ยารักษาโรคมาลาเรียคุณภาพเฉลี่ยลดลงจากประมาณ 90% หลังเฝ้าระวัง 9 จุดทั่วประเทศ แต่ยังไม่พบผู้ป่วยดื้อยา คร.เตรียมเปลี่ยนยารักษาเป็นสูตร DHA-PIP ขณะที่ปี 2555 พบผู้ป่วย 24,723 ราย
วันนี้ (21 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กรมควบคุมโรค นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดอบรมหลักสูตร Malaria Prevention and Control สำหรับบุคลากรจากประเทศในภูมิภาคแอฟริกา 6 ประเทศ ได้แก่ โกตดิวัวร์, มาลี, โมซัมบิก, เซเนกัล, อูกานดา และแซมเบีย ว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียทั่วโลกในขณะนี้ พบว่า แต่ละปีมีจำนวนประชากรทั่วโลกติดเชื้อมาลาเรียประมาณ 300 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และมีแนวโน้มว่าปัญหาอาจจะเพิ่มมากขึ้นในทวีปแอฟริกา
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรียในประเทศไทย ปี 2555 พบผู้ป่วยทั้งหมด 24,723 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.24 ต่อ 1,000 ประชากร โดยแยกเป็นผู้ป่วยคนไทย จำนวน 15,287 ราย ผู้ป่วยชาวต่างชาติ จำนวน 9,436 ราย จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวน 11 ราย เป็นคนไทย 9 ราย ชาวต่างชาติ 2 ราย เมื่อแยกเป็นรายจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ตาก ผู้ป่วยไทย 4,607 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 4,342 ราย 2.กาญจนบุรี ผู้ป่วยไทย 1,228 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 1,842 ราย 3.แม่ฮ่องสอน ผู้ป่วยไทย 990 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 505 ราย 4.ระนอง ผู้ป่วยไทย 514 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 527 ราย และ 5.สงขลา ผู้ป่วยไทย 868 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 117 ราย จึงขอแนะนำประชาชนที่เป็นเจ้าของสวนยางพารา และนำแรงงานต่างด้าวเข้ามากรีดยาง หรือทำงานอื่นๆ ให้พาแรงงานเหล่านั้นไปรับการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียก่อน เพื่อป้องกันตนเองและคนในสังคม เนื่องจากโรคมาลาเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยาและฉีดยาจนครบ
นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง คร. กล่าวว่า ในปี 2556 คร.จะทำการเปลี่ยนยารักษาโรคมาลาเรีย ที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ชนิดฟัลซิปารัม ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงอาจทำให้เชื้อขึ้นสมอง ตับวาย จนถึงเสียชีวิต จากยาอาร์ทีซูเนต (artesunate), ยาเมโฟลควิน (mefloquine) เป็นยาสูตรผสมไดไฮโดรอาทีมิซินิน-พิเพอราควิน (Dihydroartemisinin-piperaquin หรือ DHA-PIP) เนื่องจากจากการเฝ้าระวังเชื้อวัณโรคดื้อยาพื้นที่ 9 จุดใน 9 จังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า ไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว และไทย-มาเลเซีย ได้แก่ ระนอง แม่ฮ่องสอน ราชบุรี กาญจนบุรี ตาก อุบลราชธานี จันทบุรี ตราด และยะลา พบว่า คุณภาพยาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 90% หรือเชื้อดื้อต่อยาประมาณ 10% ซึ่งตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า หากคุณภาพยาต่ำกว่า 90% ควรเปลี่ยนสูตรยาที่ใช้ในการรักษา โดยคาดว่า จะสามารถดำเนินการสั่งซื้อยาใหม่เข้ามาใช้ได้ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556
“ที่ต้องเปลี่ยนยาเพราะวงของคุณภาพยาที่ต่ำกว่า หรือสูงกว่า 90% ไม่มาก เริ่มมีมากขึ้นในหลายจุด จากเดิมที่พบเพียงจันทบุรีและตราด คุณภาพยาอยู่ที่ 87% อุบลราชธานี 95-96% เริ่มพบว่า ระนอง และกาญจนบุรี คุณภาพลดน้อยลงเช่นกัน โดยตัวใหม่ที่จะนำมาใช้คาดว่าจะต้องสั่งซื้อให้เพียงพอกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียชนิดนี้ปีละ 12,000-15,000 ราย หรือ 50% ของจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียที่พบในไทยแต่ละปี โดยอีก 50% เป็นผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ซึ่งเป็นเชื้อที่ไม่รุนแรง และยังไม่มีการดื้อยา ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบัน คือ ยาคลอโรควิน ที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียดื้อยา” นพ.วิชัย กล่าว
ทั้งนี้ การอบรมหลักสูตร Malaria Prevention and Control ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Japan International Cooperation Agency : JICA) และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency : TICA) ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติภาคสนาม ตามหลักสูตร ทักษะพื้นฐานในการทำงาน, องค์ประกอบสำคัญสำหรับการควบคุมมาลาเรีย, การวิเคราะห์สถานการณ์และการประเมินผลการดำเนินการควบคุมมาลาเรีย และ การฝึกปฏิบัติภาคสนาม โดยในปี พ.ศ.2554 ดำเนินการจัดการอบรม จำนวน 1 รุ่น มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 21 คน และในปีที่สอง พ.ศ.2555 ดำเนินการจัดการอบรมอีก 1 รุ่น มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 18 คน ส่วนในปี พ.ศ.2556 นี้ ได้กำหนดให้มีการจัดการอบรมขึ้นระหว่างวันที่ 21 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2555 รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 20 คน
