กรมสุขภาพจิตเตือน “อากาศร้อน” ตัวกระตุ้นความเครียด ฉุนเฉียว เสี่ยงลงไม้ลงมือต่อกัน เตือนสังเกตอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิด คิดแปลก บ่งบอกอาการทางจิตกำเริบ แนะดื่มน้ำมากๆ เลี่ยงอาหารรสเผ็ด ทำสมาธิ ฝึกคิดบวก ไม่ดื่มเหล้าช่วยได้ จี้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่าให้ขาดยา
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า อากาศร้อน นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายคือ เสี่ยงต่อโรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก (Heat stroke) แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจด้วย ที่เห็นได้ชัด คือ ทำให้หงุดหงิดง่ายขึ้น ทนต่อความเครียดน้อยลง เครียดง่ายกว่าปกติ และอาจตัดสินใจโดยไม่ยั้งคิด ทำให้เกิดการกระทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้ง และใช้ความรุนแรง ผู้ที่มีประวัติการใช้ความรุนแรง จึงต้องให้ความระวังเป็นพิเศษ
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า อากาศร้อนไม่ได้มีผลต่อจำนวนการเจ็บป่วยทางจิต แต่เป็นตัวกระตุ้นหรือเพิ่มความเครียดให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงหน้าร้อนนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยขอรับบริการเนื่องจากอากาศร้อนโดยตรง ส่วนเป็นปัญหาความเครียด แต่ที่พบคือ ช่วงอากาศร้อนคือ ก.พ.-เม.ย. มีผู้ขอรับบริการปรึกษาปัญหาความเครียดและวิตกกังวล ผ่านสายด่วน 1323 เพิ่มขึ้น โดยปี 2557 พบ 3,859 ราย เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวจากปี 2556 ซึ่งมี 1,690 ราย ส่วนมากความเครียดมาจากปัญหาครอบครัว การทำงาน และความรัก ทั้งนี้ หากไม่มีวิธีจัดการกับความเครียดที่ดี เมื่อเจออากาศร้อนย่อมเพิ่มความเครียดให้สูงขึ้นได้
นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ป่วยจิตเวช การได้รับยาเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้อาการไม่กำเริบ คนในครอบครัวจึงต้องดูแลอย่าให้ขาดยา และให้ผู้ป่วยจิตเวชทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยว และต้องไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์โดยตรงกับสมอง และต้านฤทธิ์ยา ทำให้อาการกำเริบได้ ที่สำคัญคนในครอบครัว ญาติหรือผู้ดูแลต้องรู้จักจัดการความเครียดของตนให้ดีควบคู่ไปด้วย มิเช่นนั้น ความเครียดทั้งจากการดูแลผู้ป่วย การทำงาน ปัญหาชีวิต ฯลฯ อาจไปลงที่ผู้ป่วย ทำให้อาการกำเริบได้
“สัญญาณเตือนอาการทางจิตกำเริบ คือ นอนไม่หลับ หงุดหงิด มีความคิดแปลกๆ มีพฤติกรรมก้าวร้าว หวาดกลัว ฉุนเฉียวง่าย วิธีการรับมือสุขภาพจิตจากอากาศร้อนคือ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำนานๆ เลี่ยงอาหารรสเผ็ด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เลี่ยงการอยู่กลางแดดหรือที่ร้อนสูง โดยเฉพาะเวลา 11.00-15.00 น. ให้สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ใช้ครีมกันแดดลดการเผาไหม้ผิวหนัง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รู้เท่าทันความเครียดของตนเอง เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่ค่อยอิ่ม ว้าวุ้น สมาธิไม่ค่อยดี หงุดหงิด สับสน แสดงว่าเครียด ต้องหาทางจัดการให้ได้ เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ฝึกคิดบวก และเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า อากาศร้อน นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายคือ เสี่ยงต่อโรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก (Heat stroke) แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจด้วย ที่เห็นได้ชัด คือ ทำให้หงุดหงิดง่ายขึ้น ทนต่อความเครียดน้อยลง เครียดง่ายกว่าปกติ และอาจตัดสินใจโดยไม่ยั้งคิด ทำให้เกิดการกระทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้ง และใช้ความรุนแรง ผู้ที่มีประวัติการใช้ความรุนแรง จึงต้องให้ความระวังเป็นพิเศษ
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า อากาศร้อนไม่ได้มีผลต่อจำนวนการเจ็บป่วยทางจิต แต่เป็นตัวกระตุ้นหรือเพิ่มความเครียดให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงหน้าร้อนนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยขอรับบริการเนื่องจากอากาศร้อนโดยตรง ส่วนเป็นปัญหาความเครียด แต่ที่พบคือ ช่วงอากาศร้อนคือ ก.พ.-เม.ย. มีผู้ขอรับบริการปรึกษาปัญหาความเครียดและวิตกกังวล ผ่านสายด่วน 1323 เพิ่มขึ้น โดยปี 2557 พบ 3,859 ราย เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวจากปี 2556 ซึ่งมี 1,690 ราย ส่วนมากความเครียดมาจากปัญหาครอบครัว การทำงาน และความรัก ทั้งนี้ หากไม่มีวิธีจัดการกับความเครียดที่ดี เมื่อเจออากาศร้อนย่อมเพิ่มความเครียดให้สูงขึ้นได้
นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ป่วยจิตเวช การได้รับยาเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้อาการไม่กำเริบ คนในครอบครัวจึงต้องดูแลอย่าให้ขาดยา และให้ผู้ป่วยจิตเวชทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยว และต้องไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์โดยตรงกับสมอง และต้านฤทธิ์ยา ทำให้อาการกำเริบได้ ที่สำคัญคนในครอบครัว ญาติหรือผู้ดูแลต้องรู้จักจัดการความเครียดของตนให้ดีควบคู่ไปด้วย มิเช่นนั้น ความเครียดทั้งจากการดูแลผู้ป่วย การทำงาน ปัญหาชีวิต ฯลฯ อาจไปลงที่ผู้ป่วย ทำให้อาการกำเริบได้
“สัญญาณเตือนอาการทางจิตกำเริบ คือ นอนไม่หลับ หงุดหงิด มีความคิดแปลกๆ มีพฤติกรรมก้าวร้าว หวาดกลัว ฉุนเฉียวง่าย วิธีการรับมือสุขภาพจิตจากอากาศร้อนคือ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำนานๆ เลี่ยงอาหารรสเผ็ด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เลี่ยงการอยู่กลางแดดหรือที่ร้อนสูง โดยเฉพาะเวลา 11.00-15.00 น. ให้สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ใช้ครีมกันแดดลดการเผาไหม้ผิวหนัง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รู้เท่าทันความเครียดของตนเอง เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่ค่อยอิ่ม ว้าวุ้น สมาธิไม่ค่อยดี หงุดหงิด สับสน แสดงว่าเครียด ต้องหาทางจัดการให้ได้ เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ฝึกคิดบวก และเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว