ไทย-พม่า จัดประชุมวางแผนดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคตามแนวชายแดนในปีหน้า เน้นป้องกันสกัดกั้นโรคมาลาเรีย วัณโรค เอดส์ โรคอุบัติซ้ำและอุบัติใหม่ พร้อมเพิ่มศักยภาพการสอบสวนโรคร่วมกัน
วันนี้ (15 ส.ค.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเปิดการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและพม่า ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ชายแดน ว่า แผนงานความร่วมมือระหว่างไทยและพม่าในปัจจุบัน เน้นการเตรียมพร้อมและตอบโต้สถานการณ์โรคระบาด การป้องกันโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ โดยแผนงานโรคเอดส์เน้นการเข้าถึงบริการในการป้องกันโรคที่มีคุณภาพ วัณโรคเน้นการดำเนินงานตามกลวิธี DOTS คือ การรักษาแบบมีพี่เลี้ยง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายผลการรักษา ร้อยละ 85 ในทุกอำเภอของพื้นที่ชายแดน โรคมาลาเรีย มีเป้าหมายเพื่อลดการป่วยและตายด้วยโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า โดยมุ่งควบคุมเชื้อมาลาเรียดื้อยา และป้องกันการแพร่กระจายของยารักษามาลาเรียปลอมในพื้นที่ชายแดน ส่วนการตอบโต้โรคระบาดนั้น เน้นการดำเนินการตามกฎหมายอนามัยระหว่างประเทศปี 2005 รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการสอบสวนโรคร่วมกัน และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ยังเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ชายแดน อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของทั้งสองประเทศในปีที่ผ่านมา พร้อมกับวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป
วันนี้ (15 ส.ค.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเปิดการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและพม่า ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ชายแดน ว่า แผนงานความร่วมมือระหว่างไทยและพม่าในปัจจุบัน เน้นการเตรียมพร้อมและตอบโต้สถานการณ์โรคระบาด การป้องกันโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ โดยแผนงานโรคเอดส์เน้นการเข้าถึงบริการในการป้องกันโรคที่มีคุณภาพ วัณโรคเน้นการดำเนินงานตามกลวิธี DOTS คือ การรักษาแบบมีพี่เลี้ยง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายผลการรักษา ร้อยละ 85 ในทุกอำเภอของพื้นที่ชายแดน โรคมาลาเรีย มีเป้าหมายเพื่อลดการป่วยและตายด้วยโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า โดยมุ่งควบคุมเชื้อมาลาเรียดื้อยา และป้องกันการแพร่กระจายของยารักษามาลาเรียปลอมในพื้นที่ชายแดน ส่วนการตอบโต้โรคระบาดนั้น เน้นการดำเนินการตามกฎหมายอนามัยระหว่างประเทศปี 2005 รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการสอบสวนโรคร่วมกัน และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ยังเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ชายแดน อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของทั้งสองประเทศในปีที่ผ่านมา พร้อมกับวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป