กรมวิทย์ ฟุ้ง สำนักยาและวัตถุเสพติดผ่านประเมิน WHO ได้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงตรวจสอบคุณภาพยาต้านมาลาเรีย และยาต้านไวรัสในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเป็นหน่วยจัดฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพยาต้านมาลาเรีย ช่วยขจัดปัญหายาไร้มาตรฐาน ลดการดื้อยา และการแพร่ระบาด
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุนั้นองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เป็นเพราะเชื้อมาลาเรียดื้อยา เนื่องจากยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นยาที่ไม่ได้มาตรฐานจนถึงขั้นเป็นยาปลอม ซึ่งพบว่า มีการลักลอบผลิตและจำหน่ายในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรีย องค์การอนามัยโลก และ United States Pharmacopeia Drug Quality and Information Program (USP DQI) จึงได้ริเริ่มโครงการ Roll Back Malaria in Mekong Sub-region ขึ้นในปี พ.ศ.2542 โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ และตรวจสอบคุณภาพยาต้านเชื้อมาลาเรีย
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ปี พ.ศ.2545 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้รับการประเมินศักยภาพจาก WHO และ USP DQI ให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในการตรวจสอบคุณภาพยาต้านมาลาเรีย รวมทั้งเป็นผู้จัดการฝึกอบรมการใช้งานชุดทกสอบภาคสนาม (Minilab Kit) แก่บุคลากรจากหน่วยงานควบคุมโรคมาลาเรียทั้งจากประเทศไทยและจากต่างประเทศ แถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งแต่ละปีได้จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากร และเป็นการเพิ่มศักยภาพของห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวิเคราะห์ของแต่ละประเทศให้มีความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพยาในเบื้องต้น เพื่อป้องกันการได้รับยาปลอมและยาเสื่อมคุณภาพได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ ช่วยขจัดปัญหาคุณภาพยาไม่ได้มาตรฐาน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการดื้อยาต้านมาลาเรีย ส่งผลให้การบำบัดรักษาโรคมาลาเรียในภูมิภาคนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมโรคสุ่มเก็บตัวอย่างยาต้านมาลาเรียจากท้องถิ่นที่มีการระบาดของโรค และตรวจคุณภาพยาในเบื้องต้น ลักษณะตัวอย่าง การตรวจเอกลักษณ์ วิเคราะห์ปริมาณตัวยาสำคัญ และการกระจายตัวของยาด้วยชุดทดสอบภาคสนาม หากพบตัวอย่างที่ผิดมาตรฐานและเข้าข่ายน่าสงสัย หรือไม่แน่ใจ ในผลวิเคราะห์เบื้องต้น รวมทั้งร้อยละ 10 ของตัวอย่างที่ผ่านการตรวจคุณภาพยาเบื้องต้น กรมควบคุมโรคจะส่งตัวอย่างดังกล่าวให้สำนักยาและวัตถุเสพติด เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง
ภญ.นิดาพรรณ เรืองฤทธินนท์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินงานด้านการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในการตรวจวิเคราะห์ยืนยันผลยาต้านมาลาเรีย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545-2555 ห้องปฏิบัติการของสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ตรวจวิเคราะห์ยาต้านมาลาเรีย รวม 450 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากกรมควบคุมโรค 394ตัวอย่าง และตัวอย่างที่ส่งมาจากต่างประเทศ 56 ตัวอย่าง ต่อมาในปี พ.ศ.2555 ได้ขยายการตรวจวิเคราะห์ยาในกลุ่มอื่นๆ เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด (Antibacterials) ยาต้านวัณโรค (Antituberculosis) และยาต้านไวรัส (Antiretrovirals) นอกจากนี้ สำนักยาและวัตถุเสพติดยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศในการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพยาต้านมาลาเรียในพื้นที่ที่มีการเฝ้าระวังคุณภาพยาต้านมาลาเรียอยู่เดิมกับพื้นที่ที่ไม่เคยมีการเฝ้าระวังมาก่อน และยังมีโครงการเครือข่ายความร่วมมือระดับห้องปฏิบัติการของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปัจจุบันมีประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมแล้ว 8 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ จีน กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้นซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายของโครงการมาลาเรียจะนำไปใช้ในการแก้ปัญหายาปลอมและยาไม่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพยาและช่วยลดปัญหาการดื้อยาและการแพร่ระบาดของเชื้อมาลาเรียทั้งในประเทศและประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุนั้นองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เป็นเพราะเชื้อมาลาเรียดื้อยา เนื่องจากยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นยาที่ไม่ได้มาตรฐานจนถึงขั้นเป็นยาปลอม ซึ่งพบว่า มีการลักลอบผลิตและจำหน่ายในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรีย องค์การอนามัยโลก และ United States Pharmacopeia Drug Quality and Information Program (USP DQI) จึงได้ริเริ่มโครงการ Roll Back Malaria in Mekong Sub-region ขึ้นในปี พ.ศ.2542 โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ และตรวจสอบคุณภาพยาต้านเชื้อมาลาเรีย
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ปี พ.ศ.2545 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้รับการประเมินศักยภาพจาก WHO และ USP DQI ให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในการตรวจสอบคุณภาพยาต้านมาลาเรีย รวมทั้งเป็นผู้จัดการฝึกอบรมการใช้งานชุดทกสอบภาคสนาม (Minilab Kit) แก่บุคลากรจากหน่วยงานควบคุมโรคมาลาเรียทั้งจากประเทศไทยและจากต่างประเทศ แถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งแต่ละปีได้จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากร และเป็นการเพิ่มศักยภาพของห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวิเคราะห์ของแต่ละประเทศให้มีความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพยาในเบื้องต้น เพื่อป้องกันการได้รับยาปลอมและยาเสื่อมคุณภาพได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ ช่วยขจัดปัญหาคุณภาพยาไม่ได้มาตรฐาน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการดื้อยาต้านมาลาเรีย ส่งผลให้การบำบัดรักษาโรคมาลาเรียในภูมิภาคนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมโรคสุ่มเก็บตัวอย่างยาต้านมาลาเรียจากท้องถิ่นที่มีการระบาดของโรค และตรวจคุณภาพยาในเบื้องต้น ลักษณะตัวอย่าง การตรวจเอกลักษณ์ วิเคราะห์ปริมาณตัวยาสำคัญ และการกระจายตัวของยาด้วยชุดทดสอบภาคสนาม หากพบตัวอย่างที่ผิดมาตรฐานและเข้าข่ายน่าสงสัย หรือไม่แน่ใจ ในผลวิเคราะห์เบื้องต้น รวมทั้งร้อยละ 10 ของตัวอย่างที่ผ่านการตรวจคุณภาพยาเบื้องต้น กรมควบคุมโรคจะส่งตัวอย่างดังกล่าวให้สำนักยาและวัตถุเสพติด เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง
ภญ.นิดาพรรณ เรืองฤทธินนท์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินงานด้านการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในการตรวจวิเคราะห์ยืนยันผลยาต้านมาลาเรีย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545-2555 ห้องปฏิบัติการของสำนักยาและวัตถุเสพติด ได้ตรวจวิเคราะห์ยาต้านมาลาเรีย รวม 450 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากกรมควบคุมโรค 394ตัวอย่าง และตัวอย่างที่ส่งมาจากต่างประเทศ 56 ตัวอย่าง ต่อมาในปี พ.ศ.2555 ได้ขยายการตรวจวิเคราะห์ยาในกลุ่มอื่นๆ เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด (Antibacterials) ยาต้านวัณโรค (Antituberculosis) และยาต้านไวรัส (Antiretrovirals) นอกจากนี้ สำนักยาและวัตถุเสพติดยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศในการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพยาต้านมาลาเรียในพื้นที่ที่มีการเฝ้าระวังคุณภาพยาต้านมาลาเรียอยู่เดิมกับพื้นที่ที่ไม่เคยมีการเฝ้าระวังมาก่อน และยังมีโครงการเครือข่ายความร่วมมือระดับห้องปฏิบัติการของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปัจจุบันมีประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมแล้ว 8 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ จีน กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้นซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายของโครงการมาลาเรียจะนำไปใช้ในการแก้ปัญหายาปลอมและยาไม่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพยาและช่วยลดปัญหาการดื้อยาและการแพร่ระบาดของเชื้อมาลาเรียทั้งในประเทศและประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง