ศธ.เดินหน้าแก้ปัญหาระบบพัฒนาและผลิตครู มอบ “กำจร” ประธานคณะทำงานชุดเล็ก ทำหน้าที่วิเคราะห์เชิงลึกถึงปัญหาอุปสรรคทั้งหมด วิทยฐานะ ค่าตอบแทน หรือกรณีขยายเวลาเกษียณอายุราชการจำเป็นหรือไม่ ก่อนรวมประเด็นเปิดเวทีถกกับฝ่ายผลิตครูและสรุปเพื่อตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดใหญ่ ปลัด ศธ.เผย รมว.ศึกษาฯ มอบบอร์ดบริหาร 1 อำเภอ 1 ทุน ศึกษาแนวทางปรับเกณฑ์สำหรับรุ่นที่ 5 เน้นยืดหยุ่น สอดคล้องความต้องการของประเทศ และความถนัดของผู้เรียน
วันนี้ (28 ต.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า ตนได้รายงานความคืบหน้าการคัดเลือกนักเรียนเข้ารับทุนตามโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 4 ซึ่งได้มีการรับสมัครรอบที่ 2 และมีผู้มีคุณสมบัติ เข้าสอบข้อเขียนเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 19,764 คน ใน 77 สนามสอบทั่วประเทศ มีผู้เข้าสอบจำนวน 15,801 คน ขาดสอบจำนวน 3,963 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าไม่มากหากเทียบกับจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ทาง ศธ.คาดหวังว่าจะมีนักเรียนสอบผ่านการคัดเลือกได้ครบตามจำนวนทุนทั้งหมดที่เหลืออีกจำนวน 1,759 ทุน แต่หากไม่ครบก็ต้องนำเข้าหารือกับคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ว่าจะต้องมีการเปิดรับสมัครอีกรอบหรือไม่ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารฯ แต่ขณะนี้น่าจะเป็นเวลาที่เตรียมรับสมัครผู้รับทุนรุ่น 5 แล้ว ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารฯ ไปดูว่าในการรับสมัครรุ่นต่อไป จะปรับหลักเกณฑ์อย่างไรที่จะสามารถคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และความถนัดของนักเรียน รวมถึงจะการสอบอย่างไรให้มีความยืดหยุ่น ให้มีผู้ผ่านเข้ารับทุนได้มากขึ้นให้สามารถใช้งบประมาณของประเทศอย่างคุ้มค่า เปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และให้ไปวิจัยปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการโครงการเชิงลึก เพื่อนำมากำหนดแนวทางแก้ไขแก้ปัญหาการดำเนินงานในภาพรวม
นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้ตั้งคณะทำงานวิเคราะห์ระบบการพัฒนาและผลิตครู ทั้งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เป็นประธาน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาระบบการพัฒนาและผลิตครูในภาพรวม
ด้าน รศ.นพ.กำจร กล่าวว่า คณะทำงานชุดที่มีตนเป็นประธาน ถือเป็นคณะทำงานชุดเล็ก ซึ่งจะทำหน้าที่วิเคราะห์ถึงปัญหาของระบบการพัฒนาและผลิตครู รวมถึงอุปสรรคต่างๆ ในภาพรวม ทั้งแผนการผลิตครูใหม่ รวมถึงแผนพัฒนาครูปัจจุบัน โดยแนวทางการทำงานต้องศึกษาลงลึกในรายละเอียดและวิเคราะห์เป็นเรื่องๆ อาทิ ปัญหาระบบประเมินวิทยฐานะที่ไม่สะท้อนคุณภาพการสอนที่แท้จริง ทำอย่างไรให้ครูได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสม การโยกย้ายอัตราครู ที่ไม่ตรงกับความต้องการของพื้นที่ การรับครูใหม่ รวมถึงปัญหาขาดแคลนครู เนื่องจากการเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตครู เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องการเกษียณอายุราชการนั้นจะต้องมาศึกษาด้วยว่าจำเป็นต้องมีการขยายเวลาการเกษียณอายุราชการออกไปหรือไม่
“ยอมเราว่าปัจจุบัน ศธ.ตกเป็นจำเลยของสังคมในหลายเรื่อง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งเมื่อคณะทำงานทำการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็จะนำมาสู่การจัดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานผู้ผลิตครู อย่างมหาวิทยาลัยต่างๆ กลุ่มสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เป็นต้น เพื่อหาข้อสรุปก่อนเดินหน้าตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดใหญ่ต่อไป” รศ.นพ.กำจร กล่าว
วันนี้ (28 ต.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า ตนได้รายงานความคืบหน้าการคัดเลือกนักเรียนเข้ารับทุนตามโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 4 ซึ่งได้มีการรับสมัครรอบที่ 2 และมีผู้มีคุณสมบัติ เข้าสอบข้อเขียนเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 19,764 คน ใน 77 สนามสอบทั่วประเทศ มีผู้เข้าสอบจำนวน 15,801 คน ขาดสอบจำนวน 3,963 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าไม่มากหากเทียบกับจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ทาง ศธ.คาดหวังว่าจะมีนักเรียนสอบผ่านการคัดเลือกได้ครบตามจำนวนทุนทั้งหมดที่เหลืออีกจำนวน 1,759 ทุน แต่หากไม่ครบก็ต้องนำเข้าหารือกับคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ว่าจะต้องมีการเปิดรับสมัครอีกรอบหรือไม่ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารฯ แต่ขณะนี้น่าจะเป็นเวลาที่เตรียมรับสมัครผู้รับทุนรุ่น 5 แล้ว ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารฯ ไปดูว่าในการรับสมัครรุ่นต่อไป จะปรับหลักเกณฑ์อย่างไรที่จะสามารถคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และความถนัดของนักเรียน รวมถึงจะการสอบอย่างไรให้มีความยืดหยุ่น ให้มีผู้ผ่านเข้ารับทุนได้มากขึ้นให้สามารถใช้งบประมาณของประเทศอย่างคุ้มค่า เปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และให้ไปวิจัยปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการโครงการเชิงลึก เพื่อนำมากำหนดแนวทางแก้ไขแก้ปัญหาการดำเนินงานในภาพรวม
นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้ตั้งคณะทำงานวิเคราะห์ระบบการพัฒนาและผลิตครู ทั้งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เป็นประธาน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาระบบการพัฒนาและผลิตครูในภาพรวม
ด้าน รศ.นพ.กำจร กล่าวว่า คณะทำงานชุดที่มีตนเป็นประธาน ถือเป็นคณะทำงานชุดเล็ก ซึ่งจะทำหน้าที่วิเคราะห์ถึงปัญหาของระบบการพัฒนาและผลิตครู รวมถึงอุปสรรคต่างๆ ในภาพรวม ทั้งแผนการผลิตครูใหม่ รวมถึงแผนพัฒนาครูปัจจุบัน โดยแนวทางการทำงานต้องศึกษาลงลึกในรายละเอียดและวิเคราะห์เป็นเรื่องๆ อาทิ ปัญหาระบบประเมินวิทยฐานะที่ไม่สะท้อนคุณภาพการสอนที่แท้จริง ทำอย่างไรให้ครูได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสม การโยกย้ายอัตราครู ที่ไม่ตรงกับความต้องการของพื้นที่ การรับครูใหม่ รวมถึงปัญหาขาดแคลนครู เนื่องจากการเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตครู เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องการเกษียณอายุราชการนั้นจะต้องมาศึกษาด้วยว่าจำเป็นต้องมีการขยายเวลาการเกษียณอายุราชการออกไปหรือไม่
“ยอมเราว่าปัจจุบัน ศธ.ตกเป็นจำเลยของสังคมในหลายเรื่อง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งเมื่อคณะทำงานทำการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็จะนำมาสู่การจัดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานผู้ผลิตครู อย่างมหาวิทยาลัยต่างๆ กลุ่มสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เป็นต้น เพื่อหาข้อสรุปก่อนเดินหน้าตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดใหญ่ต่อไป” รศ.นพ.กำจร กล่าว