สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงห่วงสุขภาพชาวเขา ที่อำเภอแม่แจ่ม พบว่า ป่วยเป็นโรคสครับไทฟัส มากเป็นอันดับ 1 และเชื่อมั่นในระบบแพทย์แผนปัจจุบัน เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแม่แจ่ม จนเตียงไม่พอนอน พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 30 ล้านบาท ก่อสร้างโรงพยาบาลแม่แจ่มแห่งใหม่ เพื่อให้ชาวเขารักษาตัวใกล้บ้าน
วันนี้ (8 ก.พ.) ที่โรงพยาบาลแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบทุนก่อสร้างโรงพยาบาลแม่แจ่ม และตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของโรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลดอยหล่อ และโรงพยาบาลฮอด พร้อมมอบนโยบายทำงานแก่เจ้าหน้าที่
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า อำเภอแม่แจ่ม เป็นพื้นที่ป่าเขา ทุรกันดาร อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 130 กิโลเมตร ประชาชนประมาณร้อยละ 60 เป็นชาวเขา จากการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ที่อำเภอแม่แจ่ม ทรงให้ความสนพระทัยปัญหาการเจ็บป่วยและบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้พบว่าชาวเขามีความศรัทธาและความเชื่อมั่นการแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น และเดินทางเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแม่แจ่มจำนวนมาก ทำให้เตียงนอนของโรงพยาบาลที่มีเพียง 30 เตียง ไม่พอนอน อัตราครองเตียงผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 150 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ เพื่อใช้รับส่งผู้ป่วยชาวเขาที่อยู่พื้นที่สูง และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 30 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลแม่แจ่ม เพื่อก่อสร้างหอผู้ป่วยให้เพียงพอในการดูแลรักษา นับว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อกระทรวงสาธารณสุข และน้อมใส่เกล้าฯเร่งสนองพระมหากรุณาธิคุณ ดำเนินการก่อสร้างอาคารบริการผู้ป่วยโดยเร็ว
เนื่องจากพื้นที่ของโรงพยาบาลแม่แจ่ม ขณะนี้มีเพียง 7 ไร่ ไม่สามารถก่อสร้างอาคาร ขยายบริการใดๆ เพิ่มได้อีก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการย้ายและยกฐานะโรงพยาบาลแม่แจ่มจาก ขนาด 30 เตียง เป็น 60 เตียง โดยย้ายการก่อสร้างที่บ้านห้วยริน หมู่ 9 ตำบลช่างเคิ่ง จำนวน 85 ไร่ ห่างจากที่เดิมประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้งบดำเนินการ 147 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างในเดือนหน้านี้ คาดว่า จะเสร็จประมาณ พ.ศ.2558 ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพบริการ ทั้งการรักษา ผ่าตัด การแพทย์ฉุกเฉิน ดูแลผู้ป่วยดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลแม่แจ่ม พบว่า ขณะนี้พื้นที่บริการแออัดมาก ดูแลประชากรในอำเภอแม่แจ่ม ประมาณ 60,000 คน และดูแลอำเภอใกล้เคียง เช่น อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ด้วย มีผู้ป่วยตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกวันละ 300 ราย ผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลวันละ 70 ราย ประมาณร้อยละ 70-80 เป็นชาวเขา ปัญหาที่ชาวเขาป่วยมากที่สุด คือ โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) พบร้อยละ 40 ของผู้ป่วยใน และพบได้ตลอดปี ปีละประมาณ 7,000 ราย โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ริกเกตเซีย (Rickettsia) โดยมีตัวไรอ่อนขนาดเล็กสีแดง ที่อาศัยอยู่ตามพงหญ้า พุ่มไม้เตี้ยในป่า กัด มักพบในวัยแรงงานที่เข้าไปทำไร่มากที่สุด อาการโรคนี้ จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น ทีมแพทย์โรงพยาบาลแม่แจ่ม ได้จัดระบบรักษา โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น ตรวจหาเชื้อและแยกจากเชื้อมาลาเรีย รู้ผลภายใน 30 นาที ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีเสียชีวิต ทำให้ชาวเขาที่ป่วยและญาติ เกิดความศรัทธาและบอกกันปากต่อปาก ทำให้ความเชื่อในพิธีกรรมของชนเผ่าในการรักษาอาการป่วยลดลงเรื่อยๆ และใช้บริการที่โรงพยาบาลแม่แจ่มแทน
วันนี้ (8 ก.พ.) ที่โรงพยาบาลแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบทุนก่อสร้างโรงพยาบาลแม่แจ่ม และตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของโรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลดอยหล่อ และโรงพยาบาลฮอด พร้อมมอบนโยบายทำงานแก่เจ้าหน้าที่
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า อำเภอแม่แจ่ม เป็นพื้นที่ป่าเขา ทุรกันดาร อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 130 กิโลเมตร ประชาชนประมาณร้อยละ 60 เป็นชาวเขา จากการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ที่อำเภอแม่แจ่ม ทรงให้ความสนพระทัยปัญหาการเจ็บป่วยและบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้พบว่าชาวเขามีความศรัทธาและความเชื่อมั่นการแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น และเดินทางเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแม่แจ่มจำนวนมาก ทำให้เตียงนอนของโรงพยาบาลที่มีเพียง 30 เตียง ไม่พอนอน อัตราครองเตียงผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 150 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ เพื่อใช้รับส่งผู้ป่วยชาวเขาที่อยู่พื้นที่สูง และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 30 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลแม่แจ่ม เพื่อก่อสร้างหอผู้ป่วยให้เพียงพอในการดูแลรักษา นับว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อกระทรวงสาธารณสุข และน้อมใส่เกล้าฯเร่งสนองพระมหากรุณาธิคุณ ดำเนินการก่อสร้างอาคารบริการผู้ป่วยโดยเร็ว
เนื่องจากพื้นที่ของโรงพยาบาลแม่แจ่ม ขณะนี้มีเพียง 7 ไร่ ไม่สามารถก่อสร้างอาคาร ขยายบริการใดๆ เพิ่มได้อีก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการย้ายและยกฐานะโรงพยาบาลแม่แจ่มจาก ขนาด 30 เตียง เป็น 60 เตียง โดยย้ายการก่อสร้างที่บ้านห้วยริน หมู่ 9 ตำบลช่างเคิ่ง จำนวน 85 ไร่ ห่างจากที่เดิมประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้งบดำเนินการ 147 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างในเดือนหน้านี้ คาดว่า จะเสร็จประมาณ พ.ศ.2558 ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพบริการ ทั้งการรักษา ผ่าตัด การแพทย์ฉุกเฉิน ดูแลผู้ป่วยดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลแม่แจ่ม พบว่า ขณะนี้พื้นที่บริการแออัดมาก ดูแลประชากรในอำเภอแม่แจ่ม ประมาณ 60,000 คน และดูแลอำเภอใกล้เคียง เช่น อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ด้วย มีผู้ป่วยตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกวันละ 300 ราย ผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลวันละ 70 ราย ประมาณร้อยละ 70-80 เป็นชาวเขา ปัญหาที่ชาวเขาป่วยมากที่สุด คือ โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) พบร้อยละ 40 ของผู้ป่วยใน และพบได้ตลอดปี ปีละประมาณ 7,000 ราย โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ริกเกตเซีย (Rickettsia) โดยมีตัวไรอ่อนขนาดเล็กสีแดง ที่อาศัยอยู่ตามพงหญ้า พุ่มไม้เตี้ยในป่า กัด มักพบในวัยแรงงานที่เข้าไปทำไร่มากที่สุด อาการโรคนี้ จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น ทีมแพทย์โรงพยาบาลแม่แจ่ม ได้จัดระบบรักษา โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น ตรวจหาเชื้อและแยกจากเชื้อมาลาเรีย รู้ผลภายใน 30 นาที ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีเสียชีวิต ทำให้ชาวเขาที่ป่วยและญาติ เกิดความศรัทธาและบอกกันปากต่อปาก ทำให้ความเชื่อในพิธีกรรมของชนเผ่าในการรักษาอาการป่วยลดลงเรื่อยๆ และใช้บริการที่โรงพยาบาลแม่แจ่มแทน