กรมควบคุมโรค ส่งทีมเฝ้าระวังฯ ดูแลผู้อพยพที่ศูนย์พักพิงฯแม่สุรินทร์ ใกล้ชิดและจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะที่ปกติ เน้นควบคุมและป้องกันโรคที่อาจจะเกิดการระบาดได้ โดยเฉพาะโรคมาลาเรียและโรคอุจจาระร่วง ขณะที่มุ้งชุบสารเคมี 500 หลัง ถึงมือผู้อพยพแล้ว เพื่อป้องกันโรคมาลาเรียในพื้นที่
วันนี้ (26 มี.ค.) นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือเหตุการณ์ไฟไหม้ศูนย์พักพิงชั่วคราว บ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ว่า เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สธ.ได้ลงพื้นที่ควบคุมป้องกันโรคในจุดอพยพ ซึ่งอาจเกิดการระบาดของโรคได้ง่าย โดยมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และหน่วยควบคุมโรคมาลาเรีย ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมเครื่องมือตรวจเชื้อและยารักษา รวมถึงมุ้งชุบสารเคมี หรือสารไพรีทรอยด์ 500 หลัง ซึ่งไม่มีอันตรายต่อคนเพราะมีฤทธิ์ทำให้ยุงตายในที่สุดและขณะนี้ถึงมือผู้อพยพแล้ว นอกจากนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เฝ้าระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำห้องส้วม การกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันหรือสัตว์นำโรคต่างๆ เพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วง
ด้าน นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สภาพพื้นที่โดยรอบ ของศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ นั้นเป็นป่าเขาอยู่แล้ว จึงต้องระมัดระวังโรคมาลาเรียเป็นพิเศษ ซึ่งอาการของโรคหลังจากยุงกัดประมาณ 10-14 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อน เหงื่อออก รู้สึกสบายแล้วกลับมาเป็นไข้ใหม่อีก หากพบอาการดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์ในจุดอพยพทันที เพราะหากช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตล้มเหลว ปอดบวมน้ำ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ และมอบหมายให้ทีมเฝ้าระวังฯ ป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง เพราะผู้อพยพอยู่รวมกันจำนวนมาก จึงต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำและห้องส้วม การกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันหรือสัตว์นำโรคต่างๆ
สำหรับอาการของโรคอุจจาระร่วง มีดังนี้ ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งขึ้นไปใน 1วัน หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูก หรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งอุจจาระร่วงส่วนใหญ่จะหายได้เอง ถ้าให้การป้องกันและรักษาภาวะการขาดน้ำ เช่น การดื่มน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส และรับประทานอาหารที่เหมาะสม ถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น อาเจียน ถ่ายบ่อยทุก 2 ชั่วโมง อ่อนเพลีย มีไข้ กินอาหารไม่ได้ ตาลึกโหล ให้รีบไปพบแพทย์ในจุดอพยพทันที ส่วนในผู้อพยพเองก็ควรยึดหลัก“กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” กล่าวคือ ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ถ้ารับประทานอาหารร่วมกัน ควรมีช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าส้วมด้วยสบู่
ด้าน นายแพทย์วิทยา หลิวเสรี ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจากส่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และหน่วยควบคุมโรคมาลาเรีย ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมรถปฏิบัติการที่ประกอบด้วย เครื่องมือตรวจเชื้อและยารักษา เพื่อให้บริการตรวจเจาะเลือดเพื่อให้การรักษาทันที รวมถึงส่งมอบมุ้งชุบสารเคมี จำนวน 500 หลัง และยาทากันยุงอีก 1,500 หลอด แก่ผู้อพยพดังกล่าว สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จะมีการสับเปลี่ยนกันจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ได้เตรียมทีมสำหรับพ่นสารเคมีฆ่ายุงเพื่อป้องกันผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ซึ่งจะเข้าไปดำเนินการในเร็วๆ นี้
วันนี้ (26 มี.ค.) นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือเหตุการณ์ไฟไหม้ศูนย์พักพิงชั่วคราว บ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ว่า เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สธ.ได้ลงพื้นที่ควบคุมป้องกันโรคในจุดอพยพ ซึ่งอาจเกิดการระบาดของโรคได้ง่าย โดยมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และหน่วยควบคุมโรคมาลาเรีย ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมเครื่องมือตรวจเชื้อและยารักษา รวมถึงมุ้งชุบสารเคมี หรือสารไพรีทรอยด์ 500 หลัง ซึ่งไม่มีอันตรายต่อคนเพราะมีฤทธิ์ทำให้ยุงตายในที่สุดและขณะนี้ถึงมือผู้อพยพแล้ว นอกจากนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เฝ้าระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำห้องส้วม การกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันหรือสัตว์นำโรคต่างๆ เพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วง
ด้าน นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สภาพพื้นที่โดยรอบ ของศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ นั้นเป็นป่าเขาอยู่แล้ว จึงต้องระมัดระวังโรคมาลาเรียเป็นพิเศษ ซึ่งอาการของโรคหลังจากยุงกัดประมาณ 10-14 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อน เหงื่อออก รู้สึกสบายแล้วกลับมาเป็นไข้ใหม่อีก หากพบอาการดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์ในจุดอพยพทันที เพราะหากช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตล้มเหลว ปอดบวมน้ำ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ และมอบหมายให้ทีมเฝ้าระวังฯ ป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง เพราะผู้อพยพอยู่รวมกันจำนวนมาก จึงต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำและห้องส้วม การกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันหรือสัตว์นำโรคต่างๆ
สำหรับอาการของโรคอุจจาระร่วง มีดังนี้ ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งขึ้นไปใน 1วัน หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูก หรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งอุจจาระร่วงส่วนใหญ่จะหายได้เอง ถ้าให้การป้องกันและรักษาภาวะการขาดน้ำ เช่น การดื่มน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส และรับประทานอาหารที่เหมาะสม ถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น อาเจียน ถ่ายบ่อยทุก 2 ชั่วโมง อ่อนเพลีย มีไข้ กินอาหารไม่ได้ ตาลึกโหล ให้รีบไปพบแพทย์ในจุดอพยพทันที ส่วนในผู้อพยพเองก็ควรยึดหลัก“กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” กล่าวคือ ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ถ้ารับประทานอาหารร่วมกัน ควรมีช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าส้วมด้วยสบู่
ด้าน นายแพทย์วิทยา หลิวเสรี ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจากส่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และหน่วยควบคุมโรคมาลาเรีย ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมรถปฏิบัติการที่ประกอบด้วย เครื่องมือตรวจเชื้อและยารักษา เพื่อให้บริการตรวจเจาะเลือดเพื่อให้การรักษาทันที รวมถึงส่งมอบมุ้งชุบสารเคมี จำนวน 500 หลัง และยาทากันยุงอีก 1,500 หลอด แก่ผู้อพยพดังกล่าว สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จะมีการสับเปลี่ยนกันจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ได้เตรียมทีมสำหรับพ่นสารเคมีฆ่ายุงเพื่อป้องกันผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ซึ่งจะเข้าไปดำเนินการในเร็วๆ นี้