สธ. ห่วงสงกรานต์เชื้อโรคระบาด “ไข้เลือดออก-ไข้หวัดใหญ่” เหตุคนเดินทางมาก เสี่ยงแพร่กระจายเชื้อไปทั่ว เผยแนวโน้มป่วยหลัง เม.ย. เพิ่มขึ้นแน่ แนะทำความสะอาดบ้าน กำจัดลูกน้ำยุงลาย รักษาสุขภาพ จี้หยุดงาน หยุดเล่นสงกรานต์หากป่วยไข้หวัด
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและไปท่องเที่ยวจำนวนมาก มีโอกาสอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ จึงเอื้อให้เกิดการแพร่ระบาดของบางโรคในช่วงนี้ง่าย ที่น่าห่วงคือ โรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่คนรับเชื้อแล้วยังไม่แสดงอาการทันที หากถูกยุงลายที่บ้านกัดทำให้เชื้อกระจายไปยังคนอื่นได้ หรือไปในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกอยู่ก็มีโอกาสรับเชื้อผ่านยุงลายได้เช่นกัน ส่วนไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย ผ่านการไอ จาม และปนเปื้อนอยู่ที่ของใช้ส่วนตัว หรือของใช้สาธารณะ เช่น ลูกบิด ปุ่มกดลิฟต์ ราวบันได เป็นต้น เข้าสู่ร่างกายผ่านทางมือเมื่อแคะจมูก ขยี้ตา หรือเอานิ้วเข้าปาก ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ เฝ้าระวังโรคและย้ำเตือนประชาชนในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ 1 ม.ค. -7 เม.ย. พบผู้ป่วย 4,466 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยคาดการณ์ว่า เม.ย. เป็นต้นไป ผู้ป่วยจะเริ่มสูงขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน พ.ค. เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนปริมาณยุงลายพาหะนำโรคมีมาก ต้องเร่งรัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ทำความสะอาดบ้านเรือน กำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ทั้งในบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล วัด และแหล่งชุมชน เพื่อลดปริมาณยุงลาย และป้องกันยุงกัดโดยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง สำหรับไข้หวัดใหญ่อยู่ในเกณฑ์น่าห่วงและมีแนวโน้มการระบาด ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 8 เม.ย. พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 28,607 ราย พบป่วยมากที่สุดคือเด็กแรกเกิด - 4 ปี อัตราป่วยสูงสุดคือภาคเหนือ เสียชีวิต 35 ราย พบเชื้อไวรัสชนิดเอ H1N1 มากที่สุด
“ประชาชนหากป่วยเป็นไข้ ไอเกิน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์ก่อนอาการจะรุนแรง ผู้ที่กำลังป่วยขอให้พักผ่อนให้เต็มที่ ควรหยุดพักงาน หยุดเดินทาง หรือให้งดการเล่นน้ำสงกรานต์ และหมั่นล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อแพร่สู่คนอื่น ส่วนการป้องกันทำได้ง่ายๆโดยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางกินอาหารร่วมวงกับคนอื่น ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปในที่คนแออัด เพื่อป้องกันไม่อาการโรครุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่มีโอกาสพบโรคแทรกซ้อนรุนแรงคือ โรคปอดอักเสบ หรือโรคปอดบวม อาจทำเสียชีวิตได้” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและไปท่องเที่ยวจำนวนมาก มีโอกาสอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ จึงเอื้อให้เกิดการแพร่ระบาดของบางโรคในช่วงนี้ง่าย ที่น่าห่วงคือ โรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่คนรับเชื้อแล้วยังไม่แสดงอาการทันที หากถูกยุงลายที่บ้านกัดทำให้เชื้อกระจายไปยังคนอื่นได้ หรือไปในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกอยู่ก็มีโอกาสรับเชื้อผ่านยุงลายได้เช่นกัน ส่วนไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย ผ่านการไอ จาม และปนเปื้อนอยู่ที่ของใช้ส่วนตัว หรือของใช้สาธารณะ เช่น ลูกบิด ปุ่มกดลิฟต์ ราวบันได เป็นต้น เข้าสู่ร่างกายผ่านทางมือเมื่อแคะจมูก ขยี้ตา หรือเอานิ้วเข้าปาก ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ เฝ้าระวังโรคและย้ำเตือนประชาชนในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ 1 ม.ค. -7 เม.ย. พบผู้ป่วย 4,466 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยคาดการณ์ว่า เม.ย. เป็นต้นไป ผู้ป่วยจะเริ่มสูงขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน พ.ค. เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนปริมาณยุงลายพาหะนำโรคมีมาก ต้องเร่งรัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ทำความสะอาดบ้านเรือน กำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ทั้งในบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล วัด และแหล่งชุมชน เพื่อลดปริมาณยุงลาย และป้องกันยุงกัดโดยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง สำหรับไข้หวัดใหญ่อยู่ในเกณฑ์น่าห่วงและมีแนวโน้มการระบาด ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 8 เม.ย. พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 28,607 ราย พบป่วยมากที่สุดคือเด็กแรกเกิด - 4 ปี อัตราป่วยสูงสุดคือภาคเหนือ เสียชีวิต 35 ราย พบเชื้อไวรัสชนิดเอ H1N1 มากที่สุด
“ประชาชนหากป่วยเป็นไข้ ไอเกิน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์ก่อนอาการจะรุนแรง ผู้ที่กำลังป่วยขอให้พักผ่อนให้เต็มที่ ควรหยุดพักงาน หยุดเดินทาง หรือให้งดการเล่นน้ำสงกรานต์ และหมั่นล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อแพร่สู่คนอื่น ส่วนการป้องกันทำได้ง่ายๆโดยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางกินอาหารร่วมวงกับคนอื่น ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปในที่คนแออัด เพื่อป้องกันไม่อาการโรครุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่มีโอกาสพบโรคแทรกซ้อนรุนแรงคือ โรคปอดอักเสบ หรือโรคปอดบวม อาจทำเสียชีวิตได้” ปลัด สธ. กล่าว