หวัดนกคืบใกล้ไทย กัมพูชาพบป่วยรายที่ 3 สธ.ตื่นสั่ง สสจ.เข้มชายแดน พร้อมเตือนอากาศเปลี่ยนเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่ จ่อฉีดวัคซีน 3.4 ล้านโดส พ.ค. 2557
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณี สธ.กัมพูชายืนยันพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 เป็นรายที่ 3 ของปี 2557 ว่า สธ.ได้ประชุมติดตามประเมินสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในไทย ซึ่งไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อติดต่อกันนาน 7 ปีแล้ว แต่ยังไว้วางใจไม่ได้ เพราะมีรายงานพบผู้ป่วยไข้หวัดนกในประเทศใกล้เคียงต่อเนื่อง จึงมอบให้กรมควบคุมโรค (คร.) ประชุมความร่วมมือการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นใน 3 กลุ่ม คน สัตว์ปีกเลี้ยง และสัตว์ปีกป่า ร่วมกับกรมปศุสัตว์ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นอกจากนี้ ได้สั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยเฉพาะแนวชายแดนไทย-กัมพูชาเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้โรงพยาบาลรัฐและเอกชนเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาด และจะประชุมติดตามสถานการณ์ทุกสัปดาห์
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ประชาชนอาจป่วยเป็นไข้หวัดได้มากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหากป่วยแล้วอาจมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ขอให้พบแพทย์ภายใน 48 ชั่วโมง อย่าซื้อยากินเอง โดยกำชับให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ หากพบผู้ป่วยและเป็นกลุ่มเสี่ยง ขอให้ดูแลรักษาตามแนวทางการรักษา โดยให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้ สธ.ได้จัดเตรียมยาไว้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง และองค์การเภสัชกรรมได้สำรองวัตถุดิบพร้อมผลิตยาดังกล่าวไว้อย่างเพียงพอ
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ในแต่ละปีไทยพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ประมาณ 50,000 ราย ในปีนี้ สธ.ได้วางแผนฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงป่วยและจะมีอาการรุนแรง เสี่ยงอันตรายชีวิตสูง เช่นผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งฉีดให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มีประมาณ 250,000 คน และเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ทำลายสัตว์ปีกด้วย รวมทั้งหมด 3.4 ล้านโดส จะฉีดให้เร็วขึ้น ก่อนเข้าสู่ฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่คือฤดูฝน เพื่อประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงโรค โดยจัดซื้อร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คาดว่าจะได้รับวัคซีนประมาณ เม.ย. 2557 และจะเริ่มฉีดตั้งแต่พ.ค.2557 เป็นต้นไป จากการประเมินผลหลังที่ประเทศไทยมีนโยบายฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันการเสียชีวิตกลุ่มเสี่ยง ที่เริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา พบว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เด็กอายุ ต่ำกว่า 2 ขวบที่ฉีดวัคซีน มีอัตราเสียชีวิตต่ำกว่าเด็กที่ไม้ได้ฉีดถึงร้อยละ 60
นพ.โอภาส กล่าวว่า การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ขอให้ประชาชนหมั่นออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทุกวัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที สร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย กินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดมากับมือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด ขอให้พักผ่อนให้มากๆ อาการจะค่อยๆดีขึ้นเอง และคาดหน้ากากอนามัย รวมถึงพักทำงาน พักโรงเรียนเพื่อป้องกันเชื้อแพร่ไปติดคนอื่น หากไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วันขอให้พบแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการแทรกซ้อนได้
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณี สธ.กัมพูชายืนยันพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 เป็นรายที่ 3 ของปี 2557 ว่า สธ.ได้ประชุมติดตามประเมินสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในไทย ซึ่งไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อติดต่อกันนาน 7 ปีแล้ว แต่ยังไว้วางใจไม่ได้ เพราะมีรายงานพบผู้ป่วยไข้หวัดนกในประเทศใกล้เคียงต่อเนื่อง จึงมอบให้กรมควบคุมโรค (คร.) ประชุมความร่วมมือการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นใน 3 กลุ่ม คน สัตว์ปีกเลี้ยง และสัตว์ปีกป่า ร่วมกับกรมปศุสัตว์ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นอกจากนี้ ได้สั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยเฉพาะแนวชายแดนไทย-กัมพูชาเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้โรงพยาบาลรัฐและเอกชนเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาด และจะประชุมติดตามสถานการณ์ทุกสัปดาห์
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ประชาชนอาจป่วยเป็นไข้หวัดได้มากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหากป่วยแล้วอาจมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ขอให้พบแพทย์ภายใน 48 ชั่วโมง อย่าซื้อยากินเอง โดยกำชับให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ หากพบผู้ป่วยและเป็นกลุ่มเสี่ยง ขอให้ดูแลรักษาตามแนวทางการรักษา โดยให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้ สธ.ได้จัดเตรียมยาไว้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง และองค์การเภสัชกรรมได้สำรองวัตถุดิบพร้อมผลิตยาดังกล่าวไว้อย่างเพียงพอ
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ในแต่ละปีไทยพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ประมาณ 50,000 ราย ในปีนี้ สธ.ได้วางแผนฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงป่วยและจะมีอาการรุนแรง เสี่ยงอันตรายชีวิตสูง เช่นผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งฉีดให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มีประมาณ 250,000 คน และเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ทำลายสัตว์ปีกด้วย รวมทั้งหมด 3.4 ล้านโดส จะฉีดให้เร็วขึ้น ก่อนเข้าสู่ฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่คือฤดูฝน เพื่อประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงโรค โดยจัดซื้อร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คาดว่าจะได้รับวัคซีนประมาณ เม.ย. 2557 และจะเริ่มฉีดตั้งแต่พ.ค.2557 เป็นต้นไป จากการประเมินผลหลังที่ประเทศไทยมีนโยบายฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันการเสียชีวิตกลุ่มเสี่ยง ที่เริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา พบว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เด็กอายุ ต่ำกว่า 2 ขวบที่ฉีดวัคซีน มีอัตราเสียชีวิตต่ำกว่าเด็กที่ไม้ได้ฉีดถึงร้อยละ 60
นพ.โอภาส กล่าวว่า การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ขอให้ประชาชนหมั่นออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทุกวัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที สร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย กินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดมากับมือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด ขอให้พักผ่อนให้มากๆ อาการจะค่อยๆดีขึ้นเอง และคาดหน้ากากอนามัย รวมถึงพักทำงาน พักโรงเรียนเพื่อป้องกันเชื้อแพร่ไปติดคนอื่น หากไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วันขอให้พบแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการแทรกซ้อนได้