คณบดีครุ/ศึกษาเห็นด้วยจำกัดรับ นศ.ครูเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพ เสนอรวมกลุ่มสอบคัดเลือกเหมือนที่กลุ่มแพทย์ ดำเนินการ ชง ศธ.หนุนโครงการครูมืออาชีพเดินหน้าต่อ แนะอาจใช้วิธีประกันงานแทนการจัดสรรทุน
รศ.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่ผลิตครูช่าง และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 และปีถัดไป โดยเห็นด้วยในหลักการที่จะจำกัดจำนวนรับเพื่อคุณภาพของบัณฑิตครู แต่เพราะปีการศึกษา 2557 หลายสถาบันได้ดำเนินการรับตรงไปแล้ว ดังนั้น จำนวนนักศึกษาปี 2557 จึงไม่ลดจำนวนลงมากนัก แต่ปีถัดไปทุกสถาบันรับที่จะไปหารือถึงมาตรการลดจำนวนรับลงเพื่อไม่ให้เกินความต้องการ และเป็นการควบคุมคุณภาพบัณฑิตครู
“ มีข้อเสนอว่าต่อไปอาจจะต้องมีการรวมกลุ่มและจัดสอบคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เช่นเดียวกับกลุ่มสถาบันแพทย์ เพื่อทำให้สามารถรับนักศึกษาได้ตามต้องการและได้คนที่มีคุณภาพ และเสนอว่าควรมีการปรับหลักสูตรการผลิตครูให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย ซึ่งกรณีนี้คงต้องหารือกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพราะเป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู และในอนาคตอาจจะต้องให้บัณฑิตที่จบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทั้งภาคทฤษฎีและกระบวนการสอนก่อนที่จะไปเป็นครู” นายพินิติ กล่าว
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังอยากให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สนับสนุนโครงการผลิตครูมืออาชีพต่อ เพราะเป็นโครงการที่สามารถคัดคนที่มีคุณภาพมาเป็นครู โดยจะต้องมีระบบการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตที่เหมาะสม ตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาของแต่ละสถาบัน ซึ่งรูปแบบโครงการอาจไม่จำเป็นต้องให้ทุนการศึกษาแต่ต้องประกันการมีงานทำ และอยากให้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อให้มีครูที่มีศักยภาพเข้าสู่ระบบ หากเป็นไปได้ก็อยากให้เริ่มดำเนินการในปี 2557 โดยคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนดีต่อเนื่องมาสอบแข่งขัน ทั้งนี้ มีข้อเสนอว่าการพิจารณาผู้รับทุนจะดูภูมิลำเนาของผู้สมัครเป็นหลักด้วย เพื่อป้องกันโยกย้ายและลาออก คงจะต้องดูข้อมูลทั้งระบบเพราะเกี่ยวข้องกับอัตราการบรรจุด้วย อย่างไรก็ตามตนจะข้อสรุปที่ได้จากการหารือทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครูที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานอีกครั้ง
รศ.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่ผลิตครูช่าง และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 และปีถัดไป โดยเห็นด้วยในหลักการที่จะจำกัดจำนวนรับเพื่อคุณภาพของบัณฑิตครู แต่เพราะปีการศึกษา 2557 หลายสถาบันได้ดำเนินการรับตรงไปแล้ว ดังนั้น จำนวนนักศึกษาปี 2557 จึงไม่ลดจำนวนลงมากนัก แต่ปีถัดไปทุกสถาบันรับที่จะไปหารือถึงมาตรการลดจำนวนรับลงเพื่อไม่ให้เกินความต้องการ และเป็นการควบคุมคุณภาพบัณฑิตครู
“ มีข้อเสนอว่าต่อไปอาจจะต้องมีการรวมกลุ่มและจัดสอบคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เช่นเดียวกับกลุ่มสถาบันแพทย์ เพื่อทำให้สามารถรับนักศึกษาได้ตามต้องการและได้คนที่มีคุณภาพ และเสนอว่าควรมีการปรับหลักสูตรการผลิตครูให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย ซึ่งกรณีนี้คงต้องหารือกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพราะเป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู และในอนาคตอาจจะต้องให้บัณฑิตที่จบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทั้งภาคทฤษฎีและกระบวนการสอนก่อนที่จะไปเป็นครู” นายพินิติ กล่าว
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังอยากให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สนับสนุนโครงการผลิตครูมืออาชีพต่อ เพราะเป็นโครงการที่สามารถคัดคนที่มีคุณภาพมาเป็นครู โดยจะต้องมีระบบการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตที่เหมาะสม ตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาของแต่ละสถาบัน ซึ่งรูปแบบโครงการอาจไม่จำเป็นต้องให้ทุนการศึกษาแต่ต้องประกันการมีงานทำ และอยากให้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อให้มีครูที่มีศักยภาพเข้าสู่ระบบ หากเป็นไปได้ก็อยากให้เริ่มดำเนินการในปี 2557 โดยคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนดีต่อเนื่องมาสอบแข่งขัน ทั้งนี้ มีข้อเสนอว่าการพิจารณาผู้รับทุนจะดูภูมิลำเนาของผู้สมัครเป็นหลักด้วย เพื่อป้องกันโยกย้ายและลาออก คงจะต้องดูข้อมูลทั้งระบบเพราะเกี่ยวข้องกับอัตราการบรรจุด้วย อย่างไรก็ตามตนจะข้อสรุปที่ได้จากการหารือทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครูที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานอีกครั้ง