กรมควบคุมโรควางแผนแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมเก็บสถิติสุขภาพตามแนวชายแดน หลังพบปัญหาหนัก มาลาเรีย วัณโรคดื้อยา หวังแก้ปัญหาการระบาด
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข ระหว่างประเทศไทย และ พม่า 7 สาขา สำหรับประเด็นเรื่องการควบคุมโรค ถือเป็นเรื่องดีที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และติดตามสถานการณ์ร่วมกัน เนื่องจากที่ผ่านมายังขาดข้อมูลที่สำคัญ เช่น วัณโรค การดื้อยาโรคมาเลเรีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบไปยังประชากรกลุ่มอื่นๆ ได้ โดยพบว่า ในแต่ละปีประเทศไทยพบอัตราการป่วยด้วยโรควัณโรคประมาณ 1 แสนราย มีอัตราการรักษาหายประมาณร้อยละ 80-90 และมีอัตราเชื้อดื้อยา ประมาณร้อยละ 1.5 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่าไม่ควรเกิน
ร้อยละ 3 ส่วนอัตราการกลับมาเป็นโรคซ้ำอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นพบว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20-30 ซึ่งการเก็บสถิติและติดตามสถานการณ์นั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนป้องกันโรควิธีหนึ่ง
“ที่ผ่านมาพบว่าปัญหาสาธารณสุขในแถบชายแดนไทย-พม่า จะมีปัญหาในเรื่องโรคมาลาเรียโดยพบประชาชนป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 4-5 หมื่นราย ปัจจุบันพบว่าอัตราป่วยลดลงเหลือประมาณ 3 หมื่นราย แต่ครึ่งหนึ่งเป็นประชาชนชาวพม่าที่เดินทางเข้ามารักษาโรคในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังพบว่า แนวชายแดนประเทศกัมพูชา พบอัตราการเกิดโรคมาลาเรียดื้อยาจำนวนมาก เนื่องจากมียารักษาโรคปลอมซึ่งต้องเร่งแก้ปัญหาต่อไป” นพ.โอภาส กล่าว
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ทั้งนี้จากความร่วมมือของทั้งสองประเทศ จะทำให้เกิดความร่วมมือ 4 จังหวัดคู่แฝด ได้แก่ จ.เชียงราย กับท่าขี้เหล็ก จ.ตาก กับเมียวดี จ.กาญจนบุรี กับทวาย และ จ.ระนอง กับเกาะสอง ซึ่งประเทศไทยจะเป็นพี่เลี้ยง และเป็นเหมือนโรงพยาบาลทุติยภูมิให้ โดยในการควบคุมโรคระหว่างแนวชายแดน จะส่งผลดีกับทั้งสองประเทศ ถือเป็นการเกื้อหนุนระหว่างกันทำให้เกิดการสร้างสุขภาพที่ดี เพราะบางโรคหากแก้เฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็ไม่สามารถหยุดการเกิดโรคได้ เพราะปัจจุบันประชาชนมีการเดินทางเข้าออกจำนวนมากขึ้น การทำงานจึงเป็นต้องร่วมมือทุกฝ่าย ไม่ใช่ป้องกันเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข ระหว่างประเทศไทย และ พม่า 7 สาขา สำหรับประเด็นเรื่องการควบคุมโรค ถือเป็นเรื่องดีที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และติดตามสถานการณ์ร่วมกัน เนื่องจากที่ผ่านมายังขาดข้อมูลที่สำคัญ เช่น วัณโรค การดื้อยาโรคมาเลเรีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบไปยังประชากรกลุ่มอื่นๆ ได้ โดยพบว่า ในแต่ละปีประเทศไทยพบอัตราการป่วยด้วยโรควัณโรคประมาณ 1 แสนราย มีอัตราการรักษาหายประมาณร้อยละ 80-90 และมีอัตราเชื้อดื้อยา ประมาณร้อยละ 1.5 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่าไม่ควรเกิน
ร้อยละ 3 ส่วนอัตราการกลับมาเป็นโรคซ้ำอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นพบว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20-30 ซึ่งการเก็บสถิติและติดตามสถานการณ์นั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนป้องกันโรควิธีหนึ่ง
“ที่ผ่านมาพบว่าปัญหาสาธารณสุขในแถบชายแดนไทย-พม่า จะมีปัญหาในเรื่องโรคมาลาเรียโดยพบประชาชนป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 4-5 หมื่นราย ปัจจุบันพบว่าอัตราป่วยลดลงเหลือประมาณ 3 หมื่นราย แต่ครึ่งหนึ่งเป็นประชาชนชาวพม่าที่เดินทางเข้ามารักษาโรคในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังพบว่า แนวชายแดนประเทศกัมพูชา พบอัตราการเกิดโรคมาลาเรียดื้อยาจำนวนมาก เนื่องจากมียารักษาโรคปลอมซึ่งต้องเร่งแก้ปัญหาต่อไป” นพ.โอภาส กล่าว
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ทั้งนี้จากความร่วมมือของทั้งสองประเทศ จะทำให้เกิดความร่วมมือ 4 จังหวัดคู่แฝด ได้แก่ จ.เชียงราย กับท่าขี้เหล็ก จ.ตาก กับเมียวดี จ.กาญจนบุรี กับทวาย และ จ.ระนอง กับเกาะสอง ซึ่งประเทศไทยจะเป็นพี่เลี้ยง และเป็นเหมือนโรงพยาบาลทุติยภูมิให้ โดยในการควบคุมโรคระหว่างแนวชายแดน จะส่งผลดีกับทั้งสองประเทศ ถือเป็นการเกื้อหนุนระหว่างกันทำให้เกิดการสร้างสุขภาพที่ดี เพราะบางโรคหากแก้เฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็ไม่สามารถหยุดการเกิดโรคได้ เพราะปัจจุบันประชาชนมีการเดินทางเข้าออกจำนวนมากขึ้น การทำงานจึงเป็นต้องร่วมมือทุกฝ่าย ไม่ใช่ป้องกันเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง