โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
เมื่อเอ่ยถึง “อาจารย์ใหญ่” คนส่วนมากคงนึกถึงภาพน่ากลัวของศพที่ถูกดองเอาไว้เป็นเวลานาน และนำร่างมานอนบนเตียงเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ทำการศึกษากายวิภาคศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้น หนังผีหลายเรื่องก็ได้สร้างภาพความน่ากลัวของอาจารย์ใหญ่เอาไว้ ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกกลัว หากต้องเข้าไปสัมผัสกับร่างของอาจารย์ใหญ่
ทั้งที่จริงแล้ว อาจารย์ใหญ่ก็คือผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยมีชีวิต แต่อยากทำบุญด้วยอุทิศร่าง ทอดกายนอนสงบนิ่งเพื่อเป็นวิทยาทานให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษา และนำความรู้ไปช่วยผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
แต่ที่ต้องยอมรับคือ สภาพของอาจารย์ใหญ่ ซึ่งก็คือศพ สภาพร่างกายและอวัยวะย่อมมีความแข็ง ผิวหนังไม่ยืดหยุ่น และมีสีคล้ำดูน่ากลัว แต่ด้วยวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์ ความรู้ และเทคโนโลยี ทำให้ทุกวันนี้มีอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ ซึ่งคงสภาพของความเป็นมนุษย์ไว้ได้เหมือนมากที่สุดถึง 99% นั่นคือการนำศพมาแช่แข็งและฉีดน้ำยาพิเศษ ทำให้โปรตีนในร่างกายไม่แตกตัว จนได้อาจารย์ใหญ่ที่มีผิวหนังอ่อนนุ่ม เหมือนคนนอนหลับจริงๆ เว้นแต่เพียงสีผิวของศพที่อาจมีสีคล้ำลงกว่าคนธรรมดาเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่คล้ำมากเท่ากับอาจารย์ใหญ่แบบเก่าที่ใช้การฉีดฟอร์มาลินและการดองศพในบ่อ
แล้วอาจารย์ใหญ่แบบเก่ากับแบบใหม่มีความแตกต่าง หรือมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ASTVผู้จัดการออนไลน์ มีคำตอบ
นพ.ปกรณ์ แสงฉาย อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายถึงความแตกต่างให้ฟังว่า ขณะนี้ศิริราชมีอาจารย์ใหญ่ 3 รูปแบบคือแบบเก่า แบบแช่แข็ง และแบบนุ่ม โดยอาจารย์ใหญ่แบบเก่านั้นมีการผลิตและใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว ขั้นตอนในการผลิตอาจารย์ใหญ่แบบเก่าคือ เมื่อผู้แสดงความจำนงบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่เสียชีวิตลง เจ้าหน้าที่จะรีบไปรับศพมาทันที เนื่องจากหากทิ้งไว้นานจะไม่สามารถนำร่างมาทำอาจารย์ใหญ่ได้ เมื่อรับศพมาแล้วก็จะนำมาฉีดน้ำยาซึ่งมีส่วนผสมของฟอร์มาลีนมากถึง 10% จากนั้นจึงนำมาลงบ่อดองไว้นานประมาณ 2 ปี จึงจะนำไปใช้ได้
“ข้อดีของอาจารย์ใหญ่แบบเดิมคือ ค่าใช้จ่ายต่อร่างต่ำที่สุดในอาจารย์ใหญ่ทั้ง 3 แบบ เก็บร่างไว้ใช้ได้นานตลอดปีการศึกษาหรืออาจใช้ได้นานถึงปีกว่า แต่มีข้อเสียเยอะคือ ร่างจะแข็ง ผิวหนัง ข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อจะไม่มีความยิดหยุ่นเหมือนคนจริงๆ นอกจากนี้ การใช้ฟอร์มาลินจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูก และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง จึงมีความพยายามที่จะลดการใช้สารฟอร์มาลีนลง จึงนำมาสู่การผลิตอาจารย์ใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 2 แบบ”
นพ.ปกรณ์ กล่าวต่อไปว่า อาจารย์ใหญ่แบบที่ 2 คือแบบแช่แข็ง เช่นกันเมื่อผู้แสดงความจำนงบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่เสียชีวิตลง เจ้าหน้าที่จะรีบไปรับศพมา ที่แตกต่างคือจะต้องตรวจเลือดร่างกายดังกล่าว 3 อย่างคือ ตรวจหาเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี เมื่อผลตรวจเป็นลบคือไม่มีเชื้อ จะนำไปแช่แข็งในตู้แช่ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ร่างกายและเลือดแข็งตัว สามารถแช่เก็บไว้ได้นานจนกว่าจะมีการนำร่างออกมาใช้ ซึ่งเมื่อจะนำร่างออกมาใช้จะต้องนำออกมาละลายเป็นเวลา 3 วัน ร่างและเลือดที่แข็งจากความเย็นก็จะกลับมาเป็นเช่นเดิมเหมือนเมื่อครั้งยังมีชีวิต เป็นอาจารย์ใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์มากที่สุด ยังคงมีน้ำเลือดอยู่ในร่างกาย นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการตรวจหาเชื้อในเลือด เพื่อความปลอดภัยของผู้ทำการศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่
“ข้อดีของการแช่แข็งคือศพเหมือนมนุษย์มากที่สุด แต่ข้อเสียคือระยะเวลาการเก็บรักษาหลังการนำออกมาใช้งานครั้งแรกค่อนข้างน้อย คือนำออกมาใช้แล้วนำกลับไปแช่แข็งต่อเพื่อนำออกมาใช้ใหม่ จะทำได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น เพราะมีแบคทีเรียในช่องท้อง เนื่องจากไม่ได้มีการฉีดสารฟอร์มาลินเข้าไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้”
นพ.ปกรณ์ อธิบายเพิ่มว่า สำหรับอาจารย์ใหญ่แบบที่ 3 คือ แบบศพนุ่ม ขั้นตอนการนำร่างมาทำอาจารย์เหมือนกันคือ เมื่อผู้บริจาคเสียชีวิตจะนำศพมาทำอาจารย์ใหญ่ แต่ที่ดีกว่าคือไม่จำเป็นต้องรีบเท่า 2 แบบ คือทิ้งศพไว้ประมาณ 5 วันก็สามารถนำมาทำอาจารย์ใหญ่แบบนุ่มได้ ทั้งนี้ เมื่อได้ศพแล้วก็จะนำมาฉีดน้ำยาพิเศษ ซึ่งทีมวิจัยได้ไปศึกษาสารเหล่านี้จากประเทศอังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ และนำมาปรับสูตรให้เข้ากับประเทศไทย เนื่องจากมีสภาพอากาศที่ต่างกัน โดยมีส่วนประกอบทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์กว่า 20 ชนิด มีส่วนผสมของฟอร์มาลีนน้อยมากคือ 2% เมื่อฉีดแล้วจะนำมาแช่ในแท็งก์นานประมาณ 3 เดือน จึงจะสามารถนำร่างมาใช้งานได้ ข้อดีคือเมื่อนำร่างออกมาใช้ครั้งแรกมีระยะเวลาในการเก็บรักษายาวนานอย่างน้อย 2 ปี เพราะร่างอาจารย์ใหญ่แบบนุ่มร่างแรกที่ผลิตเมื่อ พ.ย. 2555 ทุกวันนี้ก็ยังสามารถใช้งานได้อยู่
“แต่ข้อเสียของอาจารย์ใหญ่แบบนุ่มและแช่แข็งคือการนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพราะญาติจะนำไปได้เพียงผมและเล็บเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ต้องตกลงกับญาติให้ดีและเข้าใจก่อน ซึ่งไม่เหมือนกับร่างอาจารย์ใหญ่แบบเก่าที่เมื่อฉีดน้ำยาเข้าร่างกายแล้วสามารถนำร่างไปประกอบพิธีทางศาสนาได้ แต่แบบแช่แข็งและแบบนิ่มไม่สามารถทำได้ เพราะแบบแช่แข็งจำเป็นต้องอยู่ในอุณหภูมิ -20 องศาตลอดเวลา ส่วนแบบนุ่มจะต้องนำไปแช่ในแท็งก์เป็นเวลา 3 เดือน อย่างไรก็ตาม ทุกปลายปีจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพให้แก่อาจารย์ใหญ่เป็นประจำอยู่แล้ว”
สำหรับการผลิตอาจารย์ใหญ่ นพ.ปกรณ์ บอกว่า ขณะนี้อาจารย์ใหญ่แบบนุ่มสามารถผลิตได้แล้ว 25 ร่างตั้งแต่เมื่อ พ.ย. 2555 เป็นต้นมา โดยปี 2558 จะผลิตเพิ่มให้ได้อีก 40 ร่าง รวมถึงอาจารย์ใหญ่แบบแช่แข็งด้วย ซึ่งแผนที่วางไว้คือ ปกติจะมีผู้แสดงความจำนงขอบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ประมาณปีละ 2,000 ราย แต่สามารถนำมาทำอาจารย์ใหญ่ได้เพียงปีละ 300 ราย ดังนั้น จึงจะผลิตอาจารย์ใหญ่แบบเก่าประมาณ 120 ร่าง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จะได้เรียนตลอดทั้งปี ผลิตอีก 100 ร่างเพื่อส่งออกไปยังสถาบันการแพทย์อื่น หรือโรงเรียนแพทย์แห่งอื่นที่ไม่สามารถผลิตอาจารย์ใหญ่เองได้ และเหลืออีก 80 ร่างจะนำมาผลิตอาจารย์ใหญ่แบบแช่แข็งและแบบนุ่มอย่างละครึ่งคือประมาณ 40 ร่าง
จะเห็นได้ว่าอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่น่ากลัวอีกต่อไป เพราะเหมือนคนที่นอนหลับไปจริงๆ ฉะนั้น โปรดอย่าได้กลัวผู้มีจิตอันเป็นกุศลที่ขออุทิศร่างเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาทางการแพทย์เลย
เมื่อเอ่ยถึง “อาจารย์ใหญ่” คนส่วนมากคงนึกถึงภาพน่ากลัวของศพที่ถูกดองเอาไว้เป็นเวลานาน และนำร่างมานอนบนเตียงเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ทำการศึกษากายวิภาคศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้น หนังผีหลายเรื่องก็ได้สร้างภาพความน่ากลัวของอาจารย์ใหญ่เอาไว้ ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกกลัว หากต้องเข้าไปสัมผัสกับร่างของอาจารย์ใหญ่
ทั้งที่จริงแล้ว อาจารย์ใหญ่ก็คือผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยมีชีวิต แต่อยากทำบุญด้วยอุทิศร่าง ทอดกายนอนสงบนิ่งเพื่อเป็นวิทยาทานให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษา และนำความรู้ไปช่วยผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
แต่ที่ต้องยอมรับคือ สภาพของอาจารย์ใหญ่ ซึ่งก็คือศพ สภาพร่างกายและอวัยวะย่อมมีความแข็ง ผิวหนังไม่ยืดหยุ่น และมีสีคล้ำดูน่ากลัว แต่ด้วยวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์ ความรู้ และเทคโนโลยี ทำให้ทุกวันนี้มีอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ ซึ่งคงสภาพของความเป็นมนุษย์ไว้ได้เหมือนมากที่สุดถึง 99% นั่นคือการนำศพมาแช่แข็งและฉีดน้ำยาพิเศษ ทำให้โปรตีนในร่างกายไม่แตกตัว จนได้อาจารย์ใหญ่ที่มีผิวหนังอ่อนนุ่ม เหมือนคนนอนหลับจริงๆ เว้นแต่เพียงสีผิวของศพที่อาจมีสีคล้ำลงกว่าคนธรรมดาเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่คล้ำมากเท่ากับอาจารย์ใหญ่แบบเก่าที่ใช้การฉีดฟอร์มาลินและการดองศพในบ่อ
แล้วอาจารย์ใหญ่แบบเก่ากับแบบใหม่มีความแตกต่าง หรือมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ASTVผู้จัดการออนไลน์ มีคำตอบ
นพ.ปกรณ์ แสงฉาย อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายถึงความแตกต่างให้ฟังว่า ขณะนี้ศิริราชมีอาจารย์ใหญ่ 3 รูปแบบคือแบบเก่า แบบแช่แข็ง และแบบนุ่ม โดยอาจารย์ใหญ่แบบเก่านั้นมีการผลิตและใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว ขั้นตอนในการผลิตอาจารย์ใหญ่แบบเก่าคือ เมื่อผู้แสดงความจำนงบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่เสียชีวิตลง เจ้าหน้าที่จะรีบไปรับศพมาทันที เนื่องจากหากทิ้งไว้นานจะไม่สามารถนำร่างมาทำอาจารย์ใหญ่ได้ เมื่อรับศพมาแล้วก็จะนำมาฉีดน้ำยาซึ่งมีส่วนผสมของฟอร์มาลีนมากถึง 10% จากนั้นจึงนำมาลงบ่อดองไว้นานประมาณ 2 ปี จึงจะนำไปใช้ได้
“ข้อดีของอาจารย์ใหญ่แบบเดิมคือ ค่าใช้จ่ายต่อร่างต่ำที่สุดในอาจารย์ใหญ่ทั้ง 3 แบบ เก็บร่างไว้ใช้ได้นานตลอดปีการศึกษาหรืออาจใช้ได้นานถึงปีกว่า แต่มีข้อเสียเยอะคือ ร่างจะแข็ง ผิวหนัง ข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อจะไม่มีความยิดหยุ่นเหมือนคนจริงๆ นอกจากนี้ การใช้ฟอร์มาลินจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูก และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง จึงมีความพยายามที่จะลดการใช้สารฟอร์มาลีนลง จึงนำมาสู่การผลิตอาจารย์ใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 2 แบบ”
นพ.ปกรณ์ กล่าวต่อไปว่า อาจารย์ใหญ่แบบที่ 2 คือแบบแช่แข็ง เช่นกันเมื่อผู้แสดงความจำนงบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่เสียชีวิตลง เจ้าหน้าที่จะรีบไปรับศพมา ที่แตกต่างคือจะต้องตรวจเลือดร่างกายดังกล่าว 3 อย่างคือ ตรวจหาเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี เมื่อผลตรวจเป็นลบคือไม่มีเชื้อ จะนำไปแช่แข็งในตู้แช่ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ร่างกายและเลือดแข็งตัว สามารถแช่เก็บไว้ได้นานจนกว่าจะมีการนำร่างออกมาใช้ ซึ่งเมื่อจะนำร่างออกมาใช้จะต้องนำออกมาละลายเป็นเวลา 3 วัน ร่างและเลือดที่แข็งจากความเย็นก็จะกลับมาเป็นเช่นเดิมเหมือนเมื่อครั้งยังมีชีวิต เป็นอาจารย์ใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์มากที่สุด ยังคงมีน้ำเลือดอยู่ในร่างกาย นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการตรวจหาเชื้อในเลือด เพื่อความปลอดภัยของผู้ทำการศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่
“ข้อดีของการแช่แข็งคือศพเหมือนมนุษย์มากที่สุด แต่ข้อเสียคือระยะเวลาการเก็บรักษาหลังการนำออกมาใช้งานครั้งแรกค่อนข้างน้อย คือนำออกมาใช้แล้วนำกลับไปแช่แข็งต่อเพื่อนำออกมาใช้ใหม่ จะทำได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น เพราะมีแบคทีเรียในช่องท้อง เนื่องจากไม่ได้มีการฉีดสารฟอร์มาลินเข้าไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้”
นพ.ปกรณ์ อธิบายเพิ่มว่า สำหรับอาจารย์ใหญ่แบบที่ 3 คือ แบบศพนุ่ม ขั้นตอนการนำร่างมาทำอาจารย์เหมือนกันคือ เมื่อผู้บริจาคเสียชีวิตจะนำศพมาทำอาจารย์ใหญ่ แต่ที่ดีกว่าคือไม่จำเป็นต้องรีบเท่า 2 แบบ คือทิ้งศพไว้ประมาณ 5 วันก็สามารถนำมาทำอาจารย์ใหญ่แบบนุ่มได้ ทั้งนี้ เมื่อได้ศพแล้วก็จะนำมาฉีดน้ำยาพิเศษ ซึ่งทีมวิจัยได้ไปศึกษาสารเหล่านี้จากประเทศอังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ และนำมาปรับสูตรให้เข้ากับประเทศไทย เนื่องจากมีสภาพอากาศที่ต่างกัน โดยมีส่วนประกอบทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์กว่า 20 ชนิด มีส่วนผสมของฟอร์มาลีนน้อยมากคือ 2% เมื่อฉีดแล้วจะนำมาแช่ในแท็งก์นานประมาณ 3 เดือน จึงจะสามารถนำร่างมาใช้งานได้ ข้อดีคือเมื่อนำร่างออกมาใช้ครั้งแรกมีระยะเวลาในการเก็บรักษายาวนานอย่างน้อย 2 ปี เพราะร่างอาจารย์ใหญ่แบบนุ่มร่างแรกที่ผลิตเมื่อ พ.ย. 2555 ทุกวันนี้ก็ยังสามารถใช้งานได้อยู่
“แต่ข้อเสียของอาจารย์ใหญ่แบบนุ่มและแช่แข็งคือการนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพราะญาติจะนำไปได้เพียงผมและเล็บเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ต้องตกลงกับญาติให้ดีและเข้าใจก่อน ซึ่งไม่เหมือนกับร่างอาจารย์ใหญ่แบบเก่าที่เมื่อฉีดน้ำยาเข้าร่างกายแล้วสามารถนำร่างไปประกอบพิธีทางศาสนาได้ แต่แบบแช่แข็งและแบบนิ่มไม่สามารถทำได้ เพราะแบบแช่แข็งจำเป็นต้องอยู่ในอุณหภูมิ -20 องศาตลอดเวลา ส่วนแบบนุ่มจะต้องนำไปแช่ในแท็งก์เป็นเวลา 3 เดือน อย่างไรก็ตาม ทุกปลายปีจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพให้แก่อาจารย์ใหญ่เป็นประจำอยู่แล้ว”
สำหรับการผลิตอาจารย์ใหญ่ นพ.ปกรณ์ บอกว่า ขณะนี้อาจารย์ใหญ่แบบนุ่มสามารถผลิตได้แล้ว 25 ร่างตั้งแต่เมื่อ พ.ย. 2555 เป็นต้นมา โดยปี 2558 จะผลิตเพิ่มให้ได้อีก 40 ร่าง รวมถึงอาจารย์ใหญ่แบบแช่แข็งด้วย ซึ่งแผนที่วางไว้คือ ปกติจะมีผู้แสดงความจำนงขอบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ประมาณปีละ 2,000 ราย แต่สามารถนำมาทำอาจารย์ใหญ่ได้เพียงปีละ 300 ราย ดังนั้น จึงจะผลิตอาจารย์ใหญ่แบบเก่าประมาณ 120 ร่าง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จะได้เรียนตลอดทั้งปี ผลิตอีก 100 ร่างเพื่อส่งออกไปยังสถาบันการแพทย์อื่น หรือโรงเรียนแพทย์แห่งอื่นที่ไม่สามารถผลิตอาจารย์ใหญ่เองได้ และเหลืออีก 80 ร่างจะนำมาผลิตอาจารย์ใหญ่แบบแช่แข็งและแบบนุ่มอย่างละครึ่งคือประมาณ 40 ร่าง
จะเห็นได้ว่าอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่น่ากลัวอีกต่อไป เพราะเหมือนคนที่นอนหลับไปจริงๆ ฉะนั้น โปรดอย่าได้กลัวผู้มีจิตอันเป็นกุศลที่ขออุทิศร่างเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาทางการแพทย์เลย