ศธ.ขอ “คุรุสภา” ตั้งวงถกปัญหาและสร้างความเข้าใจกรณีให้ นิสิต นศ.จบครูต้องสอบรับตั๋วครู รวมถึงรวบรวมปัญหาที่เกี่ยวข้อง หลังที่ประชุมกระทรวงตั้งข้อสังเกตุหลายประเด็น ทั้งการรับรองหลักสูตรเพิ่มเติมในระดับ ป.โท และเอก ที่ห่วงซ้ำซ้อน สกอ.โดยเฉพาะกรณีการสอบรับตั๋วครูเป็นไปได้หรือไม่จะให้ผู้จบสาขาเฉพาะด้านแต่ต้องการเป็นครูมาสอบด้วย
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าคุรุสภาได้มีการปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพ โดยได้ออกเป็นข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 ซึ่งเพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน จากเดิม 9 มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังได้จัดทำประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557 ซึ่งมีผลให้นิสิต นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จะต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ไม่ได้อัตโนมัติเช่นที่ผ่านมา ซึ่งในเรื่องดังกล่าวทางคุรุสภาชี้แจงว่าทางสภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เห็นด้วยกับแนวทางนี้ ขณะเดียวกัน ประกาศดังกล่าวยังเพิ่มเติมในส่วนของการรับรองหลักสูตรระดับปริญญาโท และเอกด้วย จากเดิมที่คุรุสภาจะรับรองเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรีเท่านั้น รวมไปถึงหลักสูตรการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร ที่คุรุสภากำหนดว่าต่อไปหลักสูตรต่างๆ ต้องผ่านการรับรองจากคุรุสภาจึงจะเปิดได้ และต่อไปสถาบันต้องรับนักศึกษาตามกำหนด มีสัดส่วนอาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 30 คน และมีสัดส่วนอาจารย์นิเทศก์ 1 คนต่อนักศึกษา 100 คน และการขออนุมัติเปิดหลักสูตรต้องขอภายใน 60 วัน ทั้งนี้ คุรุสภาชี้แจงว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนั้นเพื่อพัฒนาและยกระดับวิชาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง มีการสอบถามถึงกรณีหลักสูตรผู้บริหารการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีข้อกำหนดต้องได้รับรอง ซึ่งหากหลักสูตรใดที่เปิดดำเนินการไว้อยู่แล้วแต่คุรุสภายังไม่รับรองก็อาจจะไม่สามารถเปิดได้ใช่หรือไม่ ขณะที่หลักสูตรเหล่านี้ค่อนข้างหลากหลาย บางหลักสูตรเน้นเพื่องานวิจัย บางหลักสูตรเพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นต้น ประเด็นสำคัญคือ กรณีการต้องสอบขอรับใบอนุญาตฯ ที่ประชุมสอบถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่การสอบจะเปิดกว้างให้สำหรับกลุ่มที่มีความเก่งเฉพาะด้านแต่ต้องการเป็นครู เช่น จบวิศวกรรมการศาสตร์ ที่สามารถเป็นครูสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาได้ เป็นต้น หรือจะให้สอบเฉพาะนิสิต นักศึกษาที่จบในหลักสูตร/สาขาจากคณะครุฯ/ศึกษาฯ รับรองเท่านั้น ขณะเดียวกัน ในส่วนของการรับรองหลักสูตรที่ประชุมมีความเป็นห่วงจะเป็นการซ้ำซ้อนกับการรับรองของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือไม่
“เนื่องจากมีหลายประเด็น ดังนั้น รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ขอให้คุรุสภาไปแจ้งยัง ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เพื่อให้ไปจัดประชุมรับฟังความเห็นและสร้างความเข้าใจ และขอให้ดิฉันประสานกับองค์กรหลักเพื่อร่วมประชุมด้วยและนำกลับมาเสนอเพื่อจัดทำให้เป็นระบบยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า นายจาตุรนต์ ให้ไปทบทวน เพียงแต่ขณะนี้ประกาศคุรุสภาฯ ดังกล่าวยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีเพียงการลงนามโดยประธานกรรมการคุรุสภาเท่านั้น และตามขั้นตอนก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาต้องรายงานให้ รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ทราบก่อน แต่เมื่อมีประเด็นสงสัย นายจาตุรนต์ จึงใช้อาศัยอำนาจในการกำกับสั่งให้ไปตรวจสอบ คาดว่าหากจะมีการปรับเปลี่ยนใดทางคุรุสภาก็ต้องไปศึกษาข้อกฎหมายต่อไป” นางสุทธศรี กล่าว
ด้าน นายไพฑูรย์ กล่าวว่า กรณีที่ที่ประชุมกระทรวงไม่เห็นด้วยกับประกาศคุรุสภาฯ ดังกล่าว คาดว่าคนที่ไม่เห็นด้วยอาจไม่เข้าใจตัวประกาศฯว่าเป็นอย่างไร ซึ่งคงต้องให้ตัวแทนคุรุสภาที่เข้าใจเรื่องนี้ดีไปชี้แจง ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก แต่ออกประกาศใหม่เพื่อให้ครอบคลุมทั่วถึง โดยเฉพาะเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ที่ในประกาศฯฉบับเดิมเน้นเฉพาะผู้จบระดับปริญญาตรีเท่านั้น แต่ในประกาศปี 2557 กล่าวถึงการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้จบระดับปริญญาโท และเอกด้วย แต่อาจมีเงื่อนไขที่หลายคนสงสัยมากคือ กำหนดให้ผู้เรียนปริญญาโทและเอกสายการศึกษาต้องฝึกงานเป็นเวลา 1 ปี จึงได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งได้กำหนดเฉพาะผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและมีความต้องการได้รับเท่านั้น ส่วนผู้ที่มีแล้วกับผู้ที่ไม่ต้องการได้รับก็ไม่ต้องฝึกงานแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่ที่ประชุมฯ เห็นว่าประกาศดังกล่าวยังไม่ได้ลงนามในราชกิจจานุเบกษา น่าจะสามารถแก้ไขได้นั้น ต้องดูอีกครั้งว่าเรื่องที่ไม่เห็นด้วยคืออะไร สามารถชี้แจงให้เข้าใจได้หรือไม่ แต่ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะให้ปฏิบัติใช้ตามประกาศฯไประยะหนึ่งก่อน แล้วหากพบว่ามีปัญหาค่อยมาแก้ไขในภายหลังก็ได้ เพราะการแก้ไขในเวลานี้น่าจะเป็นเรื่องยากเพราะตนลงนามประกาศใช้ไปแล้ว
อนึ่ง สำหรับข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 เพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน ประกอบด้วย ความเป็นครู ปรัชญาการศึกษา (เพิ่ม) ภาษาและวัฒนธรรม จิทยาสำหรับครู หลักสูตร (เพิ่ม) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา และ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ (เพิ่ม)
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าคุรุสภาได้มีการปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพ โดยได้ออกเป็นข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 ซึ่งเพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน จากเดิม 9 มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังได้จัดทำประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557 ซึ่งมีผลให้นิสิต นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จะต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ไม่ได้อัตโนมัติเช่นที่ผ่านมา ซึ่งในเรื่องดังกล่าวทางคุรุสภาชี้แจงว่าทางสภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เห็นด้วยกับแนวทางนี้ ขณะเดียวกัน ประกาศดังกล่าวยังเพิ่มเติมในส่วนของการรับรองหลักสูตรระดับปริญญาโท และเอกด้วย จากเดิมที่คุรุสภาจะรับรองเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรีเท่านั้น รวมไปถึงหลักสูตรการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร ที่คุรุสภากำหนดว่าต่อไปหลักสูตรต่างๆ ต้องผ่านการรับรองจากคุรุสภาจึงจะเปิดได้ และต่อไปสถาบันต้องรับนักศึกษาตามกำหนด มีสัดส่วนอาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 30 คน และมีสัดส่วนอาจารย์นิเทศก์ 1 คนต่อนักศึกษา 100 คน และการขออนุมัติเปิดหลักสูตรต้องขอภายใน 60 วัน ทั้งนี้ คุรุสภาชี้แจงว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนั้นเพื่อพัฒนาและยกระดับวิชาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง มีการสอบถามถึงกรณีหลักสูตรผู้บริหารการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีข้อกำหนดต้องได้รับรอง ซึ่งหากหลักสูตรใดที่เปิดดำเนินการไว้อยู่แล้วแต่คุรุสภายังไม่รับรองก็อาจจะไม่สามารถเปิดได้ใช่หรือไม่ ขณะที่หลักสูตรเหล่านี้ค่อนข้างหลากหลาย บางหลักสูตรเน้นเพื่องานวิจัย บางหลักสูตรเพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นต้น ประเด็นสำคัญคือ กรณีการต้องสอบขอรับใบอนุญาตฯ ที่ประชุมสอบถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่การสอบจะเปิดกว้างให้สำหรับกลุ่มที่มีความเก่งเฉพาะด้านแต่ต้องการเป็นครู เช่น จบวิศวกรรมการศาสตร์ ที่สามารถเป็นครูสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาได้ เป็นต้น หรือจะให้สอบเฉพาะนิสิต นักศึกษาที่จบในหลักสูตร/สาขาจากคณะครุฯ/ศึกษาฯ รับรองเท่านั้น ขณะเดียวกัน ในส่วนของการรับรองหลักสูตรที่ประชุมมีความเป็นห่วงจะเป็นการซ้ำซ้อนกับการรับรองของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือไม่
“เนื่องจากมีหลายประเด็น ดังนั้น รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ขอให้คุรุสภาไปแจ้งยัง ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เพื่อให้ไปจัดประชุมรับฟังความเห็นและสร้างความเข้าใจ และขอให้ดิฉันประสานกับองค์กรหลักเพื่อร่วมประชุมด้วยและนำกลับมาเสนอเพื่อจัดทำให้เป็นระบบยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า นายจาตุรนต์ ให้ไปทบทวน เพียงแต่ขณะนี้ประกาศคุรุสภาฯ ดังกล่าวยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีเพียงการลงนามโดยประธานกรรมการคุรุสภาเท่านั้น และตามขั้นตอนก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาต้องรายงานให้ รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ทราบก่อน แต่เมื่อมีประเด็นสงสัย นายจาตุรนต์ จึงใช้อาศัยอำนาจในการกำกับสั่งให้ไปตรวจสอบ คาดว่าหากจะมีการปรับเปลี่ยนใดทางคุรุสภาก็ต้องไปศึกษาข้อกฎหมายต่อไป” นางสุทธศรี กล่าว
ด้าน นายไพฑูรย์ กล่าวว่า กรณีที่ที่ประชุมกระทรวงไม่เห็นด้วยกับประกาศคุรุสภาฯ ดังกล่าว คาดว่าคนที่ไม่เห็นด้วยอาจไม่เข้าใจตัวประกาศฯว่าเป็นอย่างไร ซึ่งคงต้องให้ตัวแทนคุรุสภาที่เข้าใจเรื่องนี้ดีไปชี้แจง ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก แต่ออกประกาศใหม่เพื่อให้ครอบคลุมทั่วถึง โดยเฉพาะเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ที่ในประกาศฯฉบับเดิมเน้นเฉพาะผู้จบระดับปริญญาตรีเท่านั้น แต่ในประกาศปี 2557 กล่าวถึงการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้จบระดับปริญญาโท และเอกด้วย แต่อาจมีเงื่อนไขที่หลายคนสงสัยมากคือ กำหนดให้ผู้เรียนปริญญาโทและเอกสายการศึกษาต้องฝึกงานเป็นเวลา 1 ปี จึงได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งได้กำหนดเฉพาะผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและมีความต้องการได้รับเท่านั้น ส่วนผู้ที่มีแล้วกับผู้ที่ไม่ต้องการได้รับก็ไม่ต้องฝึกงานแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่ที่ประชุมฯ เห็นว่าประกาศดังกล่าวยังไม่ได้ลงนามในราชกิจจานุเบกษา น่าจะสามารถแก้ไขได้นั้น ต้องดูอีกครั้งว่าเรื่องที่ไม่เห็นด้วยคืออะไร สามารถชี้แจงให้เข้าใจได้หรือไม่ แต่ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะให้ปฏิบัติใช้ตามประกาศฯไประยะหนึ่งก่อน แล้วหากพบว่ามีปัญหาค่อยมาแก้ไขในภายหลังก็ได้ เพราะการแก้ไขในเวลานี้น่าจะเป็นเรื่องยากเพราะตนลงนามประกาศใช้ไปแล้ว
อนึ่ง สำหรับข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 เพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน ประกอบด้วย ความเป็นครู ปรัชญาการศึกษา (เพิ่ม) ภาษาและวัฒนธรรม จิทยาสำหรับครู หลักสูตร (เพิ่ม) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา และ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ (เพิ่ม)