประชาชนที่จะไปท่องเที่ยวตั้งแคมป์ไฟ กางเต็นท์นอนในป่า ควรทำบริเวณค่ายพักให้โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบนพื้นหญ้า บริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ แต่งกายให้มิดชิด ควรใส่รองเท้า สวมถุงเท้าหุ้มปลายขากางเกง ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ และเหน็บชายเสื้อเข้าในกางเกง ทายาป้องกันแมลงกัดตามแขนขา การทาครั้งหนึ่งจะออกฤทธิ์ป้องกันได้นาน 4 ชั่วโมง และให้รีบอาบน้ำให้สะอาดหลังออกจากป่า ซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ซักให้สะอาดทันที
ทางด้านนพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตัวไรอ่อนมีขนาดเท่าปลายเข็มหมุด มีสีส้มอมแดง มองเห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ตามพื้นดินบริเวณที่ชุ่มชื้น มีใบไม้ ใบหญ้า ปกคลุม โดยกินน้ำเลี้ยงเซลล์ของสัตว์หรือคน ในปี 2556 นี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส จำนวน 9,729 ราย เสียชีวิต 7 ราย ภาคเหนือมีผู้ป่วยมากที่สุด จำนวน5,229 ราย ส่วนใหญ่มักจะเป็นจังหวัดที่มีป่าเขา รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,121 ราย ภาคใต้ 1,204 ราย และภาคกลาง 175 ราย ผู้ป่วยเกือบร้อยละ 90 อาศัยในเขตชนบท
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ประชาชนหลังกลับจากเที่ยวป่าหรือกางเต็นท์นอนตามพื้นหญ้าในช่วงฤดูหนาว ภายใน 2 สัปดาห์ หากมีอาการป่วย คือมีไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ และมีรอยแผลที่ผิวหนังคล้ายถูกบุหรี่จี้ ขอให้คิดถึงโรคนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการเข้าไปในป่าให้แพทย์ทราบทันทีด้วย เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันการเสียชีวิต