“จาตุรนต์” ตั้งโจทย์แก้ปัญหาครูเกินอัตราที่รองรับ 2.8 แสน ใน 15 ปีข้างหน้า ชี้หากสถาบันผลิตครูผลิตมาเท่าที่ทำอยู่ หรือมากกว่าจะมีอัตราเกินกว่าอัตราเกษียณ 2.5 เท่าหรือ 4.5 แสนคน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางการผลิตครูให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ” ซึ่งที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็น เพื่อตั้งโจทย์ที่จะแก้ไขปัญหาการผลิต และพัฒนาครู โดยเน้นการผลิตครูเพื่อรองรับอัตราที่จะเกษียณอายุราชการในระยะยาวก่อน โดยข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ชี้ว่า อีกประมาณ 10 ปี (2556-2565) จะมีครูเกษียณอายุราชการ ประมาณ 200,000 คน ถ้า 15 ปี (2556-2570) ประมาณ280,000 คน เฉลี่ยจะมีครูเกษียณอายุราชการ ปีละประมาณ 20,000 คน ขณะที่ตัวเลขการผลิตครูแต่ละปีประมาณ 50,000 คน ดังนั้น หากสถาบันผลิตครูยังผลิตในจำนวนนี้หรือมากกว่านี้ จะทำให้ในช่วง 10 ปี จะมีครูเกิน 300,000 คน 15 ปี เกิน 450,000 คน ซึ่งจะเกินครูเกษียณอายุราชการ 2.5 เท่าของอัตราเกษียณอายุราชการ
ดังนั้น ที่ประชุมได้ตั้งโจทย์ว่าจะต้องผลิตครูให้ตรงต่อความต้องการในการการจัดการศึกษาได้อย่างไร ซึ่งต้องไปดูว่าโรงเรียนต้องการครูที่มีคุณลักษณะความสามารถอย่างไร โดยต้องคำนึงหลักสูตรการเรียนการสอนที่จะใช้ในอนาคตด้วย ต้องดูว่าจะมีระบบที่จะมาดูแลแผนการผลิตครูอย่างไรหรือไม่ โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วนจะควบคุมปริมาณในการผลิตครูที่เกินนั้นได้อย่างไร การดูแลคนที่จบครูในส่วนที่เกินอยู่ขณะนี้ รวมถึงคนเป็นครูอัตราจ้างในระบบมี 60,000 คน ได้อย่างไร ต้องมีองค์กรที่จะมาดูแลและพัฒนาวิชาชีพครูหรือไม่ ทั้งนี้ จะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมเพื่อหาข้อสรุปต่างๆ ให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยจะประชุมในวันที่ 4 ธ.ค.นี้
“จากนี้สถาบันผลิตครูจะต้องไม่เสนอแต่จำนวนอัตราครูที่จะเกษียณอายุราชการเท่านั้น แต่จะต้องให้ข้อมูลการผลิตในปัจจุบันให้ชัดเจนด้วย โดยเฉพาะอัตราที่เกินอยู่ เพราะไม่เช่นนั้นเด็กจะแห่มาสมัครเรียนจำนวนมาก อีกทั้งจะมารับกันตามอัธยาศัยต่อไปไม่ได้แล้ว จะทำให้ปัญหาอัตราครูเกินสะสมไปเรื่อย ขณะเดียวกัน ต้องกลับไปช่วยกันดูว่าปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องทำ และจะให้รัฐบาลสนับสนุนเรื่องอะไรบ้าง” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางการผลิตครูให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ” ซึ่งที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็น เพื่อตั้งโจทย์ที่จะแก้ไขปัญหาการผลิต และพัฒนาครู โดยเน้นการผลิตครูเพื่อรองรับอัตราที่จะเกษียณอายุราชการในระยะยาวก่อน โดยข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ชี้ว่า อีกประมาณ 10 ปี (2556-2565) จะมีครูเกษียณอายุราชการ ประมาณ 200,000 คน ถ้า 15 ปี (2556-2570) ประมาณ280,000 คน เฉลี่ยจะมีครูเกษียณอายุราชการ ปีละประมาณ 20,000 คน ขณะที่ตัวเลขการผลิตครูแต่ละปีประมาณ 50,000 คน ดังนั้น หากสถาบันผลิตครูยังผลิตในจำนวนนี้หรือมากกว่านี้ จะทำให้ในช่วง 10 ปี จะมีครูเกิน 300,000 คน 15 ปี เกิน 450,000 คน ซึ่งจะเกินครูเกษียณอายุราชการ 2.5 เท่าของอัตราเกษียณอายุราชการ
ดังนั้น ที่ประชุมได้ตั้งโจทย์ว่าจะต้องผลิตครูให้ตรงต่อความต้องการในการการจัดการศึกษาได้อย่างไร ซึ่งต้องไปดูว่าโรงเรียนต้องการครูที่มีคุณลักษณะความสามารถอย่างไร โดยต้องคำนึงหลักสูตรการเรียนการสอนที่จะใช้ในอนาคตด้วย ต้องดูว่าจะมีระบบที่จะมาดูแลแผนการผลิตครูอย่างไรหรือไม่ โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วนจะควบคุมปริมาณในการผลิตครูที่เกินนั้นได้อย่างไร การดูแลคนที่จบครูในส่วนที่เกินอยู่ขณะนี้ รวมถึงคนเป็นครูอัตราจ้างในระบบมี 60,000 คน ได้อย่างไร ต้องมีองค์กรที่จะมาดูแลและพัฒนาวิชาชีพครูหรือไม่ ทั้งนี้ จะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมเพื่อหาข้อสรุปต่างๆ ให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยจะประชุมในวันที่ 4 ธ.ค.นี้
“จากนี้สถาบันผลิตครูจะต้องไม่เสนอแต่จำนวนอัตราครูที่จะเกษียณอายุราชการเท่านั้น แต่จะต้องให้ข้อมูลการผลิตในปัจจุบันให้ชัดเจนด้วย โดยเฉพาะอัตราที่เกินอยู่ เพราะไม่เช่นนั้นเด็กจะแห่มาสมัครเรียนจำนวนมาก อีกทั้งจะมารับกันตามอัธยาศัยต่อไปไม่ได้แล้ว จะทำให้ปัญหาอัตราครูเกินสะสมไปเรื่อย ขณะเดียวกัน ต้องกลับไปช่วยกันดูว่าปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องทำ และจะให้รัฐบาลสนับสนุนเรื่องอะไรบ้าง” นายจาตุรนต์ กล่าว