วันนี้ (21 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่กรมควบคุมโรค นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดอบรมหลักสูตร Malaria Prevention and Control สำหรับบุคลากรจากประเทศในภูมิภาคแอฟริกา 6 ประเทศ ได้แก่ โกตดิวัวร์, มาลี, โมซัมบิก, เซเนกัล, อูกานดา และแซมเบีย ว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียทั่วโลกในขณะนี้ พบว่า แต่ละปีมีจำนวนประชากรทั่วโลกติดเชื้อมาลาเรียประมาณ 300 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และมีแนวโน้มว่าปัญหาอาจจะเพิ่มมากขึ้นในทวีปแอฟริกา
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรียในประเทศไทย ปี 2555 พบผู้ป่วยทั้งหมด 24,723 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.24 ต่อ 1,000 ประชากร โดยแยกเป็นผู้ป่วยคนไทย จำนวน 15,287 ราย ผู้ป่วยชาวต่างชาติ จำนวน 9,436 ราย จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวน 11 ราย เป็นคนไทย 9 ราย ชาวต่างชาติ 2 ราย เมื่อแยกเป็นรายจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ตาก ผู้ป่วยไทย 4,607 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 4,342 ราย 2.กาญจนบุรี ผู้ป่วยไทย 1,228 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 1,842 ราย 3.แม่ฮ่องสอน ผู้ป่วยไทย 990 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 505 ราย 4.ระนอง ผู้ป่วยไทย 514 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 527 ราย และ 5.สงขลา ผู้ป่วยไทย 868 ราย ผู้ป่วยต่างชาติ 117 ราย จึงขอแนะนำประชาชนที่เป็นเจ้าของสวนยางพารา และนำแรงงานต่างด้าวเข้ามากรีดยาง หรือทำงานอื่นๆ ให้พาแรงงานเหล่านั้นไปรับการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียก่อน เพื่อป้องกันตนเองและคนในสังคม เนื่องจากโรคมาลาเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยาและฉีดยาจนครบ
นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง คร. กล่าวว่า ในปี 2556 คร.จะทำการเปลี่ยนยารักษาโรคมาลาเรีย ที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ชนิดฟัลซิปารัม ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงอาจทำให้เชื้อขึ้นสมอง ตับวาย จนถึงเสียชีวิต จากยาอาร์ทีซูเนต (artesunate), ยาเมโฟลควิน (mefloquine) เป็นยาสูตรผสมไดไฮโดรอาทีมิซินิน-พิเพอราควิน (Dihydroartemisinin-piperaquin หรือ DHA-PIP) เนื่องจากจากการเฝ้าระวังเชื้อวัณโรคดื้อยาพื้นที่ 9 จุดใน 9 จังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า ไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว และไทย-มาเลเซีย ได้แก่ ระนอง แม่ฮ่องสอน ราชบุรี กาญจนบุรี ตาก อุบลราชธานี จันทบุรี ตราด และยะลา พบว่า คุณภาพยาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 90% หรือเชื้อดื้อต่อยาประมาณ 10% ซึ่งตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า หากคุณภาพยาต่ำกว่า 90% ควรเปลี่ยนสูตรยาที่ใช้ในการรักษา โดยคาดว่า จะสามารถดำเนินการสั่งซื้อยาใหม่เข้ามาใช้ได้ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556
“ที่ต้องเปลี่ยนยาเพราะวงของคุณภาพยาที่ต่ำกว่า หรือสูงกว่า 90% ไม่มาก เริ่มมีมากขึ้นในหลายจุด จากเดิมที่พบเพียงจันทบุรีและตราด คุณภาพยาอยู่ที่ 87% อุบลราชธานี 95-96% เริ่มพบว่า ระนอง และกาญจนบุรี คุณภาพลดน้อยลงเช่นกัน โดยตัวใหม่ที่จะนำมาใช้คาดว่าจะต้องสั่งซื้อให้เพียงพอกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียชนิดนี้ปีละ 12,000-15,000 ราย หรือ 50% ของจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียที่พบในไทยแต่ละปี โดยอีก 50% เป็นผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ซึ่งเป็นเชื้อที่ไม่รุนแรง และยังไม่มีการดื้อยา ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบัน คือ ยาคลอโรควิน ที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียดื้อยา” นพ.วิชัย กล่าว
ทั้งนี้ การอบรมหลักสูตร Malaria Prevention and Control ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Japan International Cooperation Agency : JICA) และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency : TICA) ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติภาคสนาม ตามหลักสูตร ทักษะพื้นฐานในการทำงาน, องค์ประกอบสำคัญสำหรับการควบคุมมาลาเรีย, การวิเคราะห์สถานการณ์และการประเมินผลการดำเนินการควบคุมมาลาเรีย และ การฝึกปฏิบัติภาคสนาม โดยในปี พ.ศ.2554 ดำเนินการจัดการอบรม จำนวน 1 รุ่น มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 21 คน และในปีที่สอง พ.ศ.2555 ดำเนินการจัดการอบรมอีก 1 รุ่น มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 18 คน ส่วนในปี พ.ศ.2556 นี้ ได้กำหนดให้มีการจัดการอบรมขึ้นระหว่างวันที่ 21 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2555 รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 20 คน