ไอกรนยังคร่าชีวิตเด็กไทย สธ.เผยแม้ได้รับวัคซีนแล้ว แต่เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ยังเสี่ยงป่วยและเกิดโรคแทรกซ้อนได้มาก จี้ผู้ปกครองสังเกตอาการลูกไอเป็นชุด หายใจไม่ทัน ให้รีบพามารักษา มียาปฏิชีวนะช่วยได้ แนะพามาฉีดวัคซีนตามกำหนด โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานเคลื่อนย้าย เด็กเสี่ยงฉีดวัคซีนไม่ครบ
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้เด็กไทยทุกคนจะได้รับวัคซีนพื้นฐานคือวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) โดยฉีด 5 ครั้ง เริ่มครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 2 เดือน ฉีดซ้ำเมื่ออายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบชุดมีโอกาสป่วยจากโรคไอกรนน้อยมาก หรือหากป่วยอาการจะไม่รุนแรงก็ตาม แต่ปัญหาคือ เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เมื่อป่วยเป็นโรคไอกรน มักจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากระดับภูมิต้านทานโรคในร่างกายยังมีน้อย จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตคือ โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม
“เมื่อปี 2556 พบผู้ป่วย 24 ราย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มากสุดคืออายุ 1-3 เดือน พบร้อยละ 33 มีเด็กอายุ 2 เดือนเสียชีวิต 2 ราย โดยรายแรกอยู่ที่ จ.ชลบุรี เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือปอดอักเสบ แม้จะได้รับการฉีดวัคซีนรวม 1 ครั้ง แล้วก็ตาม ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ รายที่ 2 ที่ จ.บึงกาฬ โรคแทรกซ้อนคือสมองอักเสบ รายนี้ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เนื่องจากป่วยก่อนถึงวันนัดฉีดวัคซีน ซึ่งเด็กทั้ง 2 รายนี้เป็นเด็กเล็กเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า การป้องกันการเสียชีวิตในภาวะนี้ทำได้โดยผู้ปกครองต้องพาไปโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มป่วย เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ทันท่วงที ซึ่งมียาปฏิชีวนะรักษาได้ จะลดโรคแทรกซ้อน รักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ และขอให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนตามนัดที่ปรากฏในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้ครบตามช่วงวัย ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่แออัด หรือในพื้นที่ที่มีโรคระบาด ที่สำคัญคือ กลุ่มประชาชนที่ย้ายที่อยู่บ่อย เช่น รับจ้างก่อสร้าง แรงงานภาคเกษตร อุตสาหกรรม แรงงานต่างด้าวที่นำบุตรเข้ามาในไทย ลูกมีความเสี่ยงได้รับวัคซีนไม่ครบ จึงควรพาลูกหลานไปรับวัคซีนต่อเนื่องในสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ ทั้งนี้ บุตรแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน 7 ปี สามารถซื้อบัตรประกันสุขภาพของ สธ.ได้ในอัตราคนละ 365 บาท มีอายุคุ้มครอง 1 ปี จะได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนเหมือนเด็กไทย
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ อาการที่เป็นลักษณะพิเศษของโรคนี้คือ ไอเป็นชุดๆ คือไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนเด็กหายใจไม่ทัน และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วูป (Whooping cough) สลับไปกับการไอเป็นชุดๆ โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะป่วยเกือบทุกราย มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ดังนั้น หากพบลูกหลานมีอาการป่วยที่กล่าวมา ขอให้สงสัยว่าเป็นโรคไอกรน ต้องรีบพบแพทย์โดยเร็ว โรคนี้มียารักษาหาย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคไอกรนลดลงมาก จากการเพิ่มระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนประมาณร้อยละ 98 โดยในไทยยังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปีมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน พบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม การดูแลรักษาคือ ให้เด็กพักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลารักษาประมาณ 6-10 สัปดาห์ โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ ปอดอักเสบ เลือดออกในเยื่อบุตา อาจมีอาการชัก โดย คร.ได้จัดระบบเฝ้าระวังทั่วประเทศ รายงานทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิดและรวดเร็ว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้เด็กไทยทุกคนจะได้รับวัคซีนพื้นฐานคือวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) โดยฉีด 5 ครั้ง เริ่มครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 2 เดือน ฉีดซ้ำเมื่ออายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบชุดมีโอกาสป่วยจากโรคไอกรนน้อยมาก หรือหากป่วยอาการจะไม่รุนแรงก็ตาม แต่ปัญหาคือ เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เมื่อป่วยเป็นโรคไอกรน มักจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากระดับภูมิต้านทานโรคในร่างกายยังมีน้อย จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตคือ โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม
“เมื่อปี 2556 พบผู้ป่วย 24 ราย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มากสุดคืออายุ 1-3 เดือน พบร้อยละ 33 มีเด็กอายุ 2 เดือนเสียชีวิต 2 ราย โดยรายแรกอยู่ที่ จ.ชลบุรี เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือปอดอักเสบ แม้จะได้รับการฉีดวัคซีนรวม 1 ครั้ง แล้วก็ตาม ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ รายที่ 2 ที่ จ.บึงกาฬ โรคแทรกซ้อนคือสมองอักเสบ รายนี้ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เนื่องจากป่วยก่อนถึงวันนัดฉีดวัคซีน ซึ่งเด็กทั้ง 2 รายนี้เป็นเด็กเล็กเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า การป้องกันการเสียชีวิตในภาวะนี้ทำได้โดยผู้ปกครองต้องพาไปโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มป่วย เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ทันท่วงที ซึ่งมียาปฏิชีวนะรักษาได้ จะลดโรคแทรกซ้อน รักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ และขอให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนตามนัดที่ปรากฏในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้ครบตามช่วงวัย ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่แออัด หรือในพื้นที่ที่มีโรคระบาด ที่สำคัญคือ กลุ่มประชาชนที่ย้ายที่อยู่บ่อย เช่น รับจ้างก่อสร้าง แรงงานภาคเกษตร อุตสาหกรรม แรงงานต่างด้าวที่นำบุตรเข้ามาในไทย ลูกมีความเสี่ยงได้รับวัคซีนไม่ครบ จึงควรพาลูกหลานไปรับวัคซีนต่อเนื่องในสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ ทั้งนี้ บุตรแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน 7 ปี สามารถซื้อบัตรประกันสุขภาพของ สธ.ได้ในอัตราคนละ 365 บาท มีอายุคุ้มครอง 1 ปี จะได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนเหมือนเด็กไทย
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ อาการที่เป็นลักษณะพิเศษของโรคนี้คือ ไอเป็นชุดๆ คือไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนเด็กหายใจไม่ทัน และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วูป (Whooping cough) สลับไปกับการไอเป็นชุดๆ โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะป่วยเกือบทุกราย มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ดังนั้น หากพบลูกหลานมีอาการป่วยที่กล่าวมา ขอให้สงสัยว่าเป็นโรคไอกรน ต้องรีบพบแพทย์โดยเร็ว โรคนี้มียารักษาหาย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคไอกรนลดลงมาก จากการเพิ่มระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนประมาณร้อยละ 98 โดยในไทยยังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปีมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน พบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม การดูแลรักษาคือ ให้เด็กพักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลารักษาประมาณ 6-10 สัปดาห์ โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ ปอดอักเสบ เลือดออกในเยื่อบุตา อาจมีอาการชัก โดย คร.ได้จัดระบบเฝ้าระวังทั่วประเทศ รายงานทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิดและรวดเร็ว