ที่ประชุมปฏิรูประบบพัฒนาครู เสนอคุรุสภาทบทวนการออกตั๋วครูให้เด็กที่จบตรงสาย จากที่จบแล้วได้รับมาเป็นการให้สอบเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ขณะที่ ก.ค.ศ.เสนอขยายอายุเกษียณจาก 60 ปีเป็น 65 ปี สำหรับครูในสาขาขาดแคลนและพื้นที่ที่ต้องการครูเป็นพิเศษ
ศ.(พิเศษ) ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการผลิตและพัฒนาครู เปิดเผยว่า จากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง"การปฏิรูประบบการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา" ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการศธ.เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเสนอความคิดเห็นในหลายประเด็นอย่าง ระบบความก้าวหน้าของวิชาชีพข้าราชการครูยังไม่ชัดเจนเพราะไปผสมอยู่กับระบบ ราชการไม่ได้เป็นระบบวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เช่น วิชาชีพแพทย์ที่จะเริ่มจากแพทย์ธรรมดา แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับต่างๆ ดังนั้น คงต้องสร้างระบบความก้าวหน้าของวิชาชีพให้ชัดเจน ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้มีข้อเสนอว่าคุรุสภาควรจะต้องมีการ ทบทวนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากการออกใบอนุญาตฯให้แก่ผู้ที่เรียนจบสาย นี้เปลี่ยนมาเป็นใช้วิธีการสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งจะสร้าง ความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพครูมากขึ้น
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะประธานคณะทำงานการผลิตครู กล่าวว่า ในการประชุมหลายฝ่ายมองว่าการจะสร้าง คุณภาพนักเรียนจะต้องไปเสริมสร้างอะไรได้บ้างอย่างการผลิตครูควรจะต้องไป ผูกกับการบรรจุครูเพราะก่อนการผลิตครูจะไม่รู้ว่าเมื่อผลิตออกมาแล้วจะไป อยู่ที่ไหนบ้าง ส่วนเรื่องของคุณภาพครูมีข้อเสนอว่าควรต้องมีการประเมินคุณภาพครูให้ชัดเจนกว่านี้และการได้วิทยฐานะของครูจะต้องสะท้อนคุณภาพของเด็กที่จบออกมาแล้ว คุณภาพดี ส่วนการที่เด็กไทยมีปัญหาเรื่องคุณภาพไม่ได้เป็นการโทษครูผู้สอนเพราะเด็ก ในปัจจุบันมีหลากหลาย ส่วนการต่อใบอนุญาตวิชาชีพครูอาจจะต้องมีการประเมินต่อใบอนุญาตหรือไม่ใช่ หมดอายุก็ให้มาต่อได้เลย
ทั้งนี้สำหรับการผลิตครูที่ผลิตได้ปีละ 5หมื่นคนแต่เกษียณอายุราชการประมาณ 2 หมื่นคนดังนั้นต่อไปจะต้องเอาคุณภาพมาวางว่าต่อไปต้องการครูที่ไหนอย่างไร และควรจะต้องดูครูขาดเป็นรายโรงเรียนที่ขาดแคลนจะมีการผูกติดกับการให้ทุนใน อนาคตเมื่อเรียนจบมาก็ให้ไปบรรจุในโรงเรียนเหล่านี้ ส่วนแนวคิดการเสนอต่ออายุราชการครูเป็น 65 ปีนั้นแต่ยังไม่ใช่ข้อสรุปซึ่งหากจะต่ออายุราชการน่าจะต้องดูเป็นราย โรงเรียนที่มีความจำเป็นต่อคุณภาพมากกว่า อย่างไรก็ตามคาดว่าจะต้องประชุมหรือกับอีกหลายรอบเพื่อหาข้อสรุปกำหนดเป็น มาตรการระยะสั้นและระยะยาว
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดศธ. กล่าวต่อว่าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค. ศ.)ได้เสนอแนวคิดการต่ออายุราชการครูจาก 60 ปีให้ถึง 65 ปีแต่จะต้องเป็นข้าราชการครูในสาขาที่ขาดแคลน ครูในท้องถิ่นที่มีความต้องการครูเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆในการต่ออายุราชการด้วย เช่น การกำหนดวิทยฐานะขั้นต่ำที่จะต่ออายุราชการได้อาจจะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะ เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยที่จะต่ออายุราชการให้อาจารย์ที่จะต้องมีตำแหน่งทาง วิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ เป็นต้น ทั้งนี้เรื่องการต่ออายุราชการครูอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำรายละเอียดของ สำนักงานก.ค.ศ.ซึ่งการนำแนวคิดนี้มาใช้จะลดปัญหาการขาดแคลนครูได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน
ศ.(พิเศษ) ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการผลิตและพัฒนาครู เปิดเผยว่า จากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง"การปฏิรูประบบการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา" ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการศธ.เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเสนอความคิดเห็นในหลายประเด็นอย่าง ระบบความก้าวหน้าของวิชาชีพข้าราชการครูยังไม่ชัดเจนเพราะไปผสมอยู่กับระบบ ราชการไม่ได้เป็นระบบวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เช่น วิชาชีพแพทย์ที่จะเริ่มจากแพทย์ธรรมดา แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับต่างๆ ดังนั้น คงต้องสร้างระบบความก้าวหน้าของวิชาชีพให้ชัดเจน ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้มีข้อเสนอว่าคุรุสภาควรจะต้องมีการ ทบทวนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากการออกใบอนุญาตฯให้แก่ผู้ที่เรียนจบสาย นี้เปลี่ยนมาเป็นใช้วิธีการสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งจะสร้าง ความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพครูมากขึ้น
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะประธานคณะทำงานการผลิตครู กล่าวว่า ในการประชุมหลายฝ่ายมองว่าการจะสร้าง คุณภาพนักเรียนจะต้องไปเสริมสร้างอะไรได้บ้างอย่างการผลิตครูควรจะต้องไป ผูกกับการบรรจุครูเพราะก่อนการผลิตครูจะไม่รู้ว่าเมื่อผลิตออกมาแล้วจะไป อยู่ที่ไหนบ้าง ส่วนเรื่องของคุณภาพครูมีข้อเสนอว่าควรต้องมีการประเมินคุณภาพครูให้ชัดเจนกว่านี้และการได้วิทยฐานะของครูจะต้องสะท้อนคุณภาพของเด็กที่จบออกมาแล้ว คุณภาพดี ส่วนการที่เด็กไทยมีปัญหาเรื่องคุณภาพไม่ได้เป็นการโทษครูผู้สอนเพราะเด็ก ในปัจจุบันมีหลากหลาย ส่วนการต่อใบอนุญาตวิชาชีพครูอาจจะต้องมีการประเมินต่อใบอนุญาตหรือไม่ใช่ หมดอายุก็ให้มาต่อได้เลย
ทั้งนี้สำหรับการผลิตครูที่ผลิตได้ปีละ 5หมื่นคนแต่เกษียณอายุราชการประมาณ 2 หมื่นคนดังนั้นต่อไปจะต้องเอาคุณภาพมาวางว่าต่อไปต้องการครูที่ไหนอย่างไร และควรจะต้องดูครูขาดเป็นรายโรงเรียนที่ขาดแคลนจะมีการผูกติดกับการให้ทุนใน อนาคตเมื่อเรียนจบมาก็ให้ไปบรรจุในโรงเรียนเหล่านี้ ส่วนแนวคิดการเสนอต่ออายุราชการครูเป็น 65 ปีนั้นแต่ยังไม่ใช่ข้อสรุปซึ่งหากจะต่ออายุราชการน่าจะต้องดูเป็นราย โรงเรียนที่มีความจำเป็นต่อคุณภาพมากกว่า อย่างไรก็ตามคาดว่าจะต้องประชุมหรือกับอีกหลายรอบเพื่อหาข้อสรุปกำหนดเป็น มาตรการระยะสั้นและระยะยาว
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดศธ. กล่าวต่อว่าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค. ศ.)ได้เสนอแนวคิดการต่ออายุราชการครูจาก 60 ปีให้ถึง 65 ปีแต่จะต้องเป็นข้าราชการครูในสาขาที่ขาดแคลน ครูในท้องถิ่นที่มีความต้องการครูเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆในการต่ออายุราชการด้วย เช่น การกำหนดวิทยฐานะขั้นต่ำที่จะต่ออายุราชการได้อาจจะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะ เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยที่จะต่ออายุราชการให้อาจารย์ที่จะต้องมีตำแหน่งทาง วิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ เป็นต้น ทั้งนี้เรื่องการต่ออายุราชการครูอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำรายละเอียดของ สำนักงานก.ค.ศ.ซึ่งการนำแนวคิดนี้มาใช้จะลดปัญหาการขาดแคลนครูได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน