สธ.หวั่นเชื้อมาลาเรียดื้อยา หลังพบตามชายแดนประสิทธิภาพยาถดถอยลง เตรียมจัดการประชุมหามาตรการใหม่ยับยั้ง พร้อมแนะวิธีป้องกันสำหรับประชาชน ย้ำต้องกินยาต่อเนื่องจนครบ
วันนี้ (24 เม.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มอบหมายให้ คร.ร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงและองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับความร่วมมือในการกำจัดการแพร่ระบาดของมาลาเรียดื้อยา เนื่องในโอกาสวันมาลาเรียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 25 เม.ย. 2556 โดย WHO ได้จัดประชุมเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย ในหัวข้อ “การตอบโต้ฉุกเฉินเชื้อมาลาเรียดื้อยากลุ่มอาร์ติมิซินินในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Emergency Response to Artemisinin Resistance in the greater Mekong Sub region) ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล พนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมีมกุฎราชกุมารี แห่งเบลเยียม เสด็จเป็นประธานเปิดการประชุม
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์มาลาเรียดื้อยาในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนขนานยารักษามาลาเรียมาแล้วหลายครั้ง เนื่องจากประสิทธิภาพของยาขนานเดิมลดลง โดยยารักษามาลาเรียที่ใช้ในปัจจุบันคือ อาร์ติซูเนต กับ เมโฟควิน ทั้งนี้ จากการประเมินประสิทธิภาพยาดังกล่าวในจังหวัดชายแดน ระหว่างปี 2554-2555 พบว่า ประสิทธิภาพของยาในบางพื้นที่ลดลงจากเดิม ทำให้ตระหนักว่ามาลาเรียดื้อยาเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเชื้อมาลาเรียดื้อยาแล้ว ยาที่มีอยู่ไม่สามารถใช้รักษาโรคนี้ได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นมาลาเรียรุนแรงมากขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า ประชาชนสามารถป้องกันมาลาเรียดื้อยาได้ โดยสามารถปฏิบัติตัวได้ดังนี้ 1.ไม่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย โดยแหล่งระบาดของโรคนี้จะอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณภูเขาสูง เป็นป่า มีลำธาร 2.ถ้าจำเป็นต้องเข้าในพื้นที่เสี่ยง ต้องป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้า ปกปิดร่างกายมิดชิด ทายากันยุง จุดยากันยุงไล่ยุง นอนในมุ้งชุบสารเคมี ซึ่งมุ้งนี้ไม่เป็นอันตรายต่อคน และ 3.หากป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังถูกยุงก้นปล่องกัด ผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการหนาวสั่น สลับมีเหงื่อออก ต้องรีบไปมาลาเรียคลินิก หรือไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลพร้อมแจ้งประวัติการเข้าป่า เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องโดยการตรวจเลือดหาเชื้อมาลาเรีย และรับการรักษาต่อไป การรับประทานยาให้ครบ เป็นการป้องกันมาลาเรียดื้อยาที่จำเป็นที่สุด บางพื้นที่ผู้ป่วยต้องกินยาต่อหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกวันเป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยกินยาครบ
“ในโอกาสวันมาลาเรียโลก ประเทศไทยจึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะต้องกำจัดการแพร่ระบาดของมาลาเรียดื้อยา ไม่ให้เป็นปัญหาใหญ่คุกคามภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียที่ดื้อยาผสมกลุ่มอนุพันธ์อาร์ติมิซินิน เพื่อหวังว่าจะมีมาตรการใหม่ในการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียดื้อยา นอกจากนี้ ยังต้องรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการรับประทานยารักษามาลาเรียอย่างต่อเนื่องจนครบ เพื่อป้องกันการดื้อยา” อธิบดี คร.กล่าว
วันนี้ (24 เม.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มอบหมายให้ คร.ร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงและองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับความร่วมมือในการกำจัดการแพร่ระบาดของมาลาเรียดื้อยา เนื่องในโอกาสวันมาลาเรียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 25 เม.ย. 2556 โดย WHO ได้จัดประชุมเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย ในหัวข้อ “การตอบโต้ฉุกเฉินเชื้อมาลาเรียดื้อยากลุ่มอาร์ติมิซินินในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Emergency Response to Artemisinin Resistance in the greater Mekong Sub region) ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล พนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมีมกุฎราชกุมารี แห่งเบลเยียม เสด็จเป็นประธานเปิดการประชุม
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์มาลาเรียดื้อยาในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนขนานยารักษามาลาเรียมาแล้วหลายครั้ง เนื่องจากประสิทธิภาพของยาขนานเดิมลดลง โดยยารักษามาลาเรียที่ใช้ในปัจจุบันคือ อาร์ติซูเนต กับ เมโฟควิน ทั้งนี้ จากการประเมินประสิทธิภาพยาดังกล่าวในจังหวัดชายแดน ระหว่างปี 2554-2555 พบว่า ประสิทธิภาพของยาในบางพื้นที่ลดลงจากเดิม ทำให้ตระหนักว่ามาลาเรียดื้อยาเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเชื้อมาลาเรียดื้อยาแล้ว ยาที่มีอยู่ไม่สามารถใช้รักษาโรคนี้ได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นมาลาเรียรุนแรงมากขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า ประชาชนสามารถป้องกันมาลาเรียดื้อยาได้ โดยสามารถปฏิบัติตัวได้ดังนี้ 1.ไม่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย โดยแหล่งระบาดของโรคนี้จะอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณภูเขาสูง เป็นป่า มีลำธาร 2.ถ้าจำเป็นต้องเข้าในพื้นที่เสี่ยง ต้องป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้า ปกปิดร่างกายมิดชิด ทายากันยุง จุดยากันยุงไล่ยุง นอนในมุ้งชุบสารเคมี ซึ่งมุ้งนี้ไม่เป็นอันตรายต่อคน และ 3.หากป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังถูกยุงก้นปล่องกัด ผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการหนาวสั่น สลับมีเหงื่อออก ต้องรีบไปมาลาเรียคลินิก หรือไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลพร้อมแจ้งประวัติการเข้าป่า เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องโดยการตรวจเลือดหาเชื้อมาลาเรีย และรับการรักษาต่อไป การรับประทานยาให้ครบ เป็นการป้องกันมาลาเรียดื้อยาที่จำเป็นที่สุด บางพื้นที่ผู้ป่วยต้องกินยาต่อหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกวันเป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยกินยาครบ
“ในโอกาสวันมาลาเรียโลก ประเทศไทยจึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะต้องกำจัดการแพร่ระบาดของมาลาเรียดื้อยา ไม่ให้เป็นปัญหาใหญ่คุกคามภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียที่ดื้อยาผสมกลุ่มอนุพันธ์อาร์ติมิซินิน เพื่อหวังว่าจะมีมาตรการใหม่ในการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียดื้อยา นอกจากนี้ ยังต้องรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการรับประทานยารักษามาลาเรียอย่างต่อเนื่องจนครบ เพื่อป้องกันการดื้อยา” อธิบดี คร.กล่าว