WHO ติดตามผลการควบคุมวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบติด 1 ใน 22 ประเทศ ป่วยวัณโรคมากสุด ด้าน กทม.เตรียมดันต่างด้าวขึ้นทะเบียนเพื่อความง่ายในการคัดกรอง เผยอัตราการรักษาหายพุ่งกว่า 91%
วันนี้ (27 ส.ค.) ที่ห้องอัมรินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายพีระพงษ์ สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุขและผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า องค์การอนามัยโลกได้มาติดตามผลการควบคุมวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบว่าในกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ป่วย 1 หมื่นราย และปีนี้มีจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายจำนวน 91 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 5 ปีที่แล้วถึง 11 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจุบันไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคมาก และมีอัตราการเสี่ยงสูง
อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาวัณโรคในแรงงานงานต่างด้าวที่ไม่ได้ทำการลงทะเบียนแรงงาน ซึ่งทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ทำให้เกิดการแพร่เชื้อ โดย กทม.จะเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขให้ใช้ระบบกฎหมายบังคับให้แรงงานต่างด้าวลงทะเบียนแรงงานทุกคน เพื่อง่ายแก่การคัดกรองโรค เเละจะเป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูลกับทุกหน่วยงานเพื่อควบคุมและลดการแพร่กระจายของโรค
ด้านพญ.วันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กล่าวว่า วัณโรคเป็นโรคที่มีการแพร่กระจายทางอากาศ ทำให้การป้องกันโรคทำได้ยาก ซึ่งจะมีระยะการฟักตัวของเชื้อในช่วง 2 เดือนแรก ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาทันที โดยการตรวจเสมหะและรับยาฆ่าเชื้อ ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ภายใน 6 เดือน เมื่อได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษาวัณโรค ในระยะเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 บาท แต่หากเชื้อโรคมีการพัฒนา ค่ารักษาจะสูงถึงหลักแสน อย่างไรก็ตามหากพบว่ามีอาการน้ำหนักลดลงผิดปกติ มีอาการไอแห้ง มีไข้ต่ำ นานกว่า 2 สัปดาห์ สามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม.ทุกแห่ง และหากพบว่ามีเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
วันนี้ (27 ส.ค.) ที่ห้องอัมรินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายพีระพงษ์ สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุขและผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า องค์การอนามัยโลกได้มาติดตามผลการควบคุมวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบว่าในกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ป่วย 1 หมื่นราย และปีนี้มีจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายจำนวน 91 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 5 ปีที่แล้วถึง 11 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจุบันไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคมาก และมีอัตราการเสี่ยงสูง
อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาวัณโรคในแรงงานงานต่างด้าวที่ไม่ได้ทำการลงทะเบียนแรงงาน ซึ่งทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ทำให้เกิดการแพร่เชื้อ โดย กทม.จะเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขให้ใช้ระบบกฎหมายบังคับให้แรงงานต่างด้าวลงทะเบียนแรงงานทุกคน เพื่อง่ายแก่การคัดกรองโรค เเละจะเป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูลกับทุกหน่วยงานเพื่อควบคุมและลดการแพร่กระจายของโรค
ด้านพญ.วันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กล่าวว่า วัณโรคเป็นโรคที่มีการแพร่กระจายทางอากาศ ทำให้การป้องกันโรคทำได้ยาก ซึ่งจะมีระยะการฟักตัวของเชื้อในช่วง 2 เดือนแรก ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาทันที โดยการตรวจเสมหะและรับยาฆ่าเชื้อ ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ภายใน 6 เดือน เมื่อได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษาวัณโรค ในระยะเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 บาท แต่หากเชื้อโรคมีการพัฒนา ค่ารักษาจะสูงถึงหลักแสน อย่างไรก็ตามหากพบว่ามีอาการน้ำหนักลดลงผิดปกติ มีอาการไอแห้ง มีไข้ต่ำ นานกว่า 2 สัปดาห์ สามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม.ทุกแห่ง และหากพบว่ามีเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