คุรุสภา สั่งนิติกรลงเก็บข้อมูลทุจริตครูผู้ช่วย รวมทั้งตัวเลขจำนวนครูที่มาสอบเพื่อวิเคราะห์แนวทางวางระบบผลิตครู แจงไม่สามารถถอดตั๋วครูของ ผอ. ที่เข้าสอบได้ทันทีต้องให้เป็นไปตามกระบวนการ
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพครู ได้หยิบยกประเด็นการสอบแข่งขันคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ครั้งที่ 1/2557 ขึ้นหารือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อดูว่าจะสามารถเข้าไปมีส่วนในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะกรณีที่พบพิรุธข้าราชการครูและผู้อำนวยการโรงเรียน ที่เข้าสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ว่ามีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ซึ่งทางคุรุสภาเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ล่าสุดได้ส่งนิติกรไปหาข้อมูล เพื่อมาพิจารณาให้รอบด้าน ว่าหากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จะสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคุรุภา ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบดูแลเรื่องวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครูอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คุรุสภาไม่สามารถไปถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ถูกกล่าวหาได้ทันที เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยต้องดูถึงสภาพปัญหาว่ามาจากสาเหตุใดเพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย นอกจากนี้ ยังขอให้นิติกรเก็บข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่ปีนี้มีผู้สมัครเข้าสอบครูผู้ช่วยมากกว่า 100,000 คน แต่มีอัตราที่ประกาศบรรจุได้เพียง 1,888 อัตรา และที่สำคัญยังพบว่า มีคนที่เป็นครูอยู่แล้วไปสมัครสอบจำนวนมาก มาวิเคราะห์ว่าเกิดจากปัจจัยใดบ้าง รวมถึงดูลึกลงไปในรายละเอียดว่า สาขาที่เปิดรับมีสาขาใดบ้าง และเป็นสาขาที่ขาดแคลนจริงหรือไม่ และเปิดรับครูจำนวนกี่คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการผลิตครูในอนาคต ว่าจะมีการพัฒนาวิชาครูไปในทิศทางไหนได้บ้าง
“ช่วงระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา กระบวนการจัดการสอบครูผู้ช่วยมีการป้องกันการโกงอย่างมาก และส่งผลสะท้อนในทางลบว่า คนในวิชาชีพครูมีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์ ความเป็นธรรม และการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวสูงของครู ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้น จึงคิดว่าอาจจะต้องมีการพูดคุยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู เพื่อให้กระบวนการคัดเลือกที่เหมาะสม เพื่อจะสามารถคัดเลือกคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมมาเป็นครูอย่างแท้จริง โดยอาจจะต้องต้องมองย้อนกลับไปที่ต้นทางของกระบวนการผลิตครู ที่จะต้องมีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากส่วนตัวเห็นว่าการป้องกันการทุจริตนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากเกินไป” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในการประชุมได้หารือกรณีข้อร้องเรียนของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่ขอให้มีการทบทวนระยะเวลาการประกาศรับสมัครครูผู้ช่วย เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า การประกาศรับสมัครครูผู้ช่วยค่อนข้างเร็วทำให้มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่สามารถจัดทำเอกสารให้กับนักศึกษา นำไปประกอบการสมัครได้ทัน ดังนั้น คุรุสภาจะมาหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่า ช่วงเวลาสำหรับการประกาศรับสมัครครูผู้ช่วยแบบไหนถึงจะมีความเหมาะสมมากที่สุด
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพครู ได้หยิบยกประเด็นการสอบแข่งขันคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ครั้งที่ 1/2557 ขึ้นหารือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อดูว่าจะสามารถเข้าไปมีส่วนในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะกรณีที่พบพิรุธข้าราชการครูและผู้อำนวยการโรงเรียน ที่เข้าสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ว่ามีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ซึ่งทางคุรุสภาเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ล่าสุดได้ส่งนิติกรไปหาข้อมูล เพื่อมาพิจารณาให้รอบด้าน ว่าหากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จะสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคุรุภา ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบดูแลเรื่องวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครูอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คุรุสภาไม่สามารถไปถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ถูกกล่าวหาได้ทันที เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยต้องดูถึงสภาพปัญหาว่ามาจากสาเหตุใดเพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย นอกจากนี้ ยังขอให้นิติกรเก็บข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่ปีนี้มีผู้สมัครเข้าสอบครูผู้ช่วยมากกว่า 100,000 คน แต่มีอัตราที่ประกาศบรรจุได้เพียง 1,888 อัตรา และที่สำคัญยังพบว่า มีคนที่เป็นครูอยู่แล้วไปสมัครสอบจำนวนมาก มาวิเคราะห์ว่าเกิดจากปัจจัยใดบ้าง รวมถึงดูลึกลงไปในรายละเอียดว่า สาขาที่เปิดรับมีสาขาใดบ้าง และเป็นสาขาที่ขาดแคลนจริงหรือไม่ และเปิดรับครูจำนวนกี่คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการผลิตครูในอนาคต ว่าจะมีการพัฒนาวิชาครูไปในทิศทางไหนได้บ้าง
“ช่วงระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา กระบวนการจัดการสอบครูผู้ช่วยมีการป้องกันการโกงอย่างมาก และส่งผลสะท้อนในทางลบว่า คนในวิชาชีพครูมีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์ ความเป็นธรรม และการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวสูงของครู ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้น จึงคิดว่าอาจจะต้องมีการพูดคุยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู เพื่อให้กระบวนการคัดเลือกที่เหมาะสม เพื่อจะสามารถคัดเลือกคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมมาเป็นครูอย่างแท้จริง โดยอาจจะต้องต้องมองย้อนกลับไปที่ต้นทางของกระบวนการผลิตครู ที่จะต้องมีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากส่วนตัวเห็นว่าการป้องกันการทุจริตนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากเกินไป” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในการประชุมได้หารือกรณีข้อร้องเรียนของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่ขอให้มีการทบทวนระยะเวลาการประกาศรับสมัครครูผู้ช่วย เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า การประกาศรับสมัครครูผู้ช่วยค่อนข้างเร็วทำให้มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่สามารถจัดทำเอกสารให้กับนักศึกษา นำไปประกอบการสมัครได้ทัน ดังนั้น คุรุสภาจะมาหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่า ช่วงเวลาสำหรับการประกาศรับสมัครครูผู้ช่วยแบบไหนถึงจะมีความเหมาะสมมากที่สุด