ศิริราชเตรียมเปิดตัว “อาจารย์ใหญ่แบบนิ่ม” ในศูนย์ฝึกอบรมทักษะหัตถการแห่งใหม่ ระบุเลิกใช้ฟอร์มาลินแบบเดิม หันใช้สารเคมีพิเศษฉีดเข้าร่างให้โปรตีนไม่แตกตัว จนได้อาจารย์ใหญ่เหมือนคนนอนหลับจริงๆ หวัง นศ.แพทย์-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญฝึกผ่าตัด ร่วมหุ่นแสดงอาการเสมือนจริง ช่วยฝึกทักษะแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเริ่มที่คนไข้
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ ผอ.โรงเรียนแพทย์ศิริราช กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกกำลังปรับหลักสูตรแพทยศาสตร์ โดยหลักการใหม่คือ ไม่อยากให้แพทย์จบใหม่ไปทำหัตถการครั้งแรกในตัวผู้ป่วย ซึ่งหากเป็นเราเองก็คงไม่อยากผ่าตัดกับแพทย์ที่ไม่เคยผ่าใครมาก่อนเช่นกัน ทั้งนี้ ในวันที่ 24 เม.ย. เวลา 10.30 น. ที่อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 4 รพ.ศิริราช จะเปิด “ศูนย์ผึกอบรมทักษะหัตถการทางการแพทย์ศิริราช (ศูนย์ SiTEC)” ขึ้น เนื่องในโอกาส รพ.ศิริราชครบรอบ 126 ปี หลักการคือให้นักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเป็นแพทย์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทำหัตถการครั้งแรกในร่างที่ไม่ใช่ตัวคนไข้ เช่น อาจารย์ใหญ่ และหุ่น เป็นต้น
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ภายในศูนย์แห่งนี้เราสามารถทำหัตถการใหม่อีกแบบหนึ่งใน อาจารย์ใหญ่แบบใหม่ ซึ่งลักษณะเป็นแบบนุ่มคือ เหมือนคนนอนหลับปกติ ผิวเนื้อก็จะนิ่มคล้ายคนไข้จริงๆ ซึ่งจะแตกต่างจากอาจารย์ใหญ่แบบเดิมที่มีลักษณะร่างกายที่ค่อนข้างแข็ง ผิวหนังแข็ง ซึ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์ ทั้งนี้ การทำอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มจะใช้สารเคมีบางอย่างฉีดเข้าไปในร่างกาย แล้วไม่ทำให้โปรตีนเกิดการแตกตัว ซึ่งต่างจากอาจารย์ใหญ่แบบเดิมที่ใช้ฟอร์มาลิน ฉะนั้น ทุกอย่างจะคล้ายของจริงหมด โดยเริ่มมีการทดลองผ่าตัดอาจารย์ใหญ่แบบใหม่หรือแบบนิ่มแล้วตั้งแต่ ส.ค. 2556 แต่เพิ่งมาเปิดศูนย์ฯอย่างเป็นทางการวันที่ 24 เม.ย. 2557
“สารเคมีตัวนี้ไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากแต่ละแห่งก็มีการพัฒนาสารลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งสูตรเคมีก้คล้ายกัน เพราะไม่ได้ซับซ้อนจนเกินไป โดยแต่ละแห่งก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยศิริราชได้ส่งอาจารย์ไปดูงานทางสวีเดน แล้วกลับมาพัฒนา โดยขอย้ำว่าอาจารย์ใหญ่เป็นอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ เพราะเป็นผู้มีกุศลจิตมอบร่างเพื่อให้เราศึกษาอย่างละเอียดมากที่สุด ถึงเกิดมีการทำอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มขึ้น” ผอ.ร.ร.แพทย์ศิริราช กล่าว
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเรียนการสอนโดยการใช้อาจารย์ใหญ่แบบใหม่ แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งอาจารย์ใหญ่แบบเก่า เนื่องจากอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่ามาก สำหรับนักศึกษาแพทย์จะยังใช้อาจารย์ใหญ่แบบเดิม ซึ่งมีการพัฒนาให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ผู้ที่จะทำหัตถการผ่าที่ตัวคนไข้ เราอยากให้อาจารย์ใหญ่คล้ายตัวคนไข้จริงๆ อย่างการส่องกล้องก็คล้ายคนจริงๆ จึงให้ใช้อาจารย์ใหญ่แบบนิ่ม นอกจากนี้ ในศูนย์ฯ ยังมีหุ่นยนต์ซึ่งจำลองเหมือนคนไข้จริงๆ ด้วย โดยหุ่นจะแสดงอาการหน้าแดง ไข้ขึ้น ร้องคราง ตัวสั่นได้ หรือพอให้ยาอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ คือเหมือนคนจริงๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้นักเรียนของเราหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ฝึกทักษะเหล่านี้โดยที่ไม่ได้ไปเริ่มที่ตัวคนไข้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพัฒนาอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ทำให้ต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้น จะกระทบกับค่าเล่าเรียนของนักศึกษาแพทย์ด้วยหรือไม่ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายเพิ่มค่าเล่าเรียน เพราะเงินบางส่วนมาจากการดูแลคนไข้ เป้าหมายของศิริราชคือ ต้องการผลิตแพทย์ที่ดีที่สุดเพื่อให้บริการสังคม สิ่งที่เราให้เขาไปคือทำให้เขาเป็นแพทย์ที่ดี จึงจะไม่มาคิดต้นทุนตรงนี้
“ไม่เพียงแต่อบรมแก่แพทย์ในประเทศเท่านั้น ศูนย์ฯ จะช่วยฝึกอบรมให้แก่อาเซียนด้วย โดยจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่ดีที่สุดในอาเซียน เนื่อจากศูนย์ฯ จะประกอบด้วยห้องฝึกผ่าตัดขนาด 8 เตียง จำนวน 2 ห้อง ห้องฝึกผ่าตัดขนาด 2 เตียง จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้น 20 เตียง มีห้องบรรยายขนาด 45 ที่นั่ง พร้อมระบบโสตทัศนูปกรณ์เพื่อถ่ายทอดการสาธิตผ่าตัด และสามารถถ่ายทอดวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีห้องฝึกผ่าตัดจุลศัลยกรรมขนาด 10 โต๊ะ เครื่องฝึกผ่าตัดเสมือนจริง เช่น ชุดฝึกใส่สายสวนหลอดเลือดสมอง เป็นต้น จัดตู้แช่เก็บร่างอาจารย์ใหญ่สูงสุดถึง 24 ร่าง โดยวันเปิดศูนย์ฯ จะมีการฝึกผ่าตัดร่างอาจารย์ใหญ่และสาธิตการเรียนการสอน” ผอ.ร.ร.แพทย์ศิริราช กล่าว
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ ผอ.โรงเรียนแพทย์ศิริราช กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกกำลังปรับหลักสูตรแพทยศาสตร์ โดยหลักการใหม่คือ ไม่อยากให้แพทย์จบใหม่ไปทำหัตถการครั้งแรกในตัวผู้ป่วย ซึ่งหากเป็นเราเองก็คงไม่อยากผ่าตัดกับแพทย์ที่ไม่เคยผ่าใครมาก่อนเช่นกัน ทั้งนี้ ในวันที่ 24 เม.ย. เวลา 10.30 น. ที่อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 4 รพ.ศิริราช จะเปิด “ศูนย์ผึกอบรมทักษะหัตถการทางการแพทย์ศิริราช (ศูนย์ SiTEC)” ขึ้น เนื่องในโอกาส รพ.ศิริราชครบรอบ 126 ปี หลักการคือให้นักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเป็นแพทย์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทำหัตถการครั้งแรกในร่างที่ไม่ใช่ตัวคนไข้ เช่น อาจารย์ใหญ่ และหุ่น เป็นต้น
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ภายในศูนย์แห่งนี้เราสามารถทำหัตถการใหม่อีกแบบหนึ่งใน อาจารย์ใหญ่แบบใหม่ ซึ่งลักษณะเป็นแบบนุ่มคือ เหมือนคนนอนหลับปกติ ผิวเนื้อก็จะนิ่มคล้ายคนไข้จริงๆ ซึ่งจะแตกต่างจากอาจารย์ใหญ่แบบเดิมที่มีลักษณะร่างกายที่ค่อนข้างแข็ง ผิวหนังแข็ง ซึ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์ ทั้งนี้ การทำอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มจะใช้สารเคมีบางอย่างฉีดเข้าไปในร่างกาย แล้วไม่ทำให้โปรตีนเกิดการแตกตัว ซึ่งต่างจากอาจารย์ใหญ่แบบเดิมที่ใช้ฟอร์มาลิน ฉะนั้น ทุกอย่างจะคล้ายของจริงหมด โดยเริ่มมีการทดลองผ่าตัดอาจารย์ใหญ่แบบใหม่หรือแบบนิ่มแล้วตั้งแต่ ส.ค. 2556 แต่เพิ่งมาเปิดศูนย์ฯอย่างเป็นทางการวันที่ 24 เม.ย. 2557
“สารเคมีตัวนี้ไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากแต่ละแห่งก็มีการพัฒนาสารลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งสูตรเคมีก้คล้ายกัน เพราะไม่ได้ซับซ้อนจนเกินไป โดยแต่ละแห่งก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยศิริราชได้ส่งอาจารย์ไปดูงานทางสวีเดน แล้วกลับมาพัฒนา โดยขอย้ำว่าอาจารย์ใหญ่เป็นอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ เพราะเป็นผู้มีกุศลจิตมอบร่างเพื่อให้เราศึกษาอย่างละเอียดมากที่สุด ถึงเกิดมีการทำอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มขึ้น” ผอ.ร.ร.แพทย์ศิริราช กล่าว
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเรียนการสอนโดยการใช้อาจารย์ใหญ่แบบใหม่ แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งอาจารย์ใหญ่แบบเก่า เนื่องจากอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่ามาก สำหรับนักศึกษาแพทย์จะยังใช้อาจารย์ใหญ่แบบเดิม ซึ่งมีการพัฒนาให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ผู้ที่จะทำหัตถการผ่าที่ตัวคนไข้ เราอยากให้อาจารย์ใหญ่คล้ายตัวคนไข้จริงๆ อย่างการส่องกล้องก็คล้ายคนจริงๆ จึงให้ใช้อาจารย์ใหญ่แบบนิ่ม นอกจากนี้ ในศูนย์ฯ ยังมีหุ่นยนต์ซึ่งจำลองเหมือนคนไข้จริงๆ ด้วย โดยหุ่นจะแสดงอาการหน้าแดง ไข้ขึ้น ร้องคราง ตัวสั่นได้ หรือพอให้ยาอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ คือเหมือนคนจริงๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้นักเรียนของเราหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ฝึกทักษะเหล่านี้โดยที่ไม่ได้ไปเริ่มที่ตัวคนไข้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพัฒนาอาจารย์ใหญ่แบบใหม่ทำให้ต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้น จะกระทบกับค่าเล่าเรียนของนักศึกษาแพทย์ด้วยหรือไม่ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายเพิ่มค่าเล่าเรียน เพราะเงินบางส่วนมาจากการดูแลคนไข้ เป้าหมายของศิริราชคือ ต้องการผลิตแพทย์ที่ดีที่สุดเพื่อให้บริการสังคม สิ่งที่เราให้เขาไปคือทำให้เขาเป็นแพทย์ที่ดี จึงจะไม่มาคิดต้นทุนตรงนี้
“ไม่เพียงแต่อบรมแก่แพทย์ในประเทศเท่านั้น ศูนย์ฯ จะช่วยฝึกอบรมให้แก่อาเซียนด้วย โดยจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่ดีที่สุดในอาเซียน เนื่อจากศูนย์ฯ จะประกอบด้วยห้องฝึกผ่าตัดขนาด 8 เตียง จำนวน 2 ห้อง ห้องฝึกผ่าตัดขนาด 2 เตียง จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้น 20 เตียง มีห้องบรรยายขนาด 45 ที่นั่ง พร้อมระบบโสตทัศนูปกรณ์เพื่อถ่ายทอดการสาธิตผ่าตัด และสามารถถ่ายทอดวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีห้องฝึกผ่าตัดจุลศัลยกรรมขนาด 10 โต๊ะ เครื่องฝึกผ่าตัดเสมือนจริง เช่น ชุดฝึกใส่สายสวนหลอดเลือดสมอง เป็นต้น จัดตู้แช่เก็บร่างอาจารย์ใหญ่สูงสุดถึง 24 ร่าง โดยวันเปิดศูนย์ฯ จะมีการฝึกผ่าตัดร่างอาจารย์ใหญ่และสาธิตการเรียนการสอน” ผอ.ร.ร.แพทย์ศิริราช กล่าว